16 สิงหาคม 2562

การวิเคราะห์วรรณกรรมลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น

การวิเคราะห์วรรณกรรมลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น 

บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย 

 

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์บทลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ด้านฉันทลักษณ์ศิลปะการเลือกใช้ภาษา 2) วิเคราะห์บทลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ด้านสังคมวิทยาและคติชนวิทยา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแปลความ การตีความ ใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย คือ หมอลำอร่าม มุงคำภา โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านฉันทลักษณ์ใช้ฉันทลักษณ์โคลงสารส่งสัมผัสแบบร่ายมักประพันธ์ด้วยบทโทเป็นบทนำก่อน แล้วจึงตามด้วยบทเอก 2) ด้านศิลปะการเลือกใช้ภาษา มีการเลือกใช้ภาษาในการสร้างภาพพจน์แบบวิธีอุปมา วิธีอุปลักษณ์ และวิธีอติพจน์ ส่วนการใช้รสทางภาษานิยมใช้ สัลลาปังคพิไสย และ 3) ด้านคติชนวิทยาที่เกี่ยวกับคนอีสานนั้น ส่วนใหญ่มีค่านิยมเคร่งครัดในการครองเรือนโดยผู้หญิงต้องครองเรือนตามเฮือนสามนํ้าสี่ ส่วนด้านความเชื่อของคนอีสานมักเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาเรื่องบุญ กรรม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาประเพณีที่ปฏิบัติ คือ ฮีตสิบสอง

     A study was 1) undertaken to analyze the lyrics of a stanza from “Mowlum Raung Tor Glon” a Northeast Thai Musical. 2) The analysis was conducted using the Khon Kaen style in tandem with poetry from the story of “Parinyamailaugngaan” (The graduate who never denies jobs). The analysis considered poem forms, language selection, sociological content and folklore. Qualitative research was used, and intensive interviews were conducted. A meticulous analysis of the data, careful translation and a thoughtful interpretation of poems was undertaken. A triangulation test and descriptive analysis were used. The researcher found 1) The poetic form used was the “Klongsaan” form; beginning with the secondary verse and followed by the main verse 2) The art of word selection was employed using metaphors and the maxim to stimulate the imagination. The theme of the story was tragic. 3) The folklore presentations in the poetry included a strict belief in the teachings of Buddha, the traditional house hold, karma, the traditional twelve months and the occupation credo. This article would be of value to persons who wish to write their own mawlum poetry in order to produce their personalized troop of mawlum for school performances.

คำสำคัญ

การจัดการความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านลำเรื่องต่อกลอน คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์

การจัดการความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านลำเรื่องต่อกลอน คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์

โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย,  สำเร็จ คำโมง,  ยาใจ พงษ์บริบูรณ์


บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านลำเรื่องต่อกลอนคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความ การตีความ ใช้เทคนิคตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่า หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์มีเป้าหมายยังคงรักษาการลำเรื่องต่อกลอนโดยเฉพาะการลำทำนองลำพื้นที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะหมอลำเอาไว้ ถึงแม้ในปัจจุบันผู้ชมจะร้องขอให้คณะหมอลำนำเสนอเพลงลูกทุ่งหมอลำในช่วงการแสดงลำเรื่องมากขึ้นก็ตาม

          การจัดการความรู้ศิลปะการแสดงลำเรื่องต่อกลอนของคณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ พบว่า การแสดงลำเรื่องต่อกลอนได้มีการพัฒนาลำดับการแสดงในระหว่างตอน และฉากย่อย จนเป็นรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน และได้นำเทคโนโลยีด้านดนตรี ฉาก เครื่องประดับ และเสื้อผ้า เข้ามาปรับใช้ในแสดงลำเรื่องต่อกลอนจนเป็นความรู้ฝังลึกและนำไปสู่ความรู้ชัดแจ้ง โดยการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรลงสมุด ในการแสดงลำเรื่องต่อกลอนนั้น ผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ในการแสดงหลายปี จนเกิดความรู้ฝังลึกในตัวบุคคลสามารถสวมบทบาทการแสดงตามเรื่องที่ประพันธ์ขึ้นได้อย่างเชี่ยวชาญ ปัญหาที่ยากต่อการจัดการความรู้คือ เมื่อมีผู้แสดงหมอลำบางคนออกจากคณะหมอลำไปแล้ว ผู้แสดงเหล่านี้ได้นำความรู้ฝังลึกติดตัวออกไปด้วยทำให้หัวหน้าคณะหมอลำต้องสรรหานักแสดงหมอลำใหม่อยู่เสมอ ซึ่งทางคณะหมอลำยังไม่สามารถจัดการความรู้เรื่องพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิดของผู้แสดงหมอลำให้สามารถนำออกมาใช้ทดแทนกันได้ หัวหน้าคณะจึงมีวิธีบริหารจัดการโดย ปรับเรื่องราวการแสดงให้สอดคล้องกับผู้แสดงที่มีประสบการณ์เป็นหลัก

          บทความนี้มีประโยชน์ต่อผู้สนใจในการจัดทำการแสดงลำเรื่องต่อกลอนเป็นอย่างมาก สามารถนำรูปลำดับขั้นตอนการแสดงในระหว่างตอน และฉากย่อย ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาได้ รวมทั้งเหมาะสำหรับ ครู อาจารย์ที่สอนศิลปะการแสดงลำเรื่องต่อกลอนด้วย

คำสำคัญ

ดูบทความฉบับสมบูรณ์
 https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/199423/139163
แหล่งตีพิมพ์
https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/199423
https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/issue/view/14687

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน