17 มิถุนายน 2564

ชีวประวัติและผลงานของหมอลำราตรี ศรีวิไล

 ชีวประวัติและผลงานของหมอลำราตรี ศรีวิไล

        จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาชีวประวัติของหมอลำราตรี ศรีวิไลได้แก่ วุฒิศักดิ์ กะตะศิลา (2541) ศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทของหมอลำราตรี ศรีวิไล จักฤกษ รักษาจันทร์ (2554) ศึกษาวิธีการร้องหมอลำ  แม่ครูราตรี ศรีวิไล และสุภารณี  สาระสา (2555) ได้ศึกษาวิธีการร้อง หมอลำกลอน ของราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร และยังมีงานเอกสารประกอบการพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2557 นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (2557) ที่ได้นำเสนอประวัติและผลงานของหมอลำราตรี ศรีวิไลเอาไว้ ซึ่งข้อมูลเนื้อหาจากเอกงานวิจัยของผู้วิจัยทั้ง 3 ท่านกับเอกสารประกอบการพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ของนางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร มีความข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติและผลงานที่สอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงสรุปรวบรัดเนื้อหาสาระให้กระซับเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ  ชีวประวัติของหมอลำราตรี ศรีวิไล ผลงานที่สร้างสรรค์ การถ่ายทอดองค์ความรู้หมอลำ รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ และการทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมด้านวิชาการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.2.5.1 ชีวประวัติของหมอลำราตรี ศรีวิไล

                                       ประวัติส่วนตัว

                                       นางราตรี ศรีวิไล เป็นชื่อที่ใช้ในวงการหรือฉายา ส่วนชื่อเดิม คือราตรีสวัสดิ์ อุ่นทะยา แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร  เกิดวันที่ 2 มกราคม 2495  อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันอายุ 62 ปี (ปี 2557) บิดาชื่อ นายเสริม มารดาชื่อ นางหมุน สกุล นาหัวทราย อาชีพ ศิลปินหมอลำกลอน และนักประพันธ์กลอนลำ มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 7 คน

                                       หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้สมรสกับ นายวิชิต บงสิทธิพร มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ 1 นายธนกร บงสิทธิพร 2 นางสาวโยธิกา บงสิทธิพร ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 41/60 ซอยหมู่บ้านเสรี ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์  40000

                                       ประวัติการศึกษา

                                       หมอลำราตรี ศรีวิไล มีประวัติการศึกษาดังนี้  ปริญญาตรี พ..  2547 สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปริญญาโท พ.. 2554 สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ วิชาเอกหมอลำ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และ ปริญญาเอก พ.. 2557 สาขาวิชาดุริยางคศิลป์  วิชาเอกดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม        ส่วนการศึกษาสายอาชีพ  ได้แก่  ปี พ.. 2505  ศึกษาหมอลำกลอน จาก พ่อ แม่ พี่ชาย และพี่สาว  ปี พ.. 2510 ศึกษาการประพันธ์กลอนลำ จาก พ่อ แม่ พี่ชาย   ปี พ.. 2514 ศึกษาหมอลำหมู่ จากพี่ชายสุนทร ชัยรุ่งเรือง   และปี พ.. 2527  ศึกษาหมอลำกลอนประยุกต์กับพี่ชาย

ประวัติการทำงาน

                                      เมื่อ พ.. 2505-2517 หมอลำราตรี ศรีวิไลได้ทำอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งในขณะเดียวกันเมื่อ พ.. 2505 ก็ได้ทำการแสดงหมอลำกลอนไปด้วยซึ่งแบ่งออกเป็นช่วง พ.. ได้ดังนี้ คือ ในปี พ.. 2508-2515 ได้แสดงหมอลำกลอน   ปี พ.. 2516-2524 ได้แสดงหมอลำหมู่   ปี พ..2525-2527 ได้แสดงหมอลำมหามันส์  ปี พ.. 2528-2529 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นหมอลำกลอนประยุกต์ ปี พ..2530-2543 ได้แสดงลำกลอนประยุกต์ และเมื่อ ปี พ..2544 ได้กลับมาแสดงหมอลำกลอนย้อนยุกต์

                             ในด้านการสอนหมอลำนั้น หมอลำราตรี ศรีวิไล สอนทั้งที่บ้านและผ่านทางไปรษณีย์ ซึ่งมีจำนวนผู้เรียนดังนี้

                             ปี พ.. 2515- ปัจจุบัน ลูกศิษย์เรียนลำกลอน มี 400 คน  และ ปี พ.. 2528- ปัจจุบัน  ลูกศิษย์เรียนลำกลอนประยุกต์ มี 1000 คน และงานสอนด้านอื่น ๆ เช่น วิทยากร อาจารย์พิเศษทั้งสอนและสาธิตตามสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นต้น                             

                             จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า หมอลำราตรี ศรีวิไลเดิมชื่อราตรีสวัสดิ์ อุ่นทะยา ปัจจุบัน (2557) อายุ 64 ปี มีพี่น้องด้วยกัน 7 คน เมื่อปี พ.. 2505-2517 หมอลำราตรี ได้ทำอาชีพเกษตรกรรม และในระหว่างนี้ ปี พ.. 2508 ก็ได้เริ่มเรียนรู้หมอลำกลอนและได้นำมาเป็นอาชีพด้วยและเมื่อปี พ.. 2510 ก็ได้ศึกษาการประพันธ์กลอนลำจาก พ่อแม่และพี่ชายเพิ่มเติม เมื่อปี พ.. 2517 หมอลำราตรี ได้สมรสกับนายวิชิต บงสิทธิพร และได้บุตรด้วยกัน 2 คน ซึ่งในขณะนั้นหมอลำราตรี ได้เริ่มปรับเปลี่ยนการแสดงจากหมอลำกลอนเป็นหมอลำหมู่แล้ว แต่ก็ยังรับงานหมอลำกลอนควบคู่กันไปด้วย และได้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการแสดงใหม่ เช่น การแสดงหมอลำมหามันส์ หมอลำกลอนประยุกต์ เป็นต้น เหตุที่เปลี่ยนก็เพราะเพื่อทำให้ผู้คนสนใจในการแสดงซึ่งก็ถือได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งมีลูกศิษย์มาสมัครเรียนหมอลำกลอนย้อนยุคและหมอลำกลอนประยุกต์รวมประมาณ 1,400 คน และเมื่อปี พ.. 2544 เป็นต้นมา หมอลำราตรี ก็ได้กลับไปแสดงหมอลำกลอนย้อนยุคเช่นเดิม เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีสานให้ควบคู่อีสานและได้เผยแพร่หมอลำโดยการเป็นวิทยากร และอาจารย์พิเศษตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป้าหมายของกลอนลำที่ประพันธ์ส่วนใหญ่ ประพันธ์ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ตามสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน และการประกวดแข่งขันของลูกศิษย์ที่มาขอให้ประพันธ์

2.2.5.2 ผลงานที่สร้างสรรค์

                                       หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้หลายประเภท ผู้วิจัยขอยกตัวอย่างดังนี้

                                       1. ผลงานด้านการประพันธ์กลอนลำ ตั้งแต่ ปี พ.. 2529 -2557 หมอลำราตรี ศรีวิไลได้ประพันธ์กลอนลำไว้ เช่น

                                       ปี พ.. 2550 แต่งกลอนลำชุด ภาษาถิ่นก็ภาษาไทย ได้ผ่านการคัดเลือกจาก สวช และยกย่องให้เป็น ผู้ใช้ภาษาไทยดีเดิ่น  เมื่อปี พ.. 2541 แต่งกลอนลำชุด เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ ใช้ในการประกวดหมอลำกลอนชิงแชมป์ประเทศไทย ที่จังหวัด ชัยภูมิ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการประกวด  และตัวอย่างผลงานสร้างสรรค์ จำนวน 25 เล่ม เช่น  ชุดเทิดพระเกียรติ  ชุดปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักชาติ  ชุดคุณธรรม จริยธรรมและอนุรักษ์วัฒนธรรม  ชุดพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ชุดรณรงค์และเผยแพร่ข่าวสารโครงการต่าง ๆ  ชุดเชิญชวนท่องเที่ยวไทย  ชุดเผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งนักการเมือง  ชุดนิทานโบราณคดีและวรรณคดี ชุดประวัติศาสตร์ไทย  ชุดโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล   ชุดเบ็ดเตล็ดประเภทลำกลอน   ชุดเบ็ดเตล็ดประเภทลำกลอนประยุกต์   ชุดเบ็ดเตล็ดประเภทลูกทุ่งหมอลำ   ชุดรายงานตัวของศิลปินในค่าย   ชุดหลักสูตรการสอนหมอลำทั้งเรียนประจำและทางไปรษณีย์และชุดการเรียนการสอน ลำกลอน ขั้นอาชีพ เป็นต้น กลอนลำที่ประมาณประมาณ 2,000 กลอน

2.  การเผยแพร่ผลงานที่สร้างสรรค์ในประเทศและต่างประเทศ

                                        หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้เผยแพร่ผลงานการแสดงที่ต่างประเทศตั้งแต่ ปี พ.. 2516-2552  ได้แก่  ประเทศลาว จำนวน 2 ครั้ง เช่น กลอนรณรงค์การวางแผนครอบครัว แขวงสีทันดร,   ประเทศจีน จำนวน 3 ครั้ง เช่น งานมหกรรมวัฒนธรรมนานาชาติ ร่วมกับศิลปิน 60 ประเทศ นครหนานหนิง สัมมนา ดนตรีวิทยา,   ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2  ครั้ง เช่น ร่วมสัมมนาและสาธิตการแสดงลำกลอน ณ นครโอซาก้า และสอนท่าฟ้อน,   ประเทศเกาหลี จำนวน 1  ครั้ง เช่น ร่วมสัมมนาและสาธิตการแสดงลำกลอนและสอนท่าฟ้อน,   ประเทศใต้หวัน จำนวน 2  ครั้ง เช่น แสดงลำกลอนในงานมหกรรมดนตรี มหาวิทยาลัยกรุงไทเป   และประเทศสวีเดน จำนวน 2 ครั้ง เช่น แสดงงานเทิดพระเกียรติ ครบรอบ 108 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองรากุนดา

                                       3. เผยแพร่ผลงานทางภาพและเสียง  หมอลำราตรีได้ทำการเผยแพร่ผลงานทางสื่อ เช่น ทีวี วิทยุ เทปบันทึกเสียง  ได้แก่  บันทึกเทป จำนวน 29 ม้วน เช่น แต่งกลอนลำปลอบใจภัยน้ำท่วมโครงการสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยขอนแก่น  ให้สัมภาษณ์รายการต่าง ๆ จำนวน 13 ครั้ง เช่น ประวัติและความเป็นมาของหมอลำ และสาธิตการแสดงหมอลำกับรายการโชว์ทาร์มบายช่อง 5   และ แสดงโชว์รายการทีวี จำนวน 9 ครั้ง เช่น แสดงหมอลำในงานแถลงข่าว การประกวดหมอลำกลอนสมานฉันท์ ฮักกันคือข้าวเหนียวปั้นใหม่ทางช่อง 11 ขอนแก่น

2.2.5.3 การถ่ายทอดองค์ความรู้หมอลำ

                                       หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้นำความรู้ที่สั่งสมมาถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ และผู้ที่สนใจทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้

                                       1. การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแสดงผ่านทางศูนย์การเรียน สำนักงาน และทางไปรษณีย์ ตั้งแต่  ปี พ.. 2515-2557 มีลูกศิษย์ ที่เรียนจบหลักสูตร หมอลำกลอนขั้นพื้นฐานและขั้นอาชีพ ประมาณ 1,000 คน การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านทางศูนย์การเรียนมีผู้สนใจเข้ามาศึกษาจำนวน 47 ครั้ง รูปแบบการสอนเช่น  สอนท่าฟ้อนและสอนหัดลำ   บรรยายและสาธิตการแสดงหมอลำ   ให้สัมภาษณ์และสาธิตการแสดงหมอลำ และสอนแนวทางการประพันธ์กลอนลำ เป็นต้น

                                       2. การถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะการแสดง ผ่านระบบสถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.. 2536  -2557 หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ หน่วยงาน สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ จำนวน 35 ครั้ง เช่น  เป็นวิทยากรบรรยายและแสดงหมอลำกลอน   สัมมนาและระดมความคิดในโครงการด้านการศึกษา  ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม   เป็นวิทยากรและสาธิตการแสดงหมอลำ  สอนวาดฟ้อนให้กับองค์กรต่าง ๆ   สอนการแต่งกลอนลำ  และเป็นอาจารย์พิเศษในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2.2.5.4 รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

                                       หมอลำราตรี ศรีวิไล เป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านศิลปะการแสดงหมอลำ และการประพันธ์กลอนลำจนได้รับรางวัลและเกียรติคุณจาก สถาบัน องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย เช่น

                                       1. รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับจากการคัดเลือกของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น  

                                                รางวัลพระราชทาน จำนวน 6 รางวัล ตั้งแต่ปี พ.. 2516-2556 เช่น

                                                 ปี พ.. 2537 เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์กลอนลำ)

                                                รางวัลเชิดชูเกียรติตามหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 63 รางวัล ตั้งแต่ปี พ.. 2532-2556 เช่น  ปี พ.. 2534  เข้ารับใบประกาศเกียรติคุณจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น โดยการคัดเลือกเชิดชูเกียรติจากศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่นให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (หมอลำ) และ ปี พ.. 2545 ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ จาก เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (นายรุ่ง แก้วแดง) เชิดชูเกียรติแต่งตั้งให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     (รุ่นที่ 1)

                                       2. รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับจากการประพันธ์กลอนลำ และการแสดงศิลปะพื้นบ้านหมอลำ

                                                หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้ประพันธ์กลอนลำ และนำกลอนลำเข้าประกวดในการแสดงพื้นบ้านหมอลำ จากปี พ.. 2513-2546 จำนวน 12 ครั้ง เช่น ปี พ.. 2513  ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากนายกเทศบาลจังหวัดขอนแก่น โดยการประกวดการแสดงพื้นบ้านประเภทหมอลำกลอน เนื่องในงานประจำปีแห่เทียนพรรษา ที่ศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น

                                       3. รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ จากการประพันธ์กลอนลำให้ลูกศิษย์นำไปประกวดในงานต่าง ๆ

                                                หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้มีความเชี่ยวชาญในด้านการประพันธ์กลอนและได้ส่งเสริมลูกศิษย์ให้ก้าวหน้าโดยการประพันธ์กลอนลำให้กับลูกศิษย์ไปประกวดตามเวทีต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.. 2530-2555 จำนวน 29 ครั้ง เช่น   ปี พ.. 2539 ได้ประกวดหมอลำกลอนและหมอลำซิ่งชิงแชมป์แห่งประเทศไทยที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง คือ หมอลำ มณีรัตน์ แก้วเสด็จ   และปี พ.. 2555 ได้ประกวดลำกลอน ในกลอนลำเกี่ยวกับ เรื่องพุทธชยันตี จังหวัดขอนแก่น ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 คือ หมอลำเสาวนีย์  เสียงระฆังทอง และรางวัลที่ 3 คือ หมอลำยอดฟ้า เพชรสารคาม

2.2.5.5 การทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมด้านวิชาการ

                                       นอกจากหมอลำราตรี ศรีวิไลจะประพันธ์กลอนลำให้กับลูกศิษย์นำไปประกวดแข่งขันแล้ว ยังได้ทำคุณประโยชน์ในด้านการให้ข้อมูลแก่นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ ปี พ.. 2532-2557 ในด้านการศึกษาเพื่องานวิจัยของ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เช่น

                                       ในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 48 คน เช่น ในวันที่ 1 มกราคม 2554 นาย      จักกษฤ รักษาจันทร์ นักศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาดนตรี และการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อทำดุริยนิพนธ์ เรื่อง วิธีการร้องหมอลำ แม่ครูราตรี ศรีวิไล

                                       ในระดับ ปริญญาโท จำนวน 7 คน เช่น ในปี พ.ศ.2541  นายวุฒิศักดิ์ กะตะศิลา นิสิตระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษย์ศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง บทบาทของหมอลำราตรี ศรีวิไล ผู้บุกเบิกลำซิ่ง

          จากประวัติและผลงานของหมอลำราตรีที่กล่าวมา สรุปได้ว่า หมอลำราตรี ศรีวิไลได้สร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่ปี พ.. 2529-2557  ผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นเอกสารมีประมาณ 25 เล่ม จำนวนกลอนลำประมาณ 2,000 กลอน และได้นำผลงานที่สร้างสรรค์ไปเผยแพร่แสดงต่างประเทศ จำนวน 12 ครั้ง ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ลาว จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน และสวีเดน ในส่วนผลงานที่เผยแพร่ในประเทศได้แก่ การบันทึกเทป จำนวน 29 ม้วน ให้สัมภาษณ์รายการต่าง ๆ จำนวน 13 ครั้ง และแสดงโชว์ในรายการทีวี จำนวน 9 ครั้ง จากผลงานที่หมอลำราตรี ศรีวิไล ได้สร้างสรรค์เอาไว้ทำให้หมอลำราตรี ศรีวิไลมีองค์ความรู้มากพอที่จะนำไปถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านศูนย์การเรียนของสำนักงาน และทางไปรษณีย์ตั้งแต่ปี พ.. 2515-2557 มีผู้สนใจเข้ามาเรียนประมาณ 47 ครั้ง/หลักสูตร มีผู้เรียนจำนวน 1,000 คน และได้ถ่ายทอดความรู้ศิลปะการแสดงผ่านสถานศึกษา หน่วยงาน สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ จำนวน 35 ครั้ง/หลักสูตร ซึ่งจะเห็นแล้วว่าหมอลำราตรี ศรีวิไล เป็นครูผู้มีองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดง และการประพันธ์กลอนลำจึงทำให้หมอลำราตรี  ได้รับรางวัลและเกียรติคุณ จากสถาบัน องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย เช่น รางวัลพระราชทาน จำนวน 6 รางวัล รางวัลเชิดชูเกียรติตามหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 63 รางวัล ในส่วนของรางวัลจากการประพันธ์กลอนลำและรางวัลแสดงศิลปะพื้นบ้านหมอลำ ได้รับรางวัลจำนวน 12  ครั้ง รางวัลการประพันธ์กลอนลำให้กับลูกศิษย์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้รับรางวัล 29 ครั้ง จากความสำเร็จในด้านการสอนหมอลำ การประพันธ์กลอนลำ การแสดงหมอลำ และการประกวดแข่งขันหมอลำแล้ว หมอลำราตรี ยังสร้างคุณประโยชน์เพื่อสังคมโดยการให้ข้อมูลด้านวิชาการ ด้านวิจัยแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 48 คน และระดับปริญญาโท จำนวน 3 คน

          จึงสามารถสรุปได้ว่าหมอลำราตรี ศรีวิเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการแสดงหมอลำ การประพันธ์กลอนลำ การถ่ายทอดองค์ความรู้หมอลำ และการส่งเสริมการประกวดแข่งขันหมอลำ ซึ่งก็สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของผู้วิจัยที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานในกลอนลำของหมอลำราตรี ศรีวิไลในครั้งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน