กลอนลำ
กลอน หมายถึง คำประพันธ์ ที่มีสัมผัส เช่นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย
กลอนเป็นลำนำขับร้อง คือ บทละคร สักวา บทดอกสร้อย เป็นเพลง คือ กลอนตลาด (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542)
กลอนลำเป็นบทร้อยกรอง ประพันธ์โดยครูผู้แต่งกลอนลำ หมอลำใช้ลำเมื่อทำการแสดง ทำนองลำที่นิยมใช้มี 5 ทำนอง คือ ทำนองลำทางสั้น ทำนองลำทางยาว ทำนองลำเต้ย ทำนองลำเพลิน และทำนองลำเดิน (พงษ์ศักดิ์ ฐานสินพล , 2526 อ้างจาก เจริญชัย ชนไพโรจน์ 2526; 20-27)
กลอนลำ หมายถึง บทที่หมอลำทุกประเภทใช้ลำ มีลักษณะเป็นร้อยกรองคล้ายกลอนภาคกลาง
เนื้อหากลอนลำที่ใช้ลำได้แก่ กลอนเกี้ยว กลอนนิทาน กลอนวิชาการ และกลอนศีลธรรม
เป็นต้น (บัณฑิตวงศ์ ทองกลม, 2539
อ้างจาก เจริญชัย ชนไพโรจน์ 2526; 29)
กลอนลำหมายถึง บทกลอนที่หมอลำใช้ลำ
เนื้อหาเป็นเรื่องราวของท้องถิ่นนำมาแต่งเป็นร้อยกรองที่ให้ความไพเราะเน้นเนื้อหาและความหมายเป็นสำคัญ
(เสงี่ยม บึงไสย์,
2533)
กลอนลำ หมายถึง กลอนที่หมอลำนำมาจากวรรณกรรมนิทานที่แต่งเป็นร้อยกรอง
ไม่นิยมมีคำสร้อยเหมือนกลอนอ่านแต่เน้นสัมผัสระหว่างวรรค (รำเพย
ไชยสินธุ์, 2553)
จากความหมายของกลอนลำดังกล่าวพอสรุปได้ว่า กลอนลำหมายถึง บทร้อยกรองของอีสานที่หมอลำนำไปลำเนื้อหากลอนลำมาจากวรรณคดีท้องถิ่นอีสานมีสัมผัสระหว่างวรรค
เน้นเนื้อหาสาระที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ
2.2.3.1 ประเภทเนื้อหาและทำนองกลอนลำ
การแบ่งประเภทของกลอนลำสามารถจัดได้หลายวิธี แล้วแต่ความเหมาะสมและการศึกษาค้นคว้าของแต่ละคน
ส่วน เสงี่ยม บึงไสย์ (2533) ได้จัดประเภทของกลอนลำไว้ 3 ประเภท คือ 1) แบ่งตามลักษณะเนื้อหา 2) แบ่งตามทำนองทั่วไป 3) แบ่งตามทำนองท้องถิ่น
1) กลอนลำที่แบ่งตามลักษณะเนื้อหาแบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ
1.1 กลอนเกี้ยว คือ เป็นกลอนลำที่หมอลำฝ่ายชายลำเกี้ยวพาราสีหมอลำฝ่ายหญิง
1.2 กลอนนิทาน คือ
กลอนลำที่นำเนื้อหามาจากวรรณกรรมพื้นบ้านมาลำ เช่น ขูลูนางอั้ว ผาแดงนางไอ่
เป็นต้น
1.3 กลอนศีลธรรม คือ
กลอนลำที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น กลอนศีลแปด กลอนพุทธทำนาย
เป็นต้น
1.4
กลอนวิชาการ คือ กลอนลำที่มีเนื้อหาในทางวิชาการ เช่น กลอนประวัติศาสตร์
กลอนภูมิศาสตร์ กลอนการเมือง เป็นต้น
1.5 กลอนพรรณนาธรรมชาติ คือ
กลอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น กลอนเดินดง กลอนพรรณนาดอกไม้ เป็นต้น
2) กลอนลำที่แบ่งตามทำนองทั่วไป แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
2.1 กลอนลำทางสั้น
เป็นท่วงทำนองแบบกระชับ ไม่เยินเย้อ ให้จังหวะเร็ว
ใช้ลำกับกลอนที่มีเนื้อหาที่มีความยาวมากเพื่อกระชับเวลาในการลำ
ส่วนกลอนลำที่ใช้ลำเช่น กลอนประวัติศาสตร์ กลอนวรรณคดี กลอนพุทธทำนาย เป็นต้น
ทำนองกลอนลำทางสั้นให้อารมณ์สนุกสนาน ตื่นเต้น และเร้าใจ
2.2 กลอนลำทางยาว เป็นทำนองแบบช้า อาศัยความละเอียดของคำมีการเอื้อนเสียงใช้ลำกับกลอนที่มีเนื้อหาที่ต้องการความละเอียดและไม่ยาวมาก
กลอนลำที่ใช้ลำเช่น กลอนลำพรรณนาคิดถึงคนรัก กลอนลำอวยพร และกลอนลำล่องของ เป็นต้น
2.3 ลำเต้ย เป็นทำนองจังหวะเร็ว
ใช้ในการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายและหญิงมีอยู่ 4 ทำนอง
ได้แก่ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยโนนตาล ทำนองลำเต้ยให้อารมณ์สนุกสนาน
2.4 ลำเพลิน เป็นท่วงทำนองจังหวะเร็ว
และมีการแทรกเพลงลูกทุ่งสลับลำตามสมัยนิยม ให้ความสนุกสนาน และเร้าใจ
3) กลอนลำที่แบ่งตามทำนองท้องถิ่น
แบ่งได้เป็น 4 ทำนอง
(ปริญญา ป้องรอด,
2544) คือ
3.1 วาดอุบล หรือทำนองอุบล เป็นท่วงทำนองที่ช้ามีการเอื้อนเสียงที่ยาวและสูงและใช้ลูกคอท้ายวรรคมาก
ผู้ลำทำนองอุบลได้ดีนั้นจะต้องมีลมหายใจยาว และเสียงดี
3.2 วาดขอนแก่น
หรือทำนองขอนแก่น เป็นทำนองที่มีจังหวะเร็วกว่าทำนองอุบล ไม่มี โอ่ ตอนเกริ่นลำ
ในขณะลำไม่มีเอื้อนเสียงและใช้ลูกคอมากเท่ากับทำนองอุบล
แต่จะเอื้อนเสียงยาวเฉพาะบทโศกเศร้าเท่านั้น
ผู้ที่จะลำวาดขอนแก่นได้ดีต้องมีเสียงสูงและแหลมถึงจะไพเราะ
3.3 วาดกาฬสินธุ์ หรือทำนองกาฬสินธุ์
เป็นท่วงทำนองที่ช้าและหนักแน่น ตอนเกริ่นลำมักขึ้นต้นว่า มาบัดนี้ แม่เอ้ยแม่
ในระหว่างการลำไม่มีการเอื้อนเสียง มักลำเสียงห้วน ๆ มีการใช้ลูกคอเล็กน้อย
ผู้ที่ลำทำวาดกาฬสินธุ์ได้ดี ต้องเสียงต่ำและเสียงใหญ่ทุ้ม และห้าว
3.4 วาดสารคาม หรือทำนองสารคาม
เป็นทำนองเดียวกันกับทำนองกาฬสินธุ์ เพราะในอดีตสำนักงานหมอลำตั้งอยู่ที่จังหวัดสารคามเป็นจำนวนมาก
ชาวกาฬสินธุ์จึงมาลำอยู่ที่ สารคามค่อนข้างมากตามไปด้วย
เมื่ออยู่นานไปจึงเรียกว่า วาดสารคาม
2.2.3.2 ฉันทลักษณ์กลอนลำ
1) รูปแบบคำประพันธ์
กลอนเป็นรูปแบบคำประพันธ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในวรรณกรรมอีสานเรียกว่า
โครงสาร หรือ กลอนวิชุมาลี(จารุวรรณ ธรรมวัตร, 2521) โดยเฉพาะกลอนอ่าน ซึ่งกลอนอ่าน ใน 1 บท มี 2 วรรค
แบ่งออกเป็นบทเอก และบทโท ดังนี้
บทเอก หมายถึง
บทที่มีเสียงเอกนำใน บาทแรก คำที่ 2 วรรคหน้า มีเสียงวรรณยุกต์เอก 3 ตำแหน่ง วรรณยุกต์โท 2 ตำแหน่ง
แผนผัง
บทเอก (๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
(๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
ตัวอย่างกลอน
“…แล้วบ่ช้า นางก็สั่งสามี
บุสดีนางงาม ก็สั่งความนำท้าว…”
(เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์), สุริยะคาส
จันทระคราส. หน้า 24)
บทโท หมายถึง
บทที่มีเสียงโทนำในบาทแรก คำที่ 3 วรรคหน้า
มีเสียงวรรณยุกต์เอก 3 ตำแหน่ง และวรรณยุกต์โท 3 ตำแหน่ง
แผนผัง
บทโท (๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
(๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
ตัวอย่างกลอน
“…คราวเมื่อองค์อวนอ้าย
ไปเถิงเมืองบ้านเก่า
ขอให้พระพี่เจ้า
คะนิงน้องผู้อยู่คอย…”
(เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์), สุริยะคาส
จันทระคราส. หน้า 24)
หากนำไปแต่งเป็นคำกลอนที่มีเนื้อหาเรื่องราวแล้ว
นิยมแต่งแบบคู่และแบบเดี่ยวคือ บทเดี่ยวจะแต่งบทเอกหรือบทโทของบทใดก่อนก็ได้
ส่วนบทคู่ คือ การนำบทเอกและบทโทมารวมกัน
เพื่อให้เกิดความไพเราะของบทกลอนและเป็นที่นิยมในการประพันธ์กลอนแต่โบราณ คือ
หากจะแต่งบทคู่ให้ใช้บทเอกเป็นบทแต่งนำ หากจะแต่งด้วยบทเดี่ยว ให้ใช้บทโทนำ
แผนผัง
(๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
(๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
(๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
(๐๐) ๐๐๐ ๐๐๐๐ (๐๐)
ตัวอย่างกลอน
“…นางกล่าวต้าน
ชวนพี่ราชา
ถึงเวลา กล่าวจาคีค้อย
ผมหอมน้อย ชวนชายเข้าบ่อน
เข้าไปนอนแนบข้าง
ปรางค์กว้างฮ่วมพระนาง…”
(เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์), นางผมหอม. หน้า61)
คำเสริม เป็นคำที่ใช้เพิ่มเข้าหน้าวรรคเพื่อขยายความหมายให้สมบูรณ์ขึ้น
เช่น โอน้อ เทื่อนี้ บัดนั้น ฯลฯ
คำสร้อย เป็นคำที่ใช้เพิ่มท้ายวรรค
เพื่อขยายความหมายให้สมบูรณ์ขึ้น เช่น พุ้นเย้อ นั้นแล้ว แลนา
ฯลฯในกลอนอ่านนี้จะบังคับแต่วรรณยุกต์เท่านั้น ส่วนสัมผัสไม่เคร่งครัด
แต่ในปัจจุบันนิยมให้มีทั้งสัมผัสสระและพยัญชนะ
2)
เค้าโครงการประพันธ์กลอนลำ
การประพันธ์กลอนมีลักษณะทั่วไปที่เรียกว่า
เค้าโครง ที่เป็นองค์ประกอบของกลอนลำทุกชนิด มี 3 ส่วนคือ
กลอนเกริ่น กลอนเญิ้น และกลอนจบ ( จิรภัทร แก้วกู่, 2541) ดังนี้
1. กลอนเกริ่น เป็นคำนำของกลอนใช้ในการเปิดเรื่อง ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหากลอน
เพื่อเทียบเคียงจังหวะของเสียงลำกับเสียงแคนให้เข้ากันอย่างลงตัว
ในกลอนเกริ่นนี้สามารถแบ่งย่อยได้ อีก 3 จังหวะ
คือ เกริ่นเริ่ม เกริ่นเรื่อง และเกริ่นลง ดังนี้
1. เกริ่นเริ่ม คือ คำเริ่มกลอน มีอยู่ 1 วรรค จำนวน 4
คำ
แผนผัง
เกริ่นเริ่ม ๐ ๐ ๐ ๐
ตัวอย่าง
โอ่
โอ๋ละนอ…
2.
เกริ่นเรื่อง คือ คำเกริ่นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นแก่นเรื่องก่อนเข้าถึงกลอนเญิ้น
มีจำนวน 7-8 คำ วรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 4 คำ
ส่งสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของบาทที่ 1กับคำที่ 1,2,3 ในบาทถัดไป
แผนผัง
เกริ่นเรื่อง ๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
ตัวอย่าง
เอี้ยงคาบไข่
สังกานอนคอน
ซอนอ้ายแด่หน่า
หนาน้องหน่า
3.
เกริ่นลง คือ คำลงท้ายกลอน มีจำนวน
2-3 พยางค์ เช่น
แผนผัง
เกริ่นลง ๐๐
ตัวอย่าง
ละนา
พี่เอย น้องสาวเอย
แผนผังกลอนเกริ่นสมบูรณ์
1. เกริ่นเริ่ม ๐๐๐๐
2. เกริ่นเรื่อง
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
3.เกริ่นลง ๐๐๐
ตัวอย่าง
‘’…โอละหนอ…
ไม้เอยไม้
ไม้เจ้าล้มพาดง่า เจ้าพากันตัดป่า จนว่าไม้หมดลง
ยามฝนตกฝนลงมันกะไหลลงมา
กะท่วมบ้านเอาสา มันตายจ้อย
โอ้ยละน้อ นวนนวนเอย…”
ฯลฯ
(ประมวล
พิมพ์เสน, 2543 กลอนลำทางสั้น
เฮือนสาม น้ำสี่. หน้า 79 )
2. กลอนเญิ้น คือ
กลอนที่เป็นเนื้อหาในการบรรยายเรื่องราว หรือ เหตุการณ์ต่างๆ
ในแก่นเรื่องเดี่ยวกันจนจบเรื่อง สามารถแบ่งออกได้3 ลักษณะ คือ กลอนเญิ้นแต่ง (เขียน) กลอนเญิ้นดั้น และกลอนเญิ้นพัฒนา
มีรายละเอียดดังนี้
1. กลอนเญิ้นแต่ง (เขียน) เป็นกลอนดั้งเดิม ที่ยึดเสียงวรรณยุกต์เป็นหลักบางครั้งเรียกว่า
โคลงสาร มีลักษณะแบบเดียวกับ กลอนอ่าน กลุ่มคำมีอยู่ 7 คำ เรียกว่า
กลอนเจ็ด และสามารถเพิ่มคำเสริม และคำสร้อยได้ แต่ต้องเพิ่มเป็นคู่ คือ 2 คำ หรือ 4 คำ ไม่เกินนี้
จะเติมด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ตามความเหมาะสม กลอนเญิ้นแต่งนี้ มีการกำหนดบทเอก
และบทโท อย่างชัดเจน ตัวอย่างกลอน เช่น
กลอนลำทางสั้นเชิญชวนชาวอีสานกลับบ้าน
“…ฟังเด้อไทย
ชาวไทยทุกท่าน
อยู่ตามหมู่บ้าน
ไกลใกล้ห่างกัน
มีห้วยกั้น ผาหลั่นปันแดน
กะแม่นดินไทยแลนด์ แผ่นเดียวเด้อป้า…”
ฯลฯ
(สุนทร แพงพุทธ, 2556)
2. กลอนเญิ้นดั้น เป็นการยึดสัมผัสคล้องจองเป็นหลักแบ่งออกเป็น 2 แบบ
คือ สัมผัสคำ เป็นการส่งสัมผัสกันท้ายบาทกลอน และ สัมผัสร้อง
เป็นการรับส่งสัมผัสระหว่างบทกลอนเพลง กลอนเญิ้นดั้นนี้ในแต่ละบาทมีจำนวนคำอยู่ 7
คำ มีลีลากระซับรวดเร็วเหมาะกลอนลำทางสั้น
แผนผัง
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
ตัวอย่างกลอน
“…ฟังเด้อเจ้า คุณพ่อศรัทธา
หลานสิพรรณนา ฮิตครองของเก่า
ดีกว่าอยู่เปล่าเปล่า น้อน้าบ่าวอาวอา
ประเพณีเขามา
สับเอาเฮาเปลี่ยน
นี้จั่งแม่นเจ้าเลียน
ฟ้าวรับฟ้าวเอา…”
ฯลฯ
(ประมวล พิมพ์เสน, 2543 ลำทางสั้น
ฮีตสิบสอง. หน้า. 82)
3. กลอนเญิ้นพัฒนา ได้พัฒนามาจากกลอนเญิ้นดั้น
ยึดวรรณยุกต์และการส่งสัมผัสเป็นหลักเรียกว่า โคลงสาร กลอนหนึ่งบท มี 1 บาท วรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 5 คำ
รวมเป็น 10 คำ หรืออาจมีการเพิ่มคำอีกเป็น 9 หรือ 10 คำ
ก็ได้เพื่อต้องการความหมาย การส่งสัมผัสมีทั้งสัมผัสร้อง และสัมผัสคำ
เหมือนกับกลอนเญิ้นดั้น กลอนเญิ้นพัฒนานี้มีจำนวนคำในคำกลอนมากจึงเหมาะกับทำนองลำทางยาวที่มีท่วงทำนองที่ช้า
และให้เสียงสูง เช่น
แผนผัง
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
ตัวอย่างกลอน
กลอนลาภาษาพื้นบ้าน
“จบกระบวนสมควรแล้ว สิลาปางวางข่วง
หมอลำลงจากฮ้าน คนเฒ่าฮีแม่เฮือน
กะสิคาด
ๆเคลื่อน ลับเลี่ยมลงบัง
ดาวกุญชรงาเงย ไก่บักแดงขันท้า
ดวงจันทรากำลังค้อย คอยแสงใกล้สว่าง
ซุมดาวหางดาวไก่น้อย คอยป้องอี่แม่เมือ…”
ฯลฯ
(สุนทร แพงพุทธ, 2556.หน้า 14)
4.
กลอนลง เป็นคำที่ลงท้ายกลอนลำ
เพื่อใช้ในการจบกลอนลำหรือบทลำ อาจมี 1,2 หรือ 3 พยางค์
แผนผัง
๐๐๐
ตัวอย่างเช่น ละนา พี่เอย
นอนี่
ตัวอย่างแผนผังที่สมบูรณ์
1. เกริ่นเริ่ม ๐๐๐
2. เกริ่นเรื่อง ๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐ ๐๐๐๐
3. เกริ่นลง ๐๐๐
4. กลอนเญิ้น
๐๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐๐ ๐๐๐๐
๐๐๐๐ ๐๐๐๐
5. กลอนลง ๐๐
ตัวอย่างกลอน
“…โอนอ
น้องนี้กะยังได้เว้าเจ้าได้ว่า ไม้เอยไม้เจ้าสิล้มพาดง่า
คำพุ้นว่าเดี่ยงมา ว่าเดี่ยงมา…. เออ เออ ละน่า
โอนอ
เหลียวไปทางเหนือพุ้น เวียงจันทร์ปากน้ำงึ่ม
เห็นแต่ดอนต่อขั้น ขันต่อแจ้งกระแสน้ำปั่นหลิว
เหลียวไปทิวบนด้าน
โพธารามก้ำบ้านโป่ง
เลาะตามสายแม่น้ำโขง เห็นแต่เรือพ่อค้าลงแก้งท่ากระเบา…”
ฯลฯ
ละนา…
(ไพบูรณ์ แพงเงิน, 2534 อ้างจาก หมอลำขันทอง หน้า 58-59)
3)
ประเภทโครงสร้างกลอนลำ
ไพบูลย์ แพงเงิน (2534) ได้แบ่งกลอนลำออกเป็น 3 ประเภท
คือ กลอนลำทางสั้น กลอนลำทางยาว และลำเต้ย ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
1) ลำทางสั้น จำนวนคำในประโยคเนื้อหาลำทางสั้นที่นิยมมากที่สุดคือ
จำนนวน 14 คำ จำนวนคำในวรรคหน้า 7 คำ วรรคหลัง 7 คำ นิยมส่งสัมผัสไปยังคำที่ 3 และ
4 มากที่สุด จำนวนความยาวของบทขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของกลอนลำ
แผนผังโครงสร้างของกลอนลำทางสั้น
ตอนต้น โอละนอ
(หรือข้อความอื่น)………………….โอละนอ นวลเอย (หรือข้อความอื่น)
ตอนกลาง ……………………………….………… (กลอนตัด) หรือ
…………………………………………. (กลอนเญิ้น)
ตอนปลาย ……………………….สีนานวล……. ท่อนี้แล้ว (หรือข้อความอื่น)
2) ลำทางยาว จำนวนคำในประโยคเนื้อหาลำทางยาวที่นิยมมากที่สุดคือ จำนนวน 23 คำ จำนวนคำในวรรคหน้า
11 คำ วรรคหลัง 18 คำ นิยมส่งสัมผัสไปยังคำที่ 3 และ 5 มากที่สุด
จำนวนความยาวของบทขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของกลอนลำ
แผนผังโครงสร้างของกลอนลำทางยาว
ตอนต้น โอละนอ
(หรือข้อความอื่น)………………….เออละนา
(หรือข้อความอื่น)
ตอนกลาง ……………………………….…….. (กลอนเญิ้น)
……………………………………..
ตอนปลาย ……………………………………..ละนา (หรือข้อความอื่น)
3) ลำเต้ย จำนวนคำในประโยคเนื้อหาลำเต้ยที่นิยมมากที่สุดคือ จำนนวน 24 คำ
จำนวนคำในวรรคหน้า 11 คำ วรรคหลัง 18 คำ นิยมส่งสัมผัสไปยังคำที่ 3 และ 4
มากที่สุด จำนวนบทขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของกลอนลำ
แผนผังโครงสร้างของกลอนลำเต้ยธรรมดา
ตอนต้น สาวแม่นนางเอ๊ย
(หรือข้อความอื่น)
ตอนกลาง …………………………………..
ตอนปลาย นั่นละนานางนา
นกเขาขันลาแต่ตอนเอ๊ย (หรือข้อความอื่น)
2.2.4 ความรู้เกี่ยวกับหมอลำกลอน
หมอลำกลอนหมายถึง หมอลำที่ลำเป็นคู่ โต้ตอบกันระหว่างชายหญิง
เน้นเนื้อหาบทกลอนเป็นสำคัญ อาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ สังคม ประเพณี
และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือบทกลอนทางประวัติศาสตร์ก็ได้
โดยมีการนำแคนเข้ามาประกอบขณะลำ (สุวิทย์ รัตนปัญญา, 2553)
2.2.4.1 กำเนิดหมอลำกลอน
จากพัฒนาการเกิดหมอลำ ผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลของหมอลำกลอนไปบางส่วนแล้วในหัวข้อนี้ผู้วิจัยขอนำเสนอประเด็นที่ซ้ำเดิมเพียงย่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อนที่จะขึ้นหัวข้อต่อไป
ซึ่งหมอลำกลอนมีพัฒนาการมาจาก
1. หมอลำพื้น คือ
การแสดงที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียวแสดงทั้งเรื่อง
2. การเกี้ยวพาราสี คือ
การพูดผญาตอบโต้กันระหว่างชายหญิง
3. ลำโจทย์เทศน์ คือ
เป็นวิธีการสอนของพระสงฆ์มีลักษณะเป็นการถามตอบ
หากแบ่งเนื้อหาของลำกลอนออกแล้วจะได้อยู่
3 ลักษณะ คือ กลอนลำธรรมดา ลำโจทย์ และ ลำซิ่ง
2.2.4.2 องค์ประกอบของการแสดงลำกลอน
(เสงี่ยม บึงไสย์, 2533) ได้แบ่งองค์ประกอบของการแสดงลำกลอนไว้ 5 ประการ
ดังนี้
1. ผู้แต่งกลอนลำ ผู้แต่งกลอนลำคือผู้ที่ต้องมีองค์ประกอบอยู่
3 ประการคือ 1) ต้องมีความรู้ด้านเนื้อหาสาระที่จะนำมาแต่งกลอนลำ 2) ต้องมีความรู้เรื่องรูปแบบของฉันทลักษณ์ของกลอนว่ามีกี่ประเภทที่ใช้ในการแต่งกลอนลำ 3) สามารถเลือกใช้สำนวนโวหารกินใจและถ้อยคำที่กระชับเพื่อให้ผู้ฟังได้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
(พงษ์ศักดิ์
ฐานสินพล, 2556)
2. กลอนลำ หมายถึง
บทร้อยกรองอีสานที่หมอลำนำไปลำเนื้อหากลอนลำมาจากวรรณคดีท้องถิ่นอีสาน
มีสัมผัสระหว่างวรรค เนื้อหาสาระให้ความหมายเป็นสำคัญกลอนลำหากแบ่งตามเนื้อหาได้ 5 ประเภทคือ
กลอนเกี้ยว กลอนนิทาน กลอนศีลธรรม กลอนวิชาการ และกลอนพรรณนาธรรมชาติ
แต่หากแบ่งตามทำนองท้องถิ่นจะได้4ทำนอง คือ ทำนองอุบล ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธุ์ และทำนองสารคาม
และฉันทลักษณ์กลอนลำ มีอยู่ 5 รูปแบบ คือ กลอนลำ 7 คำ กลอนลำ8 คำ กลอนลำ 9 คำ
กลอนลำ7 คำ กลอนลำ 8 คำ และ9 คำ กลอนลำ 8 คำ 9 คำ ปนกัน
3.
คุณสมบัติของหมอลำกลอน มีน้ำเสียงดี
เพื่อจะได้รับความนิยมจากประชาชน บุคลิกภาพดี
ส่งผลต่อความมั่นใจในการแสดงหน้าเวทีทำให้ได้รับความนิยมมาก มีปฏิภาณไหวพริบดี เพราะจำเป็นต้องตอบโจทย์กลอนลำบทเวที มีความรู้แตกฉาน เพราะต้องลำได้ทุกสถานการณ์ ความจำดี เพราะกลอนลำที่ลำมีหลายกลอนใช้เวลาลำทั้งคืน ชอบแสดงหาความรู้ เพื่อจะได้นำเหตุการณ์ใหม่ ๆมาลำเสมอ มีมารยาทเรียบร้อย ต้องรู้จักกาลเทศะและการแสดงออกที่เหมาะสมบนเวที
(เสงี่ยม บึงไสย์, 2533)
4. หมอแคน คือ ผู้ชำนาญในการเป่าแคน (สนอง คลังพระศรี, 2554)โดยหมอแคนจะทำการเป่าประกอบขณะที่หมอลำกลอนลำทางสั้น
ลำทางยาว และลำเต้ย หรือเป่าแคนลายสุดสะแนน หรือลายน้อย ในขณะที่หมอลำฟ้อน
ลายแคนที่ใช้เป่าประกอบหมอลำกลอนมีอยู่ 3 ทำนอง คือ
ลำทางสั้น ลำทางยาว และลำเต้ย
1)
ลำทางสั้น หรือ ลายน้อย ใช้ลายสุดสะแนน ซึ่งแบ่งเป็น 2 อย่างคือ เป่าลาย และ เป่าไต่กลอน การเป่าลาย คือ
การที่หมอแคนเป่าดำเนินลายแคนไปเรื่อย ให้หมอลำได้เตรียมตัว หรือโชว์วาดฟ้อน
หรืออาจเป็นการโชว์ลายแคนของหมอแคนเอง ส่วนการเป่าไต่กลอน คือ
การเป่าประสานไปกับเสียงร้องของหมอลำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบกลอน ทำนองหรือลายลำทางสั้นนี้จะให้จังหวะที่รวดเร็วสนุกสนาน
และเร้าใจ
2) ลำทางยาว หรือ ลายใหญ่
เป็นลายอ่านหนังสือ โดยเป่าตามถ้อยคำที่หมอลำขับออกมาซึ่งะมีเสียงสั้นเสียงยาวตามแต่หมอลำจะลำ
ฉะนั้นหมอแคนจึงต้องมีไหวพริบและเข้าใจในทำนองลำทางยาวเป็นอย่างดี ถึงจะเกิดอรรถรสและไพเราะขณะเป่าประสานไปกับเสียงลำ
ทำนอง หรือ ลายลำทางสั้นนี้ให้จังหวะที่ช้าเนิบ อารมณ์เสร้าง อาลัยอาวรณ์
3) ลำเต้ย สามารถใช้ทั้งลายลำทางสั้นและลายลำทางยาว
ส่วนใหญ่ผู้ชายจะใช้ลายน้อย และผู้หญิงจะใช้ลายใหญ่ ให้จังหวะสนุกสนาน
5. การแสดงหมอลำกลอน
หมอลำกลอนจะแสดงอย่างมีแบบแผนหรือเรียกว่า ขนบ
มีลักษณะกลอน (บัณฑิตวงศ์ ทองกลม, 2539) ดังนี้
ยกที่ 1 ว่ากลอนธรรมดา ขั้นตอนนี้เป็นการไหว้ครู ซึ่งอุปกรณ์ในการไหว้ครูเรียกว่า
คาย ประกอบด้วย ขัน 5 ขัน 6, เทียนเล่มบาท 1 คู่, เหล้าก้อง, ไข่ต้ม, น้ำมันทางผม, แป้ง1 ป๋อง, กรวยใส่ดอกไม้ 5 อัน, เงิน 12.50 บาท, ผ้าถุง 1
ผืน, ผ้าขาวม้า 1 ผืน, เมื่อลำไหว้ครูเรียบร้อยแล้วหมอลำก็จะลำกลอนต่าง ๆ เช่น ประกาศศรัทธา
บอกที่อยู่บ้าน เป็นต้นแล้วก็จะลำยกต่อไป
ยกที่2 การลำเกี้ยว ในยกนี้หมอลำชายจะแสดงการลำเกี้ยวฝ่ายหญิงและแสดงวาดฟ้อนกันอย่างสง่างามและสนุกสนาน
ยกที่ 3 กลอนส่อง กลอนลำส่องจะเป็นกลอนลำทางยาวพรรณนาถึงธรรมชาติ
สั่งญาติพี่น้อง โดยหมอลำจะลำสะกดให้ผู้ฟังซาบซึ้งคล้อยตาม
ยกที่ 4 กลอนอ่านหนังสือ กลอนอ่านหนังสือจะมีเนื้อหาในกลอนเกี่ยวกับการสั่งลา
ไว้อาลัย ซึ่งยกนี้ก็ใกล้จะสว่างแล้ว ส่วนใหญ่จะมีแต่คนสูงอายุนั่งฟังกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น