17 มิถุนายน 2564

วัฒนธรรมอีสาน

 

วัฒนธรรมอีสาน

1.3.1    ความหมายของวัฒนธรรม

                   อัมพร  สุคันธวนิช  และศรีรัฐ โกวงศ์ (2555)  ได้กล่าวว่า วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีพจนทำให้กลุ่มคนในสังคมยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งหากสังคมใดสังคมหนึ่งยอมรับและนำไปใช้แล้วก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้นไป

                   วิศาล  ศรีมหาวโร (2556) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรม หมายถึง การดำเนินชีวิตของกลุ่มคนที่มีแบบแผน มีการถ่ายทอดเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนในสังคมเดียวกันผ่าน ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางสังคมจากคนกลุ่มหนึ่งไปยังอีกลุ่มอย่างไม่ขาดสาย

สังคมอีสาน

 สังคมอีสาน

          สังคม คือ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้เข้าใจเรื่องของสังคมมากยิ่งขึ้นผู้วิจัยขอนำเสนอ ความหมาย ลักษณะองค์ประกอบของสังคม เพื่อจะได้เข้าใจสังคมในภาพรวมของสากล และสังคมเฉพาะถิ่นอีสาน พอสังเขปดังนี้

1.2.1    ความหมายของสังคม

                             ปรีชา คุวินทร์พันธุ์  (2553)  ได้สรุปความหมายของสังคมไว้หลายมุมมองดังนี้

                              สังคม คือ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มในที่แห่งเดียวกันเป็นเวลายาวนานมีการสร้างกติกาขึ้นมาใช้ร่วมกันจนกลายเป็นวัฒนธรรมจนทำให้สังคมอยู่กันอย่างสงบสุข

ภาคอีสาน

 ภาคอีสาน

                   คำว่า อีสาน ตามพจนานุกรม ปี พ.. 2525 มีความหมายว่า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาสันสกฤต อ่านว่า อีศาน มีความหมายว่า พระศิวะ หรือพระรุทระ (ราชบัณฑิตยสถาน,  2525)

                   ภาคอีสานในปัจจุบันประกอบด้วย  20  จังหวัด สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้เป็น 1) กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ และขอนแก่น 2) อีสานกลาง ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และชัยภูมิ 3) อีสานใต้ ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ซึ่งพื้นที่ในภาคอีสานมีทั้งหมด 170,218 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย มีประชากร 21,775,407 คน ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ของภาคอีสาน รวมถึงมีประชากรที่มากที่สุดในประเทศไทยจึงส่งผลให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานมีหลายกลุ่มวัฒนธรรมด้วยกันที่อีสานมีหลายกลุ่มวัฒนธรรม  อาจเป็นเพราะว่าบางส่วนเกิดจากลักษณะภูมิศาสตร์ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ทิศตะวันออกและทิศเหนือติดแม่น้ำโขง ทิศใต้ติดประเทศกัมพูชา และทิศตะวันตกติดกับภาคกลาง เป็นต้น (สุจิตต์ วงศ์เทศ,  2543; สุวิทย์   ธีรศาสนวัต,  2557)

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน