17 มิถุนายน 2564

ชีวประวัติและผลงานของหมอลำราตรี ศรีวิไล

 ชีวประวัติและผลงานของหมอลำราตรี ศรีวิไล

        จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาชีวประวัติของหมอลำราตรี ศรีวิไลได้แก่ วุฒิศักดิ์ กะตะศิลา (2541) ศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทของหมอลำราตรี ศรีวิไล จักฤกษ รักษาจันทร์ (2554) ศึกษาวิธีการร้องหมอลำ  แม่ครูราตรี ศรีวิไล และสุภารณี  สาระสา (2555) ได้ศึกษาวิธีการร้อง หมอลำกลอน ของราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร และยังมีงานเอกสารประกอบการพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2557 นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (2557) ที่ได้นำเสนอประวัติและผลงานของหมอลำราตรี ศรีวิไลเอาไว้ ซึ่งข้อมูลเนื้อหาจากเอกงานวิจัยของผู้วิจัยทั้ง 3 ท่านกับเอกสารประกอบการพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ของนางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร มีความข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติและผลงานที่สอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงสรุปรวบรัดเนื้อหาสาระให้กระซับเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ  ชีวประวัติของหมอลำราตรี ศรีวิไล ผลงานที่สร้างสรรค์ การถ่ายทอดองค์ความรู้หมอลำ รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ และการทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมด้านวิชาการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

กลอนลำ

 กลอนลำ

                   กลอน หมายถึง คำประพันธ์ ที่มีสัมผัส เช่นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย กลอนเป็นลำนำขับร้อง คือ บทละคร สักวา บทดอกสร้อย เป็นเพลง คือ กลอนตลาด (ราชบัณฑิตยสถาน,  2542)

                   กลอนลำเป็นบทร้อยกรอง ประพันธ์โดยครูผู้แต่งกลอนลำ หมอลำใช้ลำเมื่อทำการแสดง ทำนองลำที่นิยมใช้มี 5 ทำนอง คือ ทำนองลำทางสั้น ทำนองลำทางยาว ทำนองลำเต้ย ทำนองลำเพลิน และทำนองลำเดิน (พงษ์ศักดิ์  ฐานสินพล ,  2526  อ้างจาก เจริญชัย  ชนไพโรจน์ 2526;  20-27)

หมอลำอีสาน

 หมอลำอีสาน

ภาคอีสานมีศิลปะการแสดงที่เรียกว่า หมอลำ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษอีสานที่ได้สร้างสรรค์ไว้ จนถึงลูกหลาน หมอลำ เป็นทั้งผู้ให้ความบันเทิง และเป็นทั้งครุโดยใช้กลอนลำเป็นสื่อในการให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านการเมือง ด้านสาธารณสุข ฯลฯ และคนดูสามารถเลือกที่จะดูหมอลำได้หลายประเภทอีกด้วย เช่น กลุ่มวัยรุ่นชอบดูหมอลำซิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่  40-80  ปี ชอบดูหมอลำกลอน กลุ่มบุคคลทั่วไปชอบดูลำเรื่องต่อกลอน เป็นต้น ซึ่งหมอลำได้เอื้อความบันเทิงให้กับคนดูได้หลายรูปแบบ จึงทำให้หมอลำยั่งยืนสืบต่อมาจนถึงวันนี้ได้ นอกจากการแสดงเพื่อให้ความบันเทิงแล้วในด้านความเจ็บป่วย หมอลำก็มีบทบาทไปช่วยบำบัดรักษาอีกด้วย เช่น หมอลำผีฟ้า เป็นต้น

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน