บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านลำเรื่องต่อกลอนคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์
ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความ การตีความ ใช้เทคนิคตรวจสอบแบบสามเส้า
และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่า
หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์มีเป้าหมายยังคงรักษาการลำเรื่องต่อกลอนโดยเฉพาะการลำทำนองลำพื้นที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะหมอลำเอาไว้
ถึงแม้ในปัจจุบันผู้ชมจะร้องขอให้คณะหมอลำนำเสนอเพลงลูกทุ่งหมอลำในช่วงการแสดงลำเรื่องมากขึ้นก็ตาม
การจัดการความรู้ศิลปะการแสดงลำเรื่องต่อกลอนของคณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์
พบว่า การแสดงลำเรื่องต่อกลอนได้มีการพัฒนาลำดับการแสดงในระหว่างตอน
และฉากย่อย จนเป็นรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน และได้นำเทคโนโลยีด้านดนตรี ฉาก
เครื่องประดับ และเสื้อผ้า
เข้ามาปรับใช้ในแสดงลำเรื่องต่อกลอนจนเป็นความรู้ฝังลึกและนำไปสู่ความรู้ชัดแจ้ง
โดยการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรลงสมุด ในการแสดงลำเรื่องต่อกลอนนั้น
ผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ในการแสดงหลายปี
จนเกิดความรู้ฝังลึกในตัวบุคคลสามารถสวมบทบาทการแสดงตามเรื่องที่ประพันธ์ขึ้นได้อย่างเชี่ยวชาญ
ปัญหาที่ยากต่อการจัดการความรู้คือ
เมื่อมีผู้แสดงหมอลำบางคนออกจากคณะหมอลำไปแล้ว
ผู้แสดงเหล่านี้ได้นำความรู้ฝังลึกติดตัวออกไปด้วยทำให้หัวหน้าคณะหมอลำต้องสรรหานักแสดงหมอลำใหม่อยู่เสมอ
ซึ่งทางคณะหมอลำยังไม่สามารถจัดการความรู้เรื่องพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิดของผู้แสดงหมอลำให้สามารถนำออกมาใช้ทดแทนกันได้
หัวหน้าคณะจึงมีวิธีบริหารจัดการโดย
ปรับเรื่องราวการแสดงให้สอดคล้องกับผู้แสดงที่มีประสบการณ์เป็นหลัก
บทความนี้มีประโยชน์ต่อผู้สนใจในการจัดทำการแสดงลำเรื่องต่อกลอนเป็นอย่างมาก สามารถนำรูปลำดับขั้นตอนการแสดงในระหว่างตอน และฉากย่อย ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาได้ รวมทั้งเหมาะสำหรับ ครู อาจารย์ที่สอนศิลปะการแสดงลำเรื่องต่อกลอนด้วย
คำสำคัญ
การจัดการความรู้,
ลำเรื่องต่อกลอน,
การแสดงลำเรื่องต่อกลอน,
คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์
ดูบทความฉบับสมบูรณ์
https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/199423/139163
https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/199423
https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/issue/view/14687
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น