17 มิถุนายน 2564

กลอนลำ

 กลอนลำ

                   กลอน หมายถึง คำประพันธ์ ที่มีสัมผัส เช่นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย กลอนเป็นลำนำขับร้อง คือ บทละคร สักวา บทดอกสร้อย เป็นเพลง คือ กลอนตลาด (ราชบัณฑิตยสถาน,  2542)

                   กลอนลำเป็นบทร้อยกรอง ประพันธ์โดยครูผู้แต่งกลอนลำ หมอลำใช้ลำเมื่อทำการแสดง ทำนองลำที่นิยมใช้มี 5 ทำนอง คือ ทำนองลำทางสั้น ทำนองลำทางยาว ทำนองลำเต้ย ทำนองลำเพลิน และทำนองลำเดิน (พงษ์ศักดิ์  ฐานสินพล ,  2526  อ้างจาก เจริญชัย  ชนไพโรจน์ 2526;  20-27)

หมอลำอีสาน

 หมอลำอีสาน

ภาคอีสานมีศิลปะการแสดงที่เรียกว่า หมอลำ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษอีสานที่ได้สร้างสรรค์ไว้ จนถึงลูกหลาน หมอลำ เป็นทั้งผู้ให้ความบันเทิง และเป็นทั้งครุโดยใช้กลอนลำเป็นสื่อในการให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านการเมือง ด้านสาธารณสุข ฯลฯ และคนดูสามารถเลือกที่จะดูหมอลำได้หลายประเภทอีกด้วย เช่น กลุ่มวัยรุ่นชอบดูหมอลำซิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่  40-80  ปี ชอบดูหมอลำกลอน กลุ่มบุคคลทั่วไปชอบดูลำเรื่องต่อกลอน เป็นต้น ซึ่งหมอลำได้เอื้อความบันเทิงให้กับคนดูได้หลายรูปแบบ จึงทำให้หมอลำยั่งยืนสืบต่อมาจนถึงวันนี้ได้ นอกจากการแสดงเพื่อให้ความบันเทิงแล้วในด้านความเจ็บป่วย หมอลำก็มีบทบาทไปช่วยบำบัดรักษาอีกด้วย เช่น หมอลำผีฟ้า เป็นต้น

วัฒนธรรมอีสาน

 

วัฒนธรรมอีสาน

1.3.1    ความหมายของวัฒนธรรม

                   อัมพร  สุคันธวนิช  และศรีรัฐ โกวงศ์ (2555)  ได้กล่าวว่า วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีพจนทำให้กลุ่มคนในสังคมยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งหากสังคมใดสังคมหนึ่งยอมรับและนำไปใช้แล้วก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้นไป

                   วิศาล  ศรีมหาวโร (2556) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรม หมายถึง การดำเนินชีวิตของกลุ่มคนที่มีแบบแผน มีการถ่ายทอดเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนในสังคมเดียวกันผ่าน ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางสังคมจากคนกลุ่มหนึ่งไปยังอีกลุ่มอย่างไม่ขาดสาย

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน