05 กันยายน 2562

การวิเคราะห์ภาพสะท้อนในกลอนลำของหมอลำราตรี ศรีวิไล ที่สอดคล้องกับ ทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ สารัตถะสำคัญของบทประพันธ์: บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย


การวิเคราะห์ภาพสะท้อนในกลอนลำของหมอลำราตรี ศรีวิไล ที่สอดคล้องกับ
ทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ สารัตถะสำคัญของบทประพันธ์

เรียบเรียงโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย


          สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงามในเชิงทฤษฎี อันเกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์ นับว่าเป็นแขนงหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา ทฤษฎีแห่งความงาม(Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of Taste) แต่ในปัจจุบันนี้สุนทรียศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่า (Axiology) หรือปรัชญาบริสุทธิ์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงาม สิ่งที่งาม ทั้งในศิลปะและธรรมชาติ รวมทั้งรสนิยม โดยศึกษาถึงบ่อเกิดของความงาม และมาตรฐานแห่งคุณค่าในการตัดสินเกี่ยวกับศิลปะ นับได้ว่าสุนทรียศาสตร์เป็นวิชาอิสระ ที่ทาหน้าที่ศึกษาเกี่ยวกับผลงานด้านศิลปะแขนงต่างๆ กระบวนการในการคิดสร้างสรรค์และการชื่นชมในศิลปะ ตลอดถึงแง่มุมต่าง ของธรรมชาติ รวมทั้งการกระทาของมนุษย์ ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบข่ายของธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ถือได้ว่างาม หรือน่าเกลียดอันเกี่ยวกับรูปแบบ และคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ ผู้เขียนจะขอแบ่งเนื้อหาออกเป็นประเด็นเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ดังนี้
1. การเกิดทฤษฏีสุนทรียศาสตร์
2. นักคิดทฤษฏีสุนทรียศาสตร์
3. เนื้อหาทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ สารัตถะสำคัญของบทประพันธ์
4. การประยุกต์ใช้ทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ที่สอดคล้องกับกลอนลำ

1. การเกิดทฤษฏีสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์สมัยโบราณ มีความหมายว่า การพูดในที่ชุมชน (Public speaking) หรือ วาทศาสตร์ (Rhetoric) ต่อมานามาใช้ในความหมายว่า บทกวีนิพนธ์ และต่อมาใช้ในความหมายว่า ศิลปะแต่คงมีความหมายเกี่ยวกับการประพันธ์ ดังคากล่าวว่า Utpicrurapoesis หมายความว่า ภาพเขียนก็คล้ายกับ บทกวีนิพนธ์ภาพเขียนย่อมเล่าเรื่องแสดงถึงคุณธรรม และแสดงออกถึงความเชื่อ เป็นต้น สุนทรียศาสตร์ในลักษณะที่เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบันนี้ เพิ่งจะยอมรับกันเมื่อไม่นานมานี้เอง หรืออีกประการหนึ่งเรียกว่า วิทยาศาสตร์ของเยอรมัน (The German Science) เนื่องจากตลอดระยะสองศตวรรษที่ผ่านมา ได้มีผลงานทางด้านสุนทรียศาสตร์มากกว่างานของประเทศอื่นๆ โดยมีทั้งความเรียง วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และบทความที่เกี่ยวข้องมากมาย เดิมปราชญ์ของประเทศอื่นไม่มีใครกล่าวถึงความงาม (Beauty) แต่ประการใด สุนทรียศาสตร์เริ่มมีความหมายแบบสมัยใหม่ ในลักษณะเป็นสาขาทางปรัชญา เริ่มจากผลงานเรื่อง The Aesthetica ของเบาว์มการ์เทน (Alexander Glotieb Baumgarten) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค..175 ซันตายานา กล่าวว่า การที่สุนทรียศาสตร์ได้รับความสนใจน้อย ไม่ใช่เพราะวิชาสุนทรียศาสตร์ไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะมนุษย์ขาดแรงจูงใจที่จะเก็บความจริง และใช้ความพยายามน้อยไปที่จะทำการศึกษา ความสำเร็จจึงน้อยไปด้วย
วิธีค้นหาความหมายของความงาม นักสุนทรียศาสตร์มี 2 วิธี คือ ประการแรก นักสุนทรียศาสตร์ อาจจะพยายามค้นหาคุณสมบัติของวัตถุที่เรียกกันว่า มีความงามก่อน แล้วก็ทำการวิเคราะห์ว่า ความงามนั้นมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติอื่น ๆ ของวัตถุอย่างไรหรือไม่ อีกประการหนึ่งก็คือ เขาอาจจะพยายามค้นหาสามัญลักษณะ หรือประสบการณ์อันเป็นบรรทัดฐานของการตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ให้ได้ก่อน แล้วแยกแยะประสบการณ์ทางสุนทรียะนั้นออกให้เห็นว่า แตกต่างจากประสบการณ์ด้านอื่นอย่างไรบ้าง ดังนั้น วิธีการของสุนทรียศาสตร์จึงเป็นทั้งวัตถุวิสัยและจิตวิสัย
แม้ว่าสุนทรียศาสตร์จะเป็นการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงามก็ตามแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สุนทรียศาสตร์มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ผู้ศึกษากลายเป็นจิตรกร หรือศิลปินชั้นนำ หรือว่ากลายเป็นผู้เอาใจใส่ในเรื่องศิลปะพิเศษกว่า ความจริงแล้ว การสร้างศิลปะและความสนใจในศิลปะนั้น เป็นพรสวรรค์เฉพาะตัว และเป็นความชำนาญอันเกิดจากการได้เคยคิดเคยทำ สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในเรื่องศิลปะ เพราะถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เสียแล้ว ถึงจะศึกษาทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์มากสักเพียงไรก็ตาม ก็ไม่อาจจะทำให้กลายเป็นศิลปินชั้นดี หรือเป็นผู้ที่มีความสนใจในศิลปะอย่างแท้จริงได้เลย แต่ถ้ามีสิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวแล้ว ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้การสร้างสรรค์ศิลปะหรือความสนใจในศิลปะของเราดีขึ้นไม่มากก็น้อย
สาระสำคัญของสุนทรียศาสตร์คือ ความคิดเรื่องความงาม (Concept of beauty) ฉะนั้น ปัญหาต่างๆ ของสุนทรียศาสตร์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความคิดเรื่องความงาม เช่น ประสบการณ์ทางสุนทรียะมีลักษณะอย่างไร ตำแหน่งของความงามอยู่ที่ไหน เป็นวัตถุหรือจิตวิสัย ทฤษฎีศิลปะคืออะไร ความน่าเกลียดคืออะไร ทำไมเราจึงสนุกเพลิดเพลินกับเรื่องโศก ๆ อะไรเป็นสาเหตุของความขบขัน ศิลปะสัมพันธ์กับศีลธรรม ความจริงและศาสนา อย่างไรหรือไม่ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เราจะได้นามาพิจารณากันในลำดับต่อไป
โดยสรุป สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) มาจากคำศัพท์ว่า สุนทรียะ + ศาสตร์ สุนทรียะแปลว่า ดี, งาม ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า Aesthetics แปลว่า รู้ด้วยผัสสะ (To perceive) โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Aesthetics ซึ่งหมายถึง วิชาว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าปรัชญาบริสุทธิ์ อันว่าด้วยความงาม และมาตรฐานแห่งคุณค่าในการตัดสินเกี่ยวกับความงาม ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ คือ ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศิลปวิจารณ์, ทฤษฎีศิลปะ, จิตวิทยาศิลปะ, สังคมวิทยาศิลปะ, ปรัชญาศิลปะ

1.1 ประวัติสุนทรียศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ตะวันตก เกิดที่ใดไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนใครเป็นคนแรกที่กล่าวถึงปัญหาของศิลปะในเชิงปรัชญาไม่อาจรู้ได้ แต่ปรัชญาศิลปะที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเริ่มต้นที่เพลโต (Plato) และความคิดที่สุกงอมของเพลโต เกิดมาจากเมล็ดพันธุ์ความคิดก่อนหน้านั้นประมาณ 200 ปี ซึ่งเป็นความคิดที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน และคาดเดาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อียิปต์โบราณในยุครุ่งเรือง มีการสร้างผลงานศิลปะไว้มากมาย แต่เป็นการยากที่เราจะจินตนาการว่า อียิปต์มีทัศนะทางสุนทรียะต่อผลงานศิลปะ เห็นได้จากการค้นคว้าของ อี.เบลดวิน สมิท (E. Baldwin Smith) ผู้เขียนเรื่องราวของอียิปต์ระดับชั้นนำผู้หนึ่งที่ว่า หลักฐานของชาวอียิปต์ที่มีอยู่ แสดงความสนใจของชาวอียิปต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในแรงจูงใจทางสุนทรียะที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ประติมากรรม และจิตรกรรมนานๆ ครั้งจะเปิดโอกาสให้คนดู ผลงานส่วนใหญ่จัดวางไว้ในที่มืดของสุสาน สถาปัตยกรรมได้รับการสรรเสริญให้อยู่ในระดับสูงและจากคาสรรเสริญ ซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยในคำจารึกทั้งหมด ไม่เคยพูดถึงความงามของสถาปัตยกรรมเลย แต่เป็นการพูดถึงความเข้มแข็ง ความยืนยง ความร่ารวย และความฟุ้งเฟ้อเชิงวัตถุของสถาปัตยกรรม ชาวอียิปต์ ไม่ได้แยกทัศนะอย่างชัดเจนจากทัศนะทางศาสนาและการปกครอง ปัญหาทางศิลปะและความงามไม่ได้เป็นปัญหาพิเศษเฉพาะออกไปจากปัญหาอื่นๆ อาจเป็นเพราะว่าอียิปต์ไม่มีนักปรัชญา และปรัชญาไม่ได้แยกออกจากศาสนา ดังนั้นจะกล่าวได้ว่า ในยุคอียิปต์รุ่งเรืองไม่มีสิ่งใดเลยที่เรียกว่า ปรัชญาศิลปะ
จุดเริ่มต้นของสุนทรียศาสตร์ น่าจะอยู่ที่ประเทศกรีก ซึ่งมีการกล่าวถึงชัดเจนกว่า แต่ยังไม่นับว่าเป็นการพูดอย่างปรัชญา ประโยคที่น่าจะคาดได้ว่าเป็นประโยคแรกของการแสดงทรรศนะทางปรัชญาศิลปะ คือ ประโยคที่ปรากฏในมหากาพย์ที่ชื่อว่า อีเลียด (Iliad) ของโอเมอร์ (Homer) กวีเอกและเก่าแก่ที่สุดของโลกตะวันตก ดังคำกล่าวของ โบซาน เคว็ท (Bosan quet) นักประวัติศาสตร์สุนทรียศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่า (เขียนใน History of Aesthetic, 1892, 1975) การตัดสินทางสุนทรียะอันแรกสุดน่าจะอยู่ในวรรณคดีของตะวันตก จากประโยคที่พูดโดยนักพูดแบบโฮเมอร์ (Homer) ถึงโล่ของ อคิลลิส (Achilles) ว่า พื้นดินดูมืด เบื้องหลังคันไถและดูเหมือนถูกไถแล้ว ถึงแม้จะทาด้วยทอง แต่มันช่างเป็นผลงานที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
ประโยคที่ว่า มันช่างเป็นผลงานที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง(แสดงการทึ่งในความเหมือน) คือการเกิดคำถามทางสุนทรียศาสตร์แน่นอน ดังนั้น จุดเริ่มต้นของสุนทรียศาสตร์ได้เกิดขึ้นที่นี่แล้ว มันได้แสดงปัญหาสำคัญทางสุนทรียศาสตร์ ในเวลาต่อมา นั่นคือปัญหาเรื่องการเลียนแบบ (Mimesis) ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ (Appearance) และพาร์เมนิเดส (Parmenides)
แนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ในอีกมุมมองหนึ่ง น่าจะเกิดจากการยกย่องความยิ่งใหญ่ของกวีเอกโฮเมอร์ และเอซิออด (Hesiod) และการเกิดขึ้นของปรัชญาธรรมชาติในขณะนั้น เป็นปัญหาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับความจริง (Art and Truth) ในยุคนั้นคนกรีกยังคง ยกย่องนับถือโฮเมอร์และเอซิออดต่อเนื่องเป็นเวลานานหลังการเสียชีวิตของกวีเอกทั้งสอง ทั้งนี้เพราะพวกเขาเชื่อว่า กวีเอกทั้งสองเป็นเหมือนเทพพยากรณ์ที่กล่าวด้วยภาษาอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ผลงานของกวีเอกทั้งสองเป็นทั้งประวัติศาสตร์ และเป็นทั้งเครื่องมือใช้สั่งสอนศีลธรรม ทั้งยังมีคุณค่าทางศาสนา ประกอบกับการพยายามค้นหาความจริงของโลกของพวกปรัชญา
ธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณศตวรรษที่ 6-7 ก่อนศริสต์ศักราช จึงทาให้เกิดการอ้างว่า กวีโบราณได้เปิดเผยความจริงอันลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังสรรพสิ่งทั้งหลายโดยใช้สัญลักษณ์และคาเปรียบเทียบ ดังตัวอย่างการแปลความหมายตัวละครในผลงานอีเลียดของ เมโทรดออัส (Metodorus) ดังนี้
อมาเกนอน คือ อากาศ
อคิลลิส คือ ดวงอาทิตย์
เฮเลน คือ พื้นดิน
ดีเมเทอร์ คือ แม่น้า
แนวคิดสุนทรียศาสตร์ที่เป็นประเด็นที่เติบโตในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช คือ เรื่องธรรมชาติ และต้นกำเนิดในพลังสร้างสรรค์ของศิลปิน เทพหรือสิ่งเหนือธรรมชาติถูกมองว่ามีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับผลงานศิลปะในความเชื่อของนักคิดกรีกหลายคน จากความสนใจในต้นกำเนิด และระเบียบของโลกโฮเมอร์และเฮซิออด ได้ถูกนำมาพัฒนาในคำสั่งสอนของศาสนากรีก (เช่น Orphism) ได้เปรียบเทียบศิลปินว่าเป็นนักสร้างสรรค์อย่างเทพ (Devine Creter)
ส่วนเทววิทยาของกรีก สอนว่า กวีนิพนธ์และดนตรีถูกสร้างขึ้นโดยเทพเพื่อความบันเทิงของเหล่าเทพเอง
ดีโมคลิตุส (Democritus) กล่าวว่า จากการที่โฮเมอร์มีธรรมชาติของเทพอยู่ ทาให้ โฮเมอร์สร้างโลกด้วยเรื่องราวอันหลายหลาย
พาร์เมนิเดส (Parmenides) เขียนในบทกวีของเขาว่า ปรัชญาของเขาเปิดเผยแก่เขาโดยเทพเจ้า
ส่วน พินดาร์ (Pindar) เชื่อว่าทักษะสามารถฝึกฝนด้วยตัวศิลปินเอง แต่พรสวรรค์หรือแรงดลใจของศิลปินเป็นของขวัญจากเทพ
แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์สุดท้าย คือ ทฤษฎีทางดนตรีและผลกระทบทางศีลธรรมดนตรี เป็นปัญหาที่เกิดจากความคิดของนักปรัชญาปิทากอรัส (Pythagoras) และสานุศิษย์ ผู้ซึ่งอธิบายระเบียบของโลกแห่งสสารด้วยคณิตศาสตร์ หลังการทดลอง ปิทากอรัส ค้นพบ
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลวดที่ตึงกับระยะห่าง (Pitch) ของความสั่นสะเทือน หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วน (vibration) หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วน (Ratios) ของความยาวกับช่วงการหยุด (Intravals) เป็นการนาไปสู่การค้นพบความสำคัญของจานวนในธรรมชาติ และในดนตรีและต่อมาถูกนำมาพัฒนาในเรื่องผลกระทบของดนตรีต่อการเสริมสร้าง หรือทำลายความกลมกลืนของวิญญาณในแต่ละบุคคลได้ หรือตามความคิดของอริสโตเซนัส (Aristoxenus) ที่ว่าดนตรีชาระจิตใจได้เหมือนยารักษาร่างกาย ความคิดของปิทากอรัสในเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อเพลโตอย่างแน่นอน แต่ความสุกงอมทางความคิดของเพลโต ได้รับการส่งเสริมจากความคิดในระดับการวิจารณ์ของพวกศิลปิน และนักทฤษฎีศิลปะในช่วงนั้น เช่น ความคิดของดามอนแห่งเอเธนส์ (Damon of Athens – ศตวรรษที่ 5 ก่อน ศริสต์ศักราช) ที่ว่าจังหวะและทานองบางประเภทสามารถเลียนแบบอุปนิสัย และแบบแผนของชีวิตได้ หรือความคิดของศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะแขนงต่าง อีกจำนวนหนึ่ง (Laius, Lophocles, Aristophanes)
.. 1790 เบาว์การ์เทน (Baumgaten) คือ ผู้ตั้งชื่อสุนทรียศาสตร์ว่า เอสเธทิกซ์(Aesthetics) สุนทรียศาสตร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นวิชาสาขาพิเศษในวิชาปรัชญา และเริ่มใช้ชื่อว่าสุนทรียศาสตร์ช้าไปบ้าง สุนทรียศาสตร์เป็นคำที่ใช้ครั้งแรกในหนังสือของเบาว์มการ์เทน ชื่อสะท้อนของ กวีนิพนธ์ (Reflection on Poetry) เมื่อ ค.. 1735 เบาว์มการ์เทน เป็นนักปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยมของเดสการ์ตส์ บิดาของปรัชญาสมัยใหม่ชาวฝรั่งเศสและของไลบ์นิซ นักปรัชญาคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ทั้งเดสการ์ตส์และไลบ์นิซไม่สนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ ทั้งสองให้ความสนใจการอธิบายเรื่องมโนภาพที่ชัดเจน และแจ่มแจ้ง ซึ่งหมายถึงความคิดที่เป็นระบบ เช่น ในตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ข้อจำกัดนี้ เบาว์มการ์เทน เห็นว่าเป็นการจำกัดการรับรู้ที่ได้มีการพัฒนาอยู่ในกวีนิพนธ์และศิลปะอย่างอื่นด้วย ท่านเห็นว่า แนวคิดของเดสคาร์ต มีผลทำให้เกิดการละเลยอย่างมากในกวีนิพนธ์และงานศิลปะ คำว่า ชัดเจนตามทรรศนะของเดสคาร์ต หมายถึง สิ่งที่ชัดเจนต่อจิตใจโดยไม่ต้องอธิบายศัพท์ และบัญญัติทั้งหมดชัดเจน และแจ่มแจ้งในเรขาคณิต ในขณะที่สาขาวิชาอื่นยังไม่ชัดเจน และสับสนเพราะประสาทสัมผัส และการรับรู้ทางตรรกศาสตร์ ซึ่งเป็นการรับรู้ชนิดชัดเจนและแจ่มแจ้งก็ตาม การรับรู้ทางประสาทสัมผัสคือสิ่งที่ เบาว์มการ์เทน พบในบทกวีนิพนธ์ แล้วขยายไปสู่ศิลปะสาขาอื่น เมื่อเบาว์การ์เทนพิจารณาจากภาษากรีก ศัพท์สำหรับการกำหนดรู้ คือเอสเธซิส (Aisthesis) เบาว์มการ์เทนจึงเริ่มใช้คำว่า เอสเธทิกซ์ (Aesthetics) สำหรับศาสตร์ว่าด้วยการรับรู้ทางประสาทสัมผัส เบาว์มการ์เทน ได้อธิบายอย่างเป็นระบบ พร้อมยกตัวอย่างบทกวีนิพนธ์ภาษาละตินและภาษากรีก โดยอธิบายว่า บทกวีนิพนธ์มีความสมบูรณ์ทางประสาทสัมผัสมากเท่าไร บทกวีนิพนธ์ก็ยิ่งสมบูรณ์มากเท่านั้น คำว่า เอสเททิกซ์ ของเบาว์มการ์เทน จึงเป็นส่วนหนึ่งของศัพท์ปรัชญาตั้งแต่นั้นมา
เหตุที่เบาว์มการ์เทนใช้ชื่อนี้ เพราะเขาเชื่อว่า เราจะรับรู้เรื่องราวความงามโดยผ่านผัสสะเท่านั้น ที่จริงแล้ว เขาได้รับแนวคิดนี้มาจาก Chritian Wolff และ Wolff เองได้รับแนวคิดนี้มาจาก Spinoza อีกต่อหนึ่ง ตามความเห็นของ สปิโนซา (Spinoza) นั้น เขาได้แบ่งความสามารถในการรับรู้ออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. การรับรู้โดยผ่านการใช้เหตุผล หรือสติปัญญา
2. การรับรู้โดยผ่านกระบวนการผัสสะ
สำหรับเรื่องของความงาม เขาถือว่าเป็นสิ่งที่รับรู้ และรู้ได้โดยผัสสะ เช่น การเห็นหรือการได้ยิน ไม่สามารถรับรู้โดยใช้ปัญญาหรือเหตุผล  แต่ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่า อาศัยเพียงผัสสะอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้รู้จักความงามได้ ผัสสะทำหน้าที่รับส่งภาพไปสู่จิต มันเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการรับรู้จักความงาม แต่ไม่ใช่ปัจจัยหนึ่งเดียว เพราะถ้าอาศัยเพียงผัสสะโดยปราศจากจิตและปัญญาแล้ว เราจะไม่สามารถรู้จักและชื่นชมความงามที่เราสัมผัสนั้นได้นับตั้งแต่ คริสตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จุดสนใจของสุนทรียศาสตร์ไม่ได้อยู่ที่ความงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบเขตออกไปถึงรูปศัพท์ดังต่อไปนี้
Sublimity (ความน่าทึ่ง สูงส่ง ประเสริฐ บริสุทธิ์ เลิศลอย) ศัพท์คำนี้ใช้ในเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ชักจูง กำลังความสามารถอันหยาบหรือป่าเถื่อน ให้มาสู่การกระทำที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่สังคม หรือให้อยู่ในสภาพที่สูงขึ้น ทั้งทางวัฒนธรรม และศีลธรรม Novelty (ความแปลกใหม่) Gracefulness (ความนิ่มนวล มีเสน่ห์) Ugliness (ความน่าเกลียด)
ดังนั้น ความหมายของสุนทรียศาสตร์ ที่เป็นไปตามรากศัพท์ของ Aesthetic ดังที่ บาว์การ์เทน ได้เริ่มไว้จึงไม่เหมาะสมกับเนื้อหาและแนวทางของศาสตร์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม ในปีค.. 1820 เฮเกล (Hegal) เป็นผู้ริเริ่มใช้คาว่า Aesthetics ในหนังสือ Aesthetik ในความหมายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
          สุนทรียศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งในวิชาปรัชญาที่ว่าด้วยความงาม และสิ่งที่งามในศิลปะทั้งยังเกี่ยวกับรสนิยม และมาตรฐานแห่งคุณค่าในการตัดสินงานศิลปะ รวมทั้งยังเป็นทฤษฎีและทัศนคติที่ตรงกันข้ามในเรื่องต่างๆ คำว่าสุนทรียศาสตร์ที่ บาว์มการ์เดน นำมาใช้เป็นครั้งแรกในประมาณ ค..1750 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงนัยแห่งความหมายของศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ทางประสาทสัมผัส ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความจริง (Truth) ค้านท์ (Immanuel Kant) ใช้คาศัพท์ว่า Aesthetics ในความหมายอื่น เพื่อแสดงความหมายหลักเบื้องต้น ซึ่งมีอยู่ก่อนของประสบการณ์ทางผัสสะในปี ค.. 1820 ขณะที่เฮเกล (Hegel) ได้บัญญัติคำขึ้นใช้ตามความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในผลงานเกี่ยวกับศิลปะของเขามีชื่อนำหน้าว่า ปรากฏการณ์ของจิต (Phinomena nology of the Spirit)
ปัจจุบันวิชาสุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาหนึ่งที่เป็นอิสระ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับงานศิลปะต่างๆ (ศิลปกรรมต่างๆ) กระบวนการแห่งการผลิต และการมีประสบการณ์ศิลปะลักษณะเฉพาะต่างๆ ของธรรมชาติและผลิตผลของมนุษย์ภายนอกขอบข่ายของศิลปะ โดยเฉพาะลักษณะต่างๆ ซึ่งอาจยกมาพิจารณากันได้ว่า สวยงามหรือน่าเกลียด โดยการยอมรับต่อรูปแบบ และคุณภาพต่างๆ ทางประสาทสัมผัส (เช่น พระอาทิตย์ ดอกไม้ มนุษยชาติ เครื่องจักรกลต่างๆ) ในขณะเดียวกันสุนทรียศาสตร์ยังเกี่ยวกับความสนใจในความงาม คุณค่าแบบวิจิตร และมโนภาพตามบรรทัดฐานอื่นๆ เพื่อจะวางการย้ายในวิธีการเชิงพรรณนา และเป็นจริงต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ของศิลปะและประสบการณ์ทางสุนทรียะ มันก็แตกต่างไปจากประวัติศิลปะ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรม โดยการย้ายเอาหน่วยรวมทางทฤษฎีของวัตถุต่าง ๆ โดยอาศัยคาศัพท์ของแบบที่มีอยู่ และความโน้มเอียงต่างๆ มากกว่าประวัติเชิงพงศาวดาร หรือเชิง ก่อกำเนิดสุนทรียศาสตร์ ต่างจากจิตวิทยาทั่วไปในการรวมแง่ต่างๆ ที่เลือกสรรแล้ว พฤติกรรมจิตวิทยาและการแสดงนัยความหมายของมันต่อแบบแห่งอารมณ์และสถานการณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ และสถานการณ์แห่งศิลปะ สุนทรียศาสตร์สืบค้นหาแบบลักษณะเฉพาะต่างๆ ของศิลปะซึ่งจิตวิทยาไม่ทำ สุนทรียศาสตร์ต่างจากศิลปวิจารณ์ โดยการแสวงหาความเข้าใจศิลปะแบบทั่ว ไป และเป็นทฤษฎีมากกว่าเป็นปกติในจิตวิสัย และเป็นปกติในความพยายามในทัศนะคติในสภาวะวิสัย และมิใช่ตัวบุคคลมากกว่า สุนทรียศาสตร์ยืนยันถึงความชัดแจ้งทางปรัชญา ในการเปรียบเทียบตัวอย่างทั้งหลายของศิลปะทั้งหมด และในการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งข้อสมมุติฐานจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งปรัชญา จิตวิทยา ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและศาสตร์ต่าง ทางสังคม แต่มันก็แยกจากความคิดที่สืบทอดกันมาของปรัชญาในการเขียนที่ให้ชื่อว่า สุนทรียศาสตร์
ในบัดนี้ได้รวมเอาการศึกษาในด้านรายละเอียด และเป็นประจักษ์นิยมมาก ของปรากฏการณ์เฉพาะอย่าง แทนการจากัดตัวเองดังคำถกเถียงกันด้านนามธรรมในเรื่องความหมายของความงาม สิ่งประเสริฐ และธรรมชาติประเภทอื่นๆ คือธรรมชาติที่เป็นสภาวะวิสัย หรืออัตตะวิสัยของมัน หรือความสัมพันธ์ต่อความสนุกสนานและความดีทางศีลธรรม คือจุดประสงค์ของศิลปะ ธรรมชาติแห่งคุณค่าทางสุนทรียะ เป็นต้น ได้มีการอภิปรายในประเด็นว่า การศึกษาทางประจักษ์นิยม เป็น สุนทรียศาสตร์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่ง ชื่อนั้นสมควรจะถูกรักษาไว้สำหรับวิธีการแบบดั้งเดิม แบบวิภาษวิธี หรือแบบคาดคะเน แต่การใช้ก็อำนวยให้ยืดหยุ่นขยายในกรณีต่าง ๆ ถึงแม้ว่าการสืบค้นจะมีจุดมุ่งหมายไปที่การวางหลักการกว้างๆ
แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงกันมากในเรื่องของความงาม ซึ่งกำเนิดเป็นรูปร่างในประวัติศาสตร์ปรัชญามาจนกระทั่งปัจจุบัน ข้อถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ นั้น เชื่อมโยงผสมกันเป็นสายโซ่ในความคิด เริ่มแรกเกี่ยวกับญาณวิทยาและภววิทยา หรือคุณค่าทางสังคมและศีลธรรม หรือเกี่ยวกับเหตุผลทางตรรกะ เช่น เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ได้คิดประเด็นปัญหานี้ว่า ศิลปะสามารถกำหนดเป็นรูปร่างตัวตน และเป็นสื่อถ่ายทอดความรู้และความจริงได้หรือไม่ และทรรศนะของเพลโตที่ว่า ศิลปะนั้นไม่อาจกำหนดเป็นรูปร่างให้เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้และความจริงได้ เพราะศิลปะดำรงอยู่ห่างไกลจากความจริงมากนัก ทรรศนะนี้เอง ทำให้เขากีดกันรูปแบบต่างๆ ของศิลปะออกจากผลงานเรื่อง อุดมรัฐในอุดมคติของเขา และเพื่อมิให้ประชาชนจานวนมากต้องถูกชักจูงให้หันเหออกไปจากวิธีทางอันประเสริฐและถูกต้องคือปรัชญา
ในต้นศตวรรษที่ 18 มีนักปรัชญาประจักษนิยมจานวนมาก เช่น ฟรานซิสฮัสเชสัน และเดวิด ฮิวม์ เป็นต้น ได้พยายามคิดถึงมาตรฐาน และเหตุผลในการตัดสินรสนิยมและความงามขึ้น
อีกนัยหนึ่ง แรงกระตุ้นที่สำคัญในการคิดค้นคาสุนทรียศาสตร์ ในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญานอกจากจะปรากฏในผลงานเขียนของบาว์มการ์เดนแล้ว ก็ยังมีผลงานเขียนของเอ็มมานูเอลค้านท์ (Immanuel Kant : 17241804) ด้วย เพราะผลงานของท่านเหล่านี้ได้รับความคิดในจิตสานึกทางสุนทรียศาสตร์ เสมือนส่วนประกอบที่มีความหมายสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประสบการณ์ทั่วไปของมนุษย์ ตามทรรศนะของค้านท์ การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะไม่เหมือนกับการตัดสินคุณค่าทั้งทางทฤษฎี (ความรู้) และทางปฏิบัติ (ทางศีลธรรม) โดยเหตุที่ว่า การตัดสินทั้งสองอย่างนั้นเป็นผลแห่งการตัดสินแบบอัตวิสัย (Subjective) โดยสิ้นเชิงและเพียงด้านเดียว เพราะอ้างถึงตัวผู้กระทำเอง ในขณะเดียวกัน ค้านท์ ยังได้คัดค้านไว้ในเรื่อง The Critique Pure Reason (1981) และเรื่อง The Critique Practical Reason (1988) ซึ่งได้แสดงไว้แตกต่างกันทฤษฎีต่างๆ ทางสุนทรียศาสตร์ของค้านท์ เป็นผลสืบต่อความคิดเหตุผลในการเขียนงานของนักปรัชญาเยอรมันหลายท่านในระยะต่อมา ที่ได้เขียนขึ้นอย่างปราณีต และมีทรรศนะที่กว้างไกลออกไป เช่น งานเขียนของ เฟรดริค สเชลเลอร์,โชเป็น เฮาเออร์ และเฮเกล เป็นต้น นับเป็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของท่านเหล่านี้กับเงื่อนไขต่างๆ ทางอัตวิสัย (Subjective) ในความรู้สึกทางสุนทรียศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ บทบาทของ การจินตนาการที่นาไปสู่สัมพันธ์ภาพระหว่างสุนทรียศาสตร์กับปรัชญาจิต
ความโน้มเอียงต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ในสุนทรียศาสตร์ เป็นไปในลักษณะผลสะท้อนกลับในการปฏิบัติการร่วมสมัย โดยเฉพาะนักปรัชญาชาวอังกฤษ –อเมริกันจำนวนมาก ได้ดาเนินรอยตามนักปรัชญาประจักษุนิยม และยอมรับเหตุผลแห่งตรรกะ ในการกำหนดคุณค่าทางสุนทรียะ พร้อมกับการตัดสินคุณค่าทางการวิจารณ์ด้วย อนึ่งผลงานชั้นคลาสสิก เรื่องอะไรคือศิลปะ (What is Art?) ของ ตอลสตอย (Tolstoy) ก็ได้ปลุกให้นักคิดชาวตะวันออกแสดงจุดเด่นเป็นพิเศษ ในเรื่องคุณค่าของศิลปะทางศีลธรรมและทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันยังได้หันกลับไปหาความสัมพันธ์ระหว่างสุนทรียศาสตร์ กับปรัชญาจิตนิยมแบบค้านท์และหลังค้านท์ด้วย นั่นคือโดยสายแห่งการค้นคว้าวิจัยนี้ ก็ได้พบสิ่งดีเยี่ยมมาเป็นเวลานานพร้อมกับนักปรัชญา อัตถิภาวะ และปรัชญาปรากฏการณ์นิยม ด้วยความสนใจนี้ ได้ทุ่มเทให้เพื่อการสำรวจตรวจสอบผลงานต่างๆ โดยการจินตนาการพร้อม กับจิตไร้สานึกของ ซิกมันด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
สุนทรียศาสตร์ร่วมสมัย ได้มีการวิเคราะห์อันแข็งแกร่ง และงานวรรณกรรมอีกมากก็ได้ยึดเอารูปแบบของบทความ และเรื่องราวต่างๆ ที่มีเอกภาพอย่างแนบสนิท โดยสรุปแล้ว มีความคิดที่โน้มเอียงเพื่อทำให้ปรากฏเด่นชัด 2 ประเด็นคือ
1. โดยทางเทคนิค การวิเคราะห์สิ่งที่เป็นทฤษฎีศิลปะคือ ทฤษฎีศิลปะในฐานะที่เป็นรูปแบบหรือการแสดงหรือสัญลักษณ์ และทฤษฎีของนักจิตนิยมที่แสดงไว้ต้นๆ ศตวรรษโดย โครเช่ (Croshe) และ คอลลิงวูด (Callingwood)
2. การวิเคราะห์มโนภาพต่างๆ ในศิลปะ ก็คือมโนภาพในศิลปกรรมนั่นเอง รวมทั้งความหมาย ความมุ่งหมาย การแสดงตัวอย่างและภาพลวงตาในศิลปะด้วย
นักปรัชญาชาวอังกฤษปัจจุบันที่เห็นว่าสุนทรียศาสตร์ยังไม่พบสถานภาพที่จะมั่นใจได้ทั้งหมดสิ่งที่สุนทรียศาสตร์เป็นอยู่จริงๆ หรือควรจะเป็น เช่นว่า สุนทรียศาสตร์ต่างจากความน่าฉงนใจของศิลปวิจารณ์ และทฤษฎีจิตวิทยาในแง่หนึ่งหรือในแง่อื่นๆ อย่างไร นั่นคือ ตัวมันเองประกอบด้วยเรื่องราวของการสืบค้นความจริงด้วยวิธีการแห่งเหตุผล

1.2 ความสัมพันธ์ของสุนทรียศาสตร์การดำเนินชีวิต
เนื่องจากสุนทรียศาสตร์มีความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยมุ่งเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นประสบการณ์ทางสุนทรียะ อันจะช่วยให้เรารู้สึกเพลิดเพลินพึงพอใจเกิดเป็นความอิ่มเอิบใจโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น การไปเดินเล่น การไปชมนิทรรศการ ไปดูภาพยนตร์ ไปชมพูมิประเทศอันเป็นการสัมผัสกับธรรมชาติ การอ่านนวนิยาย หรือการฟังเพลง ฯลฯ ทั้งนี้แล้วแต่กรณีของบุคคลที่มีความรู้สึกชอบหรือทำสิ่งใด แล้วมีอารมณ์ของสุนทรียะเกิดขึ้นนั่นเอง เพราะคำว่าสุนทรียะนี้บางคนอาจชอบ ส่วนบางคนอาจไม่ชอบ เช่น การไปเดินป่า สาหรับบางคนแล้วอาจเห็นว่าเป็นเรื่องที่สนุกสนานได้สัมผัสกับธรรมชาติ ได้ออกกำลังกาย หรือมีความสุขกับการเดินทาง แต่สำหรับบางคนเห็นว่าอันตราย เหนื่อย และเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสู้เอาเวลาไปเดินเลือกซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าไม่ได้ ในกรณีนี้จะเห็นว่าแนวคิด และอารมณ์ของสุนทรียะของแต่ละบุคคลไม่ตรงกัน แต่อย่างไรก็ดีวัตถุทางสุนทรียะก็มีคุณค่า กล่าวคือความงามในตัวของมันเองไม่ว่าจะสนใจหรือก็ตาม ในที่นี้จะได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางสุนทรียศาสตร์ในด้านต่างๆ ดังนี้
ธรรมชาติ ได้สร้างมนุษย์ให้มีประสาทสัมผัสที่มีประสิทธิภาพมาก ทั้งตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ตามองเห็นภาพและสีสัน หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นสัมผัสรส และกายสัมผัส
สิ่งต่างๆ รวมทั้งความร้อนหนาวในระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป เมื่อสัมผัสสิ่งต่างๆ รวมทั้งความร้อนหนาวในระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไป เมื่อสัมผัสสิ่งต่างๆ เราจะเกิดความรู้สึกที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆ (Perception) ขึ้น รับรู้ว่า ภาพอะไร กลิ่นอะไร เสียงอะไร ฯลฯ ความรู้สึกที่ได้สัมผัสก่อให้เกิดการรับรู้และการตีความ การตีความซึ่งเป็นกระบวนการของสมอง และมีประสบการณ์ อารมณ์ ความคิด แรงจูงใจ เข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อเราฟังดนตรี เราได้ยินเสียงต่างๆ ผสมผสานกัน เรารับรู้ว่าเป็นเสียงดนตรีในระดับและลีลาของเสียงที่แตกต่างหลากหลาย ผสมผสานกันด้วยท่วงทำนองต่างๆ เรารับรู้พร้อมกับการตีความ สัมพันธ์กับการเรียนรู้ แรงจูงใจ ประสบการณ์ และอารมณ์ เราเคยได้ยินเสียงดนตรี มีความชื่นชอบ รับรู้ว่าเป็นเสียงที่สอดผสานกันจากเครื่องดนตรีต่างๆ ให้ความรู้สึกเพลิดเพลินและจินตนาการไปถึงสิ่ง
เราอาจแยกสุนทรียศาสตร์ออกเป็น 2 ด้านคือ สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา (Philosophical Aesthetics) และสุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Aesthetics) สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญาที่เน้นอารมณ์ความรู้สึก จินตนาการ สุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์เน้น เหตุผล ตรรกะ แบบแผน สองขั้วซ้ายขวาที่แตกต่างกันนี้ เรามีลักษณะความเชื่อและการรับรู้ที่แตกต่างกัน เราอาจรับรู้หรือมีจุดยืนตรงกลาง หรือโน้มเอียงซ้ายขวา สุนทรียะย่อมมีสองด้านผสานกัน
ความงามที่ผสานกันทั้งในเชิงปรัชญาและเชิงวิทยาศาสตร์ สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานของสมอง (Brain System) สมองซีกซ้าย-ขวา (Left and Right Hemisphere) ที่แยกภารกิจแต่ทำงานผสานกัน การรับรู้และการทำงานของสมองซีกซ้ายจะเน้นหนักไปในทางเหตุผล ตัวเลข ภาษา การคาดคำนวณ การวิเคราะห์ การวางแผน สมองซีกขวาเน้นหนักทางด้าน จินตนาการ อารมณ์ความรู้สึก มิติสัมพันธ์ การสังเคราะห์ ภาพรวมสมองทั้ง 2 ซีก ทางานผสานกันด้วย คอร์พัสแคลโลซัม (Corpus Callosum) ทาให้คนเรามีเหตุผลและอารมณ์ควบคู่กันไป พร้อมทั้งมีวุฒิภาวะทางปัญญา (IQ) และวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) ควบคู่กันไป
เอดวาร์ดส์ (Betty Edwards) กล่าวถึงการทำงานของสมองซีกซ้าย-ขวาว่า สมองซีกซ้ายทำหน้าที่วิเคราะห์ คิดในเชิงนามธรรม ถ้อยคำ ตรรกะ ตัวอย่างเช่น “A ใหญ่กว่า B และ B
ใหญ่กว่า C นั่นหมายความว่า A ย่อมใหญ่กว่า C” ข้อความเชิงตรรกะเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิดของสมองซีกซ้ายซึ่งแสดงถึงการคิดวิเคราะห์ถ้อยคำ คาดคำนวณ ขั้นตอน สัญลักษณ์ เหตุผล รูป ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสมองซีกขวา การเห็นสรรพสิ่งอาจเป็นไปในลักษณะจินตภาพ เป็นไปตามสภาพจิต เรามองดูสรรพสิ่งซึ่งดำรงอยู่ในบริเวณว่าง และมองความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวม สมองซีกขวาจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในเชิงอุปมา ฝัน สร้างสรรค์ บูรณาการความคิดใหม่ เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างที่ยุ่งยากต่อการอธิบาย เราก็สามารถที่จะแสดงท่าทางอาการประกอบการสื่อสารนั้น
คนเรามีความรู้สึกนึกคิด มีจิตใจที่ชื่นชมยินดี มีความรู้สึกหวั่นไหวต่อสิ่งกระทบทั้งหลาย มีรสนิยม มีความรู้สึกชื่นชมในความงาม ความไพเราะ ความสันติสุข เรามีประสาทสัมผัส (Sensibility) ที่จะรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เรามีรสนิยม (Taste) ในการคิดและการเลือกสรรเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต มีสุนทรียภาพ (Aesthetics) ที่ตอบรับหรือชื่นชมยินดีกับความงามทั้งหลาย เพื่อการดารงชีวิตที่มีคุณภาพและชีวิตที่ประณีตงดงาม
เมื่อเรามีสุนทรียภาพหรือมีปฏิกิริยาต่อความงามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัตถุ เหตุการณ์ การดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมและปรากฏการณ์เหล่านั้น มีสภาพเป็นแรงบันดาลใจ (Inspiration) ที่จะกระตุ้นความรู้สึก กระตุ้นการรับรู้ เราจะแปรการรับรู้ไปสู่ความรู้สึกนึกคิด การชื่นชมยินดี การวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมกันนั้นก็จะพัฒนาความรู้สึกนึกคิด ไปสู่การแสดงออก ไปสู่การสร้างสรรค์ เราอาจแสดงออกและสร้างสรรค์ได้ทุกด้านในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกและสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี สร้างสรรค์ทางสังคม ฯลฯ โดยมีพลังของสนุทรียภาพเป็นแรงสนับสนุน
อีกด้านหนึ่ง พลังสุนทรียภาพในตัวตนของเรา ได้ผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปกรรมขึ้น ผู้ที่ชื่นชมในการใช้สื่ออักษรบรรยายจินตนาการจะสร้างสรรค์วรรณกรรม ผู้ชื่นชมการใช้สื่อเสียงก็จะสร้างสรรค์ดนตรี ผู้ชื่นชมในการใช้สื่อร่างกายก็จะสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง และผู้ชื่นชมการใช้สื่อวัตถุก็จะสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม ตามลักษณะเฉพาะของตน (Individuality)
การศึกษาค้นคว้าด้านศิลปกรรมศาสตร์นอกจากการพัฒนาทางด้านสุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญาที่เป็นเรื่องจินตนาการ ความงาม การแสดงออก ความรู้สึกนึกคิด เหตุผล การวางแผน
การจัดระบบ เพื่อเป็นฐานหรือเป็นแรงผลักดันการสร้างสรรค์แล้ว อีกด้านหนึ่ง จาเป็นจะต้องพัฒนาสุนทรียภาพของผู้ศึกษาร่วมด้วย ซึ่งเรียกว่า สุนทรียศึกษา (Aestheic Education) โลกของชาวตะวันออก เป็นโลกของการแสวงหาความสงบสุข ความเป็นสันโดษส่วนตัว ความสงบสุขและความสันโดษที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ เราพยายามศึกษามาจากข้างใน จากตัวตนของเรา เพื่อนาไปแก้ปัญหาโลกภายนอก เช่น พุทธศาสนาสอนให้เรามี พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เมตตา คือ ที่มุ่งสร้างความรักความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข ให้โลกสันติสุข
กรุณา คือ ความสงสาร ความหวั่นไหว ช่วยให้ผู้อื่นเห็นทุกข์ ปลดเปลื้องทุกข์
มุทิตา คือ ความชื่นชมยินดีที่เห็นผู้อื่นได้ดี มีความสุขไม่มีอิจฉาริษยา
          อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียง การใช้ปัญญาพิจารณาโดยสมควรแก่เหตุ สอนเรื่องไตรสิกขา   คือ สอนให้เรามี ศีล สมาธิ ปัญญา สอนให้เราพร้อมและมั่นคงในความดีงาม มีความมุ่งมั่น มีสมาธิ มีความเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน และใช้ปัญญา ความรู้ ความคิด ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ เป็นต้น

1.3 วัตถุทางสุนทรียศาสตร์
วัตถุทางสุนทรียะ (Aesthetic objects) คือจุดศูนย์กลางในการนำมาพิจารณาปัญหาทั้งหลายในวิชาสุนทรียศาสตร์ ไม่มีวัตถุทางสุนทรียะ การศึกษาสุนทรียศาสตร์ย่อมไม่เกิดขึ้น การเข้าใจความหมายและประเภทต่างๆ ของวัตถุทางสุนทรียะ จึงมีความเหมาะสมที่เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาวิชาสุนทรียศาสตร์
วัตถุทางสุนทรียะ คือ วัตถุที่ถูกนำมาพิจารณาหรือรับรู้อย่างสุนทรียะ วัตถุทุกประเภทถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นจากจุดมุ่งหมายของความงามโดยตรง แต่เมื่อไรที่มันถูกนำมาพิจารณาหรือรับรู้ทางสุนทรียะ เราจะนับว่ามันเป็นวัตถุทางสุนทรียะทั้งสิ้น วัตถุทางสุนทรียะจึงมีขอบข่ายกว้างขวางแต่จัดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วัตถุทางธรรมชาติ (Nature) และผลงานศิลปะ (Work of arts) วัตถุทางธรรมชาติ คือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (อาจหมายถึง การสร้างโดยสิ่งลึกลับ -พระเจ้า) เช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า ลาธาร ดวงอาทิตย์ ฯลฯ ส่วนสิ่งที่มนุษย์สร้างทุกอย่างจะนับเป็นศิลปะทั้งสิ้น เช่น กล่องไม้ขีด กระดาษ เสาไฟฟ้า บ้าน ภาพเขียน รูปปั้น ฯลฯ ภูเขาอาจจะมีหรือไม่มีความงามแต่เราจะไม่นับว่าเป็นศิลปะ ตราบที่มันไม่ได้เกิดจากการสร้างโดยฝีมือมนุษย์ ซากต้นไม้อาจจะมีคุณสมบัติทางความงาม แต่ในเมื่อมนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา เราจะไม่นับว่ามันเป็นศิลปะ ในทำนองเดียวกันปูนพลาสเตอร์ที่ถูกนำมาปั้นและทาสีเหมือนก้อนหิน เราจะเรียกมันว่าศิลปะ ถึงแม้ว่าลักษณะภายนอกของมันจะเหมือนกับก้อนหินจริงๆ ในธรรมชาติ การสร้างของมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการจำแนกวัตถุทางสุนทรียะที่เป็นผลงานศิลปะจากวัตถุทางสุนทรียะที่เป็นธรรมชาติ
ผลงานศิลปะมีจานวนมากมายแตกต่างกันมีการจำแนกหรือจัดประเภทของผลงานศิลปะได้หลายวิธีเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา มีอยู่วิธีหนึ่งที่นักสุนทรียศาสตร์ส่วนใหญ่นำมาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ วิธีการนี้เป็นการจัดประเภทของศิลปะโดยจุดมุ่งหมายของการสร้าง ซึ่งจัดแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ อรรถศิลป์ (Useful arts) และวิจิตศิลป์ (Fine art) นักสุนทรียศาสตร์ให้ความสำคัญแก่ศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์มากกว่าประเภทอรรถศิลป์
1) อรรถศิลป์ คือศิลปะประเภทที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายหลักทางด้านประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ส่วนความงามเป็นเรื่องสำคัญรองลงมา ถึงแม้ว่า อรรถศิลป์บางชิ้น จะมีความงดงามเป็นอย่างมาก แต่ความงามของอรรถศิลป์นั้นมีความสำคัญรองลงมาจากการดูว่า งานชิ้นนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ หรือให้ความสะดวกสบายแก่มนุษย์มากน้อยเพียงใด อรรถศิลป์ที่เปี่ยมด้วยความงามแต่ใช้ประโยชน์ หรือให้ความสะดวกสบายแก่มนุษย์ไม่ดี ไม่นับว่าเป็นอรรถศิลป์ที่ดีได้ อรรถศิลป์สามารถแยกย่อยได้หลายประเภท ดังนี้ มัณฑนศิลป์ (Decorative arts) ศิลปะเพื่อการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคารสถานที่ พาณิชย์ศิลป์ (Commercial arts) ศิลปะเพื่อการค้า เช่น ศิลปะการโฆษณาประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมศิลป์(Industrial arts)
ศิลปะที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา อุตสาหกรรมสิ่งทอ งานโลหะ งานแก้ว เป็นต้น หัตถศิลป์ (Crafts) ศิลปะที่เป็นงานฝีมือและมีเทคโนโลยีแบบง่ายๆ ช่วย ได้แก่ เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา ผ้าพื้นเมือง เป็นต้น
2) วิจิตรศิลป์ คือ ศิลปะที่มีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่ความงามหรือความสุนทรียะ มีเรื่องประโยชน์ใช้สอยรองลงมา เนื่องด้วยวิจิตรศิลป์คือศิลปะที่มุ่งเน้นด้านความงามเป็นหลัก วิจิตรศิลป์จึงเป็นศิลปะที่นักสุนทรียศาสตร์ให้ความสำคัญที่สุด และนับเป็นศิลปะที่แท้จริง ซึ่งนักสุนทรียศาสตร์บางคนให้ชื่ออื่นที่แตกต่างกันไปเช่น ศิลปะบริสุทธิ์ (Pure arts) หรือศิลปะแท้ (Art proper) วิจิตรศิลป์จำแนกตามสื่อได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
                   2.1 ทัศนศิลป์ (Visual arts) ทัศนศิลป์ คือวิจิตรศิลป์ที่มีภาพหรือสิ่งที่มองเห็นเป็นสื่อ ภาพหรือสิ่งที่มองเห็นนี้เกิดจากองค์ประกอบหลักสำคัญคือ เส้นและสีทัศนศิลป์มีทั้งที่เป็น 3 มิติ และ 2 มิติ ทัศนศิลป์ 3 มิติได้แก่ สถาปัตยกรรมและประติมากรรม ทัศนศิลป์ 2 มิติได้แก่ ภาพระบายสี ภาพวาดเส้น ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย
                   2.2 สถาปัตยกรรม (Architecture) คือทัศนศิลป์ 3 มิติมีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างหรืออาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากด้านความงามแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆด้วย เช่น ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นสานักงาน เป็นสถานการศึกษา หรือเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
                   2.3 ประติมากรรม (Plastic art) เป็นทัศนศิลป์ 3 มิติอีกประเภทหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นรูปทรงหรือรูปร่างต่างๆ รูปทรงหรือรูปร่างนี้อาจนามาจากธรรมชาติหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ประติมากรรมมีวิธีการสร้างหลายวิธี (ปั้น แกะ หรือหล่อ) จากวัสดุหลายประเภท (ดิน หิน โลหะ ฯลฯ) และสามารถแยกประเภทได้เป็นทั้งประติมากรรมลอยตัว นูนสูง และนูนต่ำ นอกเหนือจากความงามแล้วประติมากรรมยังสามารถนามาใช้ประโยชน์อื่นๆอีก คือ ด้านการศาสนา การปกครอง หรือประดับตกแต่งบริเวณว่างของอาคารสถานที่ต่างๆ
                   2.4 ภาพระบายสี (Painting) ภาพพิมพ์ (Printing) ภาพถ่าย (Photography) ภาพลายเส้น (Drawing) คือทัศนศิลป์ประเภทที่มี 2 มิติ และถูกแยกตามเทคนิคการสร้างคือ การระบาย การพิมพ์ การถ่าย และการวาด ทัศนศิลป์ 2 มิติทั้ง 4 ประเภทยังมีกระบวนการการ และวัสดุที่นามาใช้อย่างหลากหลายแตกต่างกัน เป็นศิลปะแขนงที่นิยมทามากที่สุดเพราะมีขนาดเล็ก และสามารถทาเสร็จในเวลาอันสั้น ทัศนศิลป์ 2 มิติ ยังแยกได้ตามเรื่องราวออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพคนเหมือน ภาพจินตนาการ ภาพนามธรรม ฯลฯ
                   2.5 ดนตรี (Music) หรือที่เรียกว่า โสตศิลป์ (Auditory arts) เป็นวิจิตรศิลป์แขนงหนึ่งซึ่งมี เสียงเป็นสื่อ เป็นศิลปะที่เราสามารถรับรู้ความงาม (ความไพเราะ) โดยการฟัง ดนตรีมีทั้งองค์ประกอบที่มีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องเรียกว่าเพลงบรรเลง ซึ่งมีองค์ประกอบทางด้านรูปทรงเท่านั้น เช่น จังหวะ ทานอง หรือการประสานเสียง ดนตรีสามารถแยกได้ตามประเภทของวงดนตรีที่เล่นได้หลายประเภท เช่น ดนตรีประเภทซิมโฟนี ดนตรีชาโดร์ และอื่นๆ
                   2.6 สัญลักษณ์ศิลป์ (Symbolic arts) หรือบางทีเรียกว่า วรรณคดี หรือวรรณกรรม (Literature) คือวิจิตรศิลป์ที่มี ตัวอักษร คา หรือข้อความเป็นสื่อ ได้แก่ บทประพันธ์ประเภทต่างๆ สัญลักษณ์ที่ประพันธ์โดยการบรรยายธรรมดา เรียกว่า ร้อยแก้ว เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน ถ้าประพันธ์โดยมีแบบแผน หรือฉันทลักษณ์บังคับ เรียกว่า ร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน สัญลักษณ์ศิลป์บางครั้งอาจใช้ตามองแต่เราจะไม่เรียกว่าทัศนศิลป์ บางครั้งใช้หูฟังแต่เราจะไม่เรียกว่าโสตศิลป์ ทั้งนี้เพราะหัวใจสาคัญของสัญลักษณ์ศิลป์ ไม่ได้อยู่ที่รูปร่างหรือเสียงสูงต่าของตัวอักษร แต่อยู่ที่ความหมายของตัวอักษรนั้น
                   2.7 ศิลปะผสม (Mixed arts) คือวิจิตรศิลป์แขนงที่มีสื่อหลายอย่างผสมกัน ตั้งแต่สื่อประเภท ภาพ เสียง หรือตัวอักษรศิลปะผสมบางประเภทมี 2 มิติ บางประเภทมี 3 มิติ แต่ส่วนใหญ่มักจะมีการเคลื่อนไหว ศิลปะประเภทนี้ได้แก่ การเต้นรา การฟ้อนรา ละคร ภาพยนตร์ ฯลฯ ศิลปะผสมมีลักษณะที่เหมือนกับโสตศิลป์และสัญลักษณ์ศิลป์ประการหนึ่งคือ การใช้เวลาในการรับรู้ ศิลปะทั้ง 3 ประเภทมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการรับรู้ ซึ่งต่างจากทัศนศิลป์ที่เป็นศิลปะที่หยุดนิ่ง จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด คือจุดเดียวกันสาหรับการรับรู้ผลงานทัศนศิลป์
          เนื้อหาในสุนทรียศาสตร์ เมื่อมีการกล่าวถึงวัตถุทางสุนทรียะจะหมายถึงทั้งวัตถุทางธรรมชาติและผลงานศิลปะ แต่ผลงานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์จะมีการกล่าวถึงมาก และมีความสำคัญที่สุด แต่วิจิตรศิลป์มีลักษณะหลากหลายแตกต่างกัน การแยกแยะเป็นประเภทต่างๆ ตามสื่อดังกล่าวแล้วข้างต้น จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเรียนรู้และเข้าใจปัญหาต่างๆ ในวิชาสุนทรียศาสตร์

1.4 ประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์
          ประสบการณ์ คือการรับรู้สิ่งต่างๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประสบการณ์ทางสุนทรียะจึงเป็นการรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ (ธรรมชาติและศิลปะ) ในเชิงความงามหรือเชิงสุนทรียะ ใน
          การรับรู้วัตถุในเชิงสุนทรียะส่วนใหญ่จะใช้เพียงประสาทสัมผัส 2 อย่างเท่านั้น คือ ตากับหู เช่นการมองภาพเขียน การฟังเพลง การอ่านนิยาย ประสบการณ์ทางสุนทรียะจึงอาจเรียกได้อีกอย่างว่า การรับรู้ทางสุนทรียะ (Aesthetic perception)
ในการศึกษาสุนทรียศาสตร์ การรู้ว่าประสบการณ์ทางสุนทรียะคืออะไร เป็นสิ่งจาเป็นมาก เพราะปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสุนทรียศาสตร์ เกิดขึ้นมาจากการมีประสบการณ์ หรือการได้รับรู้สิ่งต่างๆ ในเชิงสุนทรียะ มนุษย์จึงได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องความงามกันมานานพอๆ กับวัฒนธรรมของมนุษยชาติ แต่ก็ไม่เคยมียุคใดสมัยใดที่มนุษย์มีชีวิตอยู่โดยไม่กล่าวถึงความงาม ประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเรื่องความงามกันมานานแล้ว ก็คือศิลปวัตถุแบบต่างๆ ที่มนุษย์ได้เพียรพยายามสร้างสรรค์กันขึ้นมามากมาย และการสร้างสรรค์เหล่านี้ก็เป็นผลผลิตมาจากประสบการณ์ทางสุนทรียะของมนุษย์นั่นเอง แต่ศิลปวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้น มีลักษณะแตกต่างกันมากมาย จึงทาให้เรามองไม่เห็นสามัญลักษณะของประสบการณ์ทางสุนทรียะ
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทั่วๆ ไปของมนุษย์ และแทรกซึมอยู่ในมนุษย์ภาวะของทุกๆ คน แม้ว่าจะมีลักษณะแตกต่างกันมากมายหลายอย่างในทางการปลูกฝังการแสดงออกให้ปรากฏก็ตาม ในความเป็นมนุษย์ของทุกคนนั้นจะต้องมีสุนทรียะธาตุรวมอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีมนุษย์คนไหนที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับสุนทรียะเลยในชั่วชีวิตเขา หรือถ้าใครมีความเห็นว่าเรื่องความงามนั้นไร้สาระ ไม่น่าจะต้องมาศึกษาหาความอะไรกันให้หนักสมองแล้ว นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างถนัดทีเดียว แต่พวกเคร่งศาสนา (Puritan) ในศตวรรษที่ 17 ก็เคยมีทรรศนะดังกล่าวมาแล้วเหมือนกัน เนื่องจากความงามเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว มนุษย์จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าเรื่องความงามกันมานานแล้วอย่างจริงจัง ไม่น้อยไปกว่าวิชาอื่นๆ ความงามเป็นสิ่งจาเป็นอย่างหนึ่งของชีวิต เป็นสิ่งที่ทาให้ชีวิตรื่นรมย์แจ่มใส ถ้าชีวิตมนุษย์ขาดสิ่งนี้ไปเสียอย่างหนึ่งแล้ว คงจะมีแต่ความแห้งแล้งไร้ชีวิตชีวา
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ได้รับการยอมรับว่า ไม่ใช่การรับรู้เชิงปฏิบัติ (Practical perception) การรับรู้เชิงปฏิบัติคือ การรับรู้เพื่อมุ่งผลประโยชน์ เป็นการรับรู้เพื่อใช้สิ่งที่รับรู้เป็นเครื่องมือนาไปสู่เป้าหมายอื่น แต่ประสบการณ์ทางสุนทรียะเป็นการรับรู้ที่จบในตัวเอง หรือเป็นการรับรู้เพื่อการรับรู้ (Perceive for perceiver’s sake) ในการรับรู้อย่างที่จบในตัวเอง ผู้รับรู้จะได้รับความเพลิดเพลินจากการรับรู้นั้น เช่น นายหน้าขายที่ดินคนหนึ่งมองไปยังทัศนียภาพแห่งหนึ่ง แล้วประเมินราคาที่ดินเพื่อคำนวณประโยชน์ทางการค้า เราจะไม่ถือว่าเขารับรู้ทัศนียภาพนั้นอย่างสุนทรียะ แต่รับรู้ในเชิงปฏิบัติ ถ้าคนๆ หนึ่งมองแจกันใบหนึ่งแล้วมองประโยชน์ของแจกันว่า นามาปักดอกไม้ได้มากน้อยแค่ไหน เราจะถือว่าเรารับรู้เชิงปฏิบัติ ไม่ใช่การรับรู้อย่างสุนทรียะ ในการรับรู้อย่างสุนทรียะต่อทัศนียภาพ จะต้องไม่มองว่ามันประโยชน์อย่างไร แต่จะต้องมองอย่างที่จบในตัวมันเอง เป็นการมองเพื่อที่จะมอง หรือเป็นการมองเพื่อซึมซับต่อสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาเท่านั้น เช่น เส้น สี หรือรู้ทรงของทัศนียภาพ เช่นเดียวกันในการรับรู้ทางสุนทรียะต่อแจกันใบหนึ่ง จะต้องมองเพียง เส้น สี หรือรู้ทรงของแจกันที่ปรากฏต่อสายตา และการมองนั้นจะจบสิ้นเพียงแค่การมอง ไม่ใช่เป็นการเห็นว่ามันนาไปใช้ประโยชน์ได้แค่ไหนการรับรู้ต่อทัศนียภาพหรือแจกันในลักษณะดังกล่าวเราย่อมจะได้รับความเพลิดเพลิน หรือความสุนทรียะจากมัน และนี่เป็นลักษณะสำคัญของการมีประสบการณ์ทางสุนทรียะ อย่างไรก็ตามการรับรู้ทั้งสองประเภทมักจะเกิดพร้อมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสมอในศิลปะบางประเภท เช่น สถาปัตยกรรมหรืออรรถศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะที่เน้นด้านประโยชน์ ถึงกระนั้นการรับรู้ทั้งสองประเภทก็ควรได้รับแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ยังเป็นคนละสิ่งกับการรับรู้เพื่อความเข้าใจ (Cognitive) ถ้านักโบราณคดีคนหนึ่งมองไปยังโบราณสถานแห่งหนึ่ง และพิจารณาถึงยุคสมัยและที่ตั้งของมันจากรูปแบบ หรือสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาของเรา เราจะไม่ถือว่าเป็นการรับรู้ทางสุนทรียะ แต่เป็นการรับรู้เพื่อความเข้าใจ การรับรู้ในลักษณะดังกล่าวได้เพิ่มความรู้ความเข้าใจแก่เขา แต่ไม่ได้เพิ่มประสบการณ์ทางสุนทรียะ หรือความเพลิดเพลินแก่เขา บางทียังอาจจะทาให้เขาถูกเบี่ยงเบนไปจากการรับรู้ในเชิงสุนทรียะ เพื่อจุดประสงค์ในการหาความรู้ หากนักโบราณคดีต้องการรับรู้ต่อโบราณสถานอย่างสุนทรียะ เขาจะต้องรับรู้เพียงเพื่อการรับรู้โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อความรู้ใดๆ จากมัน
ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ไม่ใช่การรับรู้ในเชิงส่วนตัวหรือรับรู้ว่า วัตถุทางความงามมีความสัมพันธ์กับตัวเองอย่างไร ประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องเป็นการรับรู้ เพื่อซึ่งต่อสิ่งที่วัตถุทางสุนทรียะเสนอหรือแสดงออกมา ในการชมละครเวทีเรื่องเกี่ยวกับความรักเรื่องหนึ่งถ้าผู้ชมละครนาเหตุการณ์มาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ครอบครัวหรือหญิงคนรักของตนเอง การชมในลักษณะดังกล่าวถือเป็นการรับรู้ในเชิงส่วนตัว ไม่ใช่การรับรู้ทางสุนทรียะ และยังเป็นการรับรู้ที่ขัดขวางการมีประสบการณ์ทางสุนทรียะด้วย การชมละครที่ถือเป็นประสบการณ์ทางสุนทรียะ ผู้ชมจะต้องรับรู้ต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ของละครเรื่องนั้น ที่
นาเสนอแก่เขา ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่มีต่อชีวิตของเขา การรับรู้ในเชิงส่วนตัวอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมักเกิดขึ้นบ่อย แต่การรับรู้ทั้งสองนั้นก็เป็นคนละประเภทกัน
ประสบการณ์ทางสุนทรียะ สามารถอธิบายได้อีกหลายวิธี แบ่งแยกการรับรู้สัมพันธ์ภายใน (Internal relations) ประสบการณ์ทางสุนทรียะคือ การรับรู้ความสัมพันธ์ภายใน การรับรู้ความสัมพันธ์ภายนอก ไม่ใช่การรับรู้ทางสุนทรียะ การรับรู้ความสัมพันธ์ภายในคือ การรับรู้ถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายใน ของวัตถุทางสุนทรียะในลักษณะที่เป็นหนึ่งเดียว หรือการมีอยู่ในตัวของมันเองอย่างลาพัง โดยแยกอย่างเด็ดขาดจากสิ่งอื่น การรับรู้ความสัมพันธ์ภายนอกคือ การรับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุทางสุนทรียะกับสิ่งภายนอก เช่น ตัวผู้รู้ ศิลปินผู้สร้าง หรือวัฒนธรรมที่วัตถุทางสุนทรียะชิ้นนั้นเกิดขึ้น
          ถ้านักศึกษาศิลปะคนหนึ่ง มองงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นรูปหญิงเปลือย และด้วยความไม่คุ้นเคยกับหญิงเปลือย จึงมีความรู้สึกทางกามารมณ์เกิดขึ้นในใจ และด้วยความอยากรู้จึงพยายามค้นหาว่า ใครคือผู้ปั้น ปั้นด้วยจุดประสงค์อันใด และวัฒนธรรมในสมัยที่ประติมากรรมชิ้นนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างไร การรับรู้อย่างนี้เป็นการรับรู้ถึงความสัมพันธ์ภายนอกของประติมากรรม เป็นการรับรู้ที่ไม่เกิดความสุนทรียะ แต่ถ้านักศึกษาคนนี้รับรู้ประติมากรรมชิ้นนี้ที่รูปร่าง รูปทรง ลักษณะพื้นผิว หรือเรื่องราวที่ประสานกลมกลืนกันภายในตัวประติมากรรมเอง โดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งใดภายนอก เขากาลังรับรู้ถึงความสัมพันธ์ภายใน และการรับรู้เช่นนี้เขาย่อมรับรู้อย่างสุนทรียะ
          การอธิบายประสบการณ์ทางสุนทรียะอีกวิธีหนึ่งคือ การแบ่งแยกเป็นการรับรู้ต่อปรากฏการณ์ (Phenomenal) และการรับรู้ต่อกายภาพ (Physics) ของวัตถุ การมุ่งสนใจต่อปรากฏการณ์ ของวัตถุก่อให้เกิดประสบการณ์สุนทรียะ การสนใจต่อความเป็นกายภาพของวัตถุ คือ การรับรู้ต่อคุณสมบัติของวัตถุที่ปรากฏต่อประสาทสัมผัสของเรา เช่น คุณสมบัติของเส้น สี รูปทรง ในภาพเขียนที่ปรากฏต่อสายตา หรือคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุ คือการพิจารณาถึงคุณสมบัติของวัตถุในแง่ของกายภาพ ซึ่งไม่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น น้าหนัก ขนาด ส่วนผสมทางเคมี หรือความถี่ของคลื่นเสียง
          คุณสมบัติทางกายภาพ คือ ต้นตอของคุณสมบัติทางปรากฏการณ์ ไม่มีคุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางปรากฏการณ์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ แต่การรับรู้ทางสุนทรียะจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ เรามุ่งความสนใจไปยังปรากฏการณ์ของวัตถุที่เรารับรู้ ไม่ใช่คุณสมบัติทางกายภาพอันก่อให้เกิดคุณสมบัติทางปรากฏการณ์ของมัน เรายอมรับว่า ถ้าไม่มีคุณสมบัติทางกายภาพของภาพเขียน (เนื้อสี ผ้าใบ) คุณสมบัติทางปรากฏการณ์ของภาพเขียน (ลักษณะของสีหรือเส้นที่ตา
          มองเห็น) ย่อมไม่เกิดขึ้น แต่การรับรู้อย่างสุนทรียะต่อภาพเขียน เราจะต้องรับรู้ต่อความสัมพันธ์ของเส้นสี ไม่ใช่มุ่งสนใจต่อวิธีการที่สีเหล่านั้นผสมกัน หรือส่วนผสมทางเคมีของมัน อย่างหลังคือคุณสมบัติทางกายภาพของภาพเขียน ในทานองเดียวกัน การรับรู้ในบางตำแหน่งของห้องแสดงดนตรี อาจทาให้เราได้ยินเสียงดนตรีไม่ถนัด และมันมีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ทางสุนทรียะ เพราะมันเป็นสาเหตุของการได้ยินชัดเจนหรือไม่ แต่การแก้ปัญหาสาเหตุของการฟังไม่ถนัดในตำแหน่งนั้น เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางกายภาพไม่ใช่การรับรู้ทางสุนทรียะของดนตรี
          โดยสรุปแล้ว การรับรู้ทางสุนทรียะ หรือ การมีประสบการณ์ทางสุนทรียะมีความแตกต่างจากการรับรู้ประเภทอื่น ซึ่งอาจเรียกว่าการรับรู้เชิงอสุนทรียะ เช่น การรับรู้เพื่อมุ่งสนใจว่าวัตถุทางสุนทรียะสามารถนาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร สัมพันธ์กับชีวิตส่วนตัวอย่างไร หรือการมุ่งสนใจต่อคุณสมบัติทางกายภาพของมัน การรับรู้ทางสุนทรียะอย่างถูกต้อง เราจะต้องรับรู้อย่างจบในตัวของมันเอง เป็นการรับรู้เพื่อการรับรู้ หรือรับรู้เพียงคุณสมบัติทางปรากฏการณ์ของวัตถุ ในการรับรู้ดังกล่าวเราจะได้รับความสุขความเพลิดเพลินทางสุนทรียะ อันทาให้ชีวิตจริงหยุดพักชั่วระยะหนึ่ง เมื่อเราเลิกการรับรู้ทางสุนทรียะ เราจะกลับมาสู่ชีวิตจริงดังเดิม
          สรุปลักษณะประสบการณ์ทางสุนทรียะ
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ หมายถึง ประสบการณ์เกี่ยวกับความงาม
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ หมายถึง ประสบการณ์ในการขานรับสุนทรียะ และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ หมายถึง ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจจากการรับรู้อันไม่ประสงค์สิ่งใด (นอกจากการรับรู้)
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ เป็นความรู้สึกต่อความงามที่ไม่จาเป็นต้องเข้าใจหรือรู้เรื่องราวของสิ่งนั้นๆ แต่รู้สึกเพลิดเพลิน
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ เป็นการสร้างโลกใหม่ของผู้รับรู้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับรูปทรงที่มองเห็นภายนอก
          ประสบการณ์ทางสุนทรียะ เป็นความรู้สึกที่พุ่งตรงไปยังรูปทรงของวัตถุโดยตรง และความรู้สึกตอบสนองทางสุนทรียะทันที ถ้าผู้รับรู้มุ่งที่จะค้นหาความคิดหรือข้อเท็จจริงอะไร ประสบการณ์ทางสุนทรียะ เป็นความรู้สึกที่สงบ เป็นอิสระ และเป็นเรื่องทางจิต

1.5 เกณฑ์การตัดสินและคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์
          ทฤษฎีการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์มีหลายทฤษฎี ส่วนใหญ่ของทฤษฎีเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับสิ่งสองสิ่ง คือ จิตของผู้รับรู้ซึ่งหมายถึงผู้ตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะ และวัตถุทางสุนทรียะ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ถูกตัดสินว่ามีคุณค่าทางสุนทรียะ ทฤษฎีจิตวิสัยคือทฤษฎีที่อธิบายเรื่องการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะ โดยเน้นจิตของผู้รับรู้เพียงอย่างเดียว ทฤษฎีวัตถุวิสัยคือทฤษฎีที่อธิบายเรื่องการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะ โดยเน้นวัตถุทางสุนทรียะเพียงอย่างเดียว และทฤษฎีสัมพัทธ์นิยมซึ่งให้ความสำคัญทั้งจิตผู้รับรู้และวัตถุทางสุนทรียะ
          1.5.1 ทฤษฎีจิตวิสัย (Subjectivism)
                    ทฤษฎีจิตวิสัยเชื่อว่า คุณค่าทางสุนทรียะ คือคุณสมบัติของจิตหรือความรู้สึกตอบสนองทางด้านสุนทรียะของผู้รับรู้ ที่มีต่อวัตถุทางสุนทรียะเพียงอย่างเดียว โดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติใดๆ ของวัตถุทางสุนทรียะ ความรู้สึกตอบสนองในเชิงสุนทรียะนี้ เช่น ความชอบ ความเพลิดเพลิน หรือความพึงพอใจ ทฤษฎีจิตวิสัยจะถือว่า ผู้รับรู้กาลังตัดสินวัตถุทางสุนทรียะนั้นว่า มีคุณค่าทางสุนทรียะ ถ้าตอบสนองในลักษณะไม่ชอบ ไม่เพลิดเพลิน หรือไม่พึงพอใจ ผู้รับรู้กาลังตัดสินว่า วัตถุทางสุนทรียะนั้นว่าไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะ การตัดสินนี้ไม่เกี่ยวข้อง หรือขึ้นอยู่กับคุณสมบัติใดๆ ของวัตถุทางสุนทรียะที่ถูกรับรู้ สาหรับทฤษฎีจิตวิสัยคุณค่าทางสุนทรียะกับความชอบคือสิ่งเดียวกัน นักทฤษฎีบางคนเรียกความชอบหรือความพอใจนี้ว่า รสนิยม (Taste)
                   เมื่อคุณค่าทางสุนทรียะคือความชอบ คุณค่าทางสุนทรียะ จึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงไปตามความชอบของแต่ละบุคคลในแต่ละเวลาและสถานที่ เนื่องจากความชอบของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันในเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ต่างกันการตอบสนองทางสุนทรียะของผู้รับรู้หรือตัดสินย่อมแตกต่างกันถึงแม้ว่าการตัดสินจะแตกต่างกัน แต่พวกจิตวิสัยเชื่อว่า ทุกๆ การตัดสินจะมีน้าหนักอย่างเท่าเทียมกัน ถ้ามีการตัดสินสองอันที่แตกต่างกัน เราจะบอกว่าการตัดสินอันหนึ่งถูกอันหนึ่งผิดไม่ได้ การตัดสินของใครย่อมจะถูกสาหรับคนนั้น เนื่องจากจิตวิสัยเชื่อในการตอบสนองของจิตแต่ละคน แต่ละครั้ง ผู้ตอบสนองเท่านั้นย่อมจะรู้ดีว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร ตัวเองเท่านั้นเป็นผู้ตัดสินสุดท้าย และย่อมไม่มีการผิดพลาด
                   1.5.2  ทฤษฎีวัตถุวิสัย (Objectivism)
                   วัตถุวิสัย มีความเชื่อพื้นฐานที่ขัดแย้งกับจิตวิสัยโดยสิ้นเชิงว่า คุณค่าทางสุนทรียะ คือคุณสมบัติของวัตถุทางสุนทรียะ คุณสมบัติทางสุนทรียะนี้ เป็นคุณสมบัติดั้งเดิมที่ติดตัววัตถุทางสุนทรียะมาตั้งแต่แรกเริ่ม และมันมีความเกี่ยวข้องกับตัววัตถุทางสุนทียะเพียงอย่างเดียว
                   เมื่อคุณค่าทางสุนทรียะเป็นคุณสมบัติของวัตถุ คุณค่าทางสุนทรียะจึงมีลักษณะเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) สิ่งที่เป็นสัมบูรณ์ค่าของมันย่อมคงที่และแน่นอนตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความรู้สึก หรือความพึงพอใจของใครหรือสิ่งอื่นใด มันมีค่าในตัวหรือสาหรับตัวเองโดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งอื่นนอกเหนือตัวมัน สิ่งที่มีคุณค่าทางสุนทรียะย่อมมีคุณค่าทางสุนทรียะอยู่ดีแม้ว่าไม่มีใครไปรับรู้มัน เมื่อเรารับมันเราอาจจะเกิดความชอบ หรือความเพลิดเพลิน แต่ถ้าเราไม่รับรู้มัน คุณค่าทางสุนทรียะของมันยังคงอยู่ ซี.อี.เอ็ม.โจด (C.E.M. Joad) นักทฤษฎีวัตถุวิสัยคน
                   สำคัญคนหนึ่ง เคยกล่าวแสดงทัศนะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าภาพเขียน มาดอนน่า ของราฟาเอล ยังคงอยู่ขณะที่มนุษย์คนสุดท้ายได้ตายลง มีสิ่งใดในภาพเขียนได้สิ้นสุดลง แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางสุนทียะของภาพเขียนสิ้นสุดลงไปด้วยคุณค่าทางสุนทรียะคือคุณสมบัติที่ติดตัววัตถุและเป็นอิสระจากความรู้สึกของคนหรือสิ่งอื่นใด
                   เมื่อวัตถุวิสัยเชื่อว่า คุณค่าทางสุนทรียะคือคุณสมบัติของวัตถุ การตัดสินว่า วัตถุชิ้นหนึ่งมีคุณค่าทางสุนทรียะหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าวัตถุชิ้นนั้นมีคุณสมบัติทางสุนทรียะหรือไม่ ถ้ามีการตัดสินว่าวัตถุชิ้นหนึ่งมีคุณค่าทางสุนทรียะ ย่อมแสดงว่า วัตถุชิ้นนั้นมีคุณสมบัติทางสุนทรียะ ถ้าตัดสินว่า วัตถุชิ้นหนึ่งไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะ ย่อมแสดงว่า วัตถุชิ้นนั้นไม่มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ การตัดสินจึงมีเพียงคาตอบเดียว ถ้ามีการตัดสินที่ไม่ตรงกันต่อวัตถุชิ้นเดียวกันย่อมแสดงว่า ต้องมีการตัดสินอันหนึ่งถูกและอันหนึ่งผิด และเราสามารถยืนยันได้ว่า การตัดสินใดถูกหรือผิดโดยดูว่าการตัดสินนั้นตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือไม่
          ถ้ามีการตัดสินว่าประติมากรรมชิ้นหนึ่งของ เฮนรี่ มัวร์ (Henry Moore) มีคุณค่าทางสุนทรียะแสดงว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ของ เฮนรี่ มัวร์ มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ หรือในทางกลับกันถ้าติดสินว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะ แสดงว่ามันไม่มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ ถ้ามีการตัดสินที่ขัดแย้งกันจะต้องมีคาตอบหนึ่งถูก คาตอบหนึ่งผิด ถ้านาย ก. ตัดสินว่าประติมากรรมชิ้นนี้มีคุณค่าทางสุนทรียะ นาย ข. ตัดสินว่าไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะจะต้องมีคนหนึ่งตัดสินถูกคนหนึ่งตัดสินผิด คนที่ตัดสินถูกคือคนที่ตัดสินได้ตรงกับข้อเท็จจริง
                   การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะ ตามทฤษฎีวัตถุวิสัยจะเป็นไปได้หรือไม่ ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า คุณสมบัติทางสุนทรียะที่ติดตัววัตถุนั้นคืออะไร เราจะรู้จักหรือเข้าถึงมันได้อย่างไร ในเรื่องนี้บรรดานักทฤษฎีในกลุ่มวัตถุวิสัยเองมีคาตอบที่ต่างกัน ซึ่งแบ่งได้เป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ พวกที่เชื่อว่าคุณสมบัติทางสุนทรียะเป็นสิ่งที่นิยามไม่ได้ กับพวกที่เชื่อว่าคุณสมบัติทางสุนทรียะเป็นสิ่งที่นิยามได้
                   วัตถุวิสัยพวกแรกคิดว่า วัตถุชิ้นใดเมื่อมีคุณสมบัติทางสุนทรียะ เราสามารถพบและรู้จักมันได้ แต่จะให้นิยามว่ามันคืออะไรเราไม่อาจทาได้ คุณค่าทางสุนทรียะไม่สามารถบรรยายได้ด้วยคำพูด มันต่างจากสิ่งอื่นในโลก มันไม่อาจวิเคราะห์หรืออธิบายด้วยเหตุผลใด ๆ ได้ เพียงเราพบมันเราย่อมจะรู้จักมันได้เป็นอย่างดี
                   วิธีที่เราสามารถเข้าถึงการมีอยู่ของคุณสมบัติทางสุนทรียะนี้คือ การรู้โดยตรง(Intuition) การรู้โดยตรง เป็นการรู้ที่ไม่ต้องใช้เหตุผล หรือหลักฐานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน แต่ไม่มีการผิดพลาด เมื่อนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ความเชื่อในเรื่องใด เหตุผลหรือหลักฐานที่เป็นรูปธรรม
                   สามารถยื่นยันความเท็จจริงในความเชื่อที่ต้องการรู้นั้น แต่การรู้ว่า คุณสมบัติทางสุนทรียะมีอยู่จริงหรือไม่ ไม่จาเป็นต้องใช้วิธีดังกล่าว ทุกๆ คนเมื่อได้ดมดอกกุหลาบแล้วรู้สึกว่ามีกลิ่นหอม ย่อมเชื่ออย่างไม่ต้องสงสัยว่ากลิ่นหอมเป็นกลิ่นที่มีอยู่ และรู้อย่างไม่มีข้อผิดพลาด แต่ถ้าให้อธิบายว่ากลิ่นหอมคืออะไร ไม่มีใครสามารถอธิบายได้ การรู้โดยต่อกลิ่นหอมของกลิ่นกุหลาบเรารู้ว่า จริงได้โดยไม่จาเป็นต้องใช้เหตุผลหรือหลักฐานอื่นนอกจากความรู้สึกของเราเอง ในทำนองเดียวกัน การรู้โดยตรงต่อภาพเขียนภาพหรือที่มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ เราสามารถรู้จักมันได้โดยไม่ต้องสงสัย และไม่มีการผิดพลาด ไม่ต้องอาศัยเหตุผลหรือหลักฐานอื่นใด แต่จะให้คาอธิบายว่าคุณสมบัตินี้คืออะไร เราไม่สามารถอธิบายได้
                   เมื่อสามารถทราบได้ว่าคุณสมบัติทางสุนทรียะมีอยู่จริง การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะก็ย่อมเป็นไปได้ และการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะของทฤษฎีนี้ ก็เหมือนกับทฤษฎีวัตถุวิสัยโดยทั่วไป นั่นคือว่า เมื่อมีการตัดสินว่าวัตถุชิ้นหนึ่งมีคุณค่าทางสุนทรียะ แสดงว่าวัตถุชิ้นนั้นไม่มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ ถ้าตัดสินว่าวัตถุชิ้นนั้นไม่มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ แสดงว่าวัตถุชิ้นนั้นไม่มีคุณสมบัติทางสุนทรียะ เมื่อมีการตัดสินสองอันที่ขัดแย้งกัน การตัดสินอันหนึ่งจะต้องถูก และการตัดสินอีกอันจะต้องผิด การตัดสินที่ผิดคือการตัดสินของผู้ที่ไม่สามารถรู้โดยตรงต่อคุณสมบัติทางสุนทรียะที่มีอยู่ในวัตถุ หรือไปเข้าคุณสมบัติอื่นที่ไม่มีอยู่ในวัตถุ การตัดสินที่ถูกคือการตัดสินของผู้ที่สามารถรู้โดยตรงได้ อย่างถูกต้องถึงการมีอยู่ของคุณสมบัติทางสุนทรียะในวัตถุการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะตามความเชื่อข้างต้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดนัก เนื่องจากได้นาไปสู่ทางตันของการตัดสิน หากคนสองคนซึ่งเชื่อเหมือนกันในเรื่องการรู้โดยตรง และการนิยามไม่ได้ของของคุณสมบัติทางสุนทรียะ แต่เมื่อทั้งสองรับรู้ต่อวัตถุทางสุนทรียะชิ้นเดียวกันแต่มีคาตอบที่ขัดแย้งกัน คนหนึ่งตัดสินว่า วัตถุทางสุนทรียะนั้นมีคุณค่าทางสุนทรียะ อีกคนหนึ่งตัดสินว่า วัตถุทางสุนทรียะชิ้นนั้นไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะ เราจะแก้ปัญหาการตัดสินที่ขัดแย้งนี้อย่างไร คำตอบของทฤษฎีนี้ ย่อมเป็นการตัดสินที่ถูกคือการตัดสินของผู้ที่รู้โดยตรงได้อย่างถูก ต้องถึงการมีอยู่ของคุณสมบัติทางสุนทรียะ ในวัตถุ แต่การจะรู้ว่าใครรู้โดยตรงได้อย่างถูกต้อง ถึงการมีอยู่ของคุณสมบัติทางสุนทรียะ เราต้องรู้เสียก่อนว่า คุณสมบัติของสุนทรียะคืออะไร แต่ทฤษฎีนี้เชื่อว่า คุณสมบัติทางสุนทรียะเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือผู้รู้โดยตรงได้อย่างถูกต้อง ต่อคุณสมบัติทางสุนทรียะ เมื่อเป็นดังนี้ย่อมรู้ไม่ได้ว่า การตัดสินของใครถูกต้อง ปัญหาอีกประการหนึ่งคือว่า การรู้โดยตรงเป็นสิ่งไม่อาจยืนยันความถูกต้องโดยหลักฐาน หรือเหตุผลอื่นนอกจากเหนือจากตัวของผู้ที่มีการรู้โดยตรงเอง แต่คนแต่ละคนย่อมเชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ที่มีการรู้โดยตรงได้อย่างถูกต้อง ในที่สุดแล้วเมื่อมีการตัดสินที่ขัดแย้งกัน เราจะไม่กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานใดๆ ในการสรุปว่าการตัดสินของใครถูกต้องกันแน่

2. นักคิดทฤษฏีสุนทรียศาสตร์

อาริสโตเติลเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากีรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย (Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดชองทะเลเอเจียน (Aegaeen Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส (Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกีย และยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาเซโดเนีย
ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อริสโตเติล คือ บิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อเขาอายุได้ 18 ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุดนั้น คือ เพลโต ในกรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20 ปีนั้น ทำให้อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโต ต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343 - 342 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิป พระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิรา ชื่อ ไลเซียม (Lyceum)
          ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชา และได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืด ซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา   ในด้านปรัชญา อริสโตเติล เขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา   เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก
          ปรัชญาสุนทรียศาสตร์ หรือปรัชญาศิลปะ ทั้งของเพลโตและอริสโตเติลนี้ ยังไม่เป็นระบบที่แน่นอน เป็นแต่เป็นการรวบรวมทรรศนะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่เก็บมาจากผลงานของเขาที่กระจายอยู่ทั่ว ๆไป มารวมขึ้นเป็นแนวการศึกษาถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ
          อริสโตเติลเชื่อว่า ภาษานั้น เราสร้างขึ้นใช้กับศิลปะได้ โดยให้มีความหมายเช่นเดียวกับตระกูลของต้นไม้และสัตว์ การลอกเลียนแบบรวมทั้งศิลปะต่าง ๆ ก็เหมือนกับการลอกเลียนแบบชนิดต่าง ๆ ซึ่งลงรอยกันเพื่อวิธีการและจุดหมายที่ช่างฝีมือใช้เพื่อผลิตศิลปกรรมนั่นเอง อริสโตเติล เขียนไว้ในเรื่อง บทประพันธ์ The Poetics ว่า ความเคยชิดต่อความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ในสิ่งเพียงตัวแทนนั้น ก็มิได้ถูกเปลี่ยนย้ายไปไกลจากความรู้สึกแบบเดียวกันกับความเป็นจริงทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้น เราก็เรียนรู้จากบทประพันธ์นั้นเองด้วยว่า มันก็เป็นจริงจากสัญชาตญาณในการเลียนแบบเช่นเดียวกันว่า ผู้สร้างได้เลียนแบบ และเราก็ได้รับเอาความยินดีในการลอกเลียนแบบนั้นด้วย
          และเรื่องที่อริสโตเติล หมายถึง การลอกเลียนแบบนั้นก็เป็นไปโดยธรรมชาติของมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็ก นั่นคือ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ลอกเลียนแบบมากที่สุดในโลก และเรียนรู้ครั้งแรกโดยการลอกเลียนแบบนั่นเอง กล่าวคือ ยังแสดงความหมายอีกด้วยว่า มนุษย์แสดงสัญชาติญาณต่าง ๆ ด้วยเหตุผล ในการถ่ายทอดรูปแบบหนึ่งไปยังวัตถุในขบวนการของการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงมุ่งหมายถึงการกำหนดรูปแบบอันหนึ่งขึ้นโดยวิธีของพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ การสร้าง คือ พฤติกรรมการตรงไปยังจุดหมายของการกระตุ้นเตือนความรู้โดยวิธีแห่งความ สำนึกรู้ เช่นเดียวกับความเพลิดเพลินยินดีโดยเหตุผลคู่เคียงไปกับพฤติกรรมนี้ด้วย
          ในเรื่องโศกนาฏกรรม ซึ่งมีต้นกำเนินจากคำประพันธ์ประเภทเพลงสวดแบบเศร้า ๆ ก็แสดงถึงภาพชีวิตจริงโดยธรรมชาตินั่นเอง บทเพลงสวดเศร้านั้นมีมาก่อนเรื่องโศกนาฏกรรมแต่ว่าในทางพฤติกรรมแห่งบทเพลงสวดเศร้านั้น เรื่องโศกนาฏกรรมมีมาก่อนบทเพลงโดยทางมโนภาพ
          อนึ่ง ประเภทของบทเพลงสวดที่น่าเศร้า โดยที่จริงแล้วเป็นสิ่งแสดงให้เห็นสภาพเป็นจริงของชีวิตโดยธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ในฐานะเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งพยายามหลีกเว้น เพราะความไม่เข้าใจธรรมชาติชีวิตจริง เรื่องโศกนาฏกรรมนี้ อริสโตเติล แสดงปรัชญาศิลปะบนพื้นฐานแห่งธรรมชาติของชีวิตจริง คำว่า ธรรมชาติ นี้เอง ถูกใช้บ่อยครั้งในผลงานเรื่อง The Poetics และเราก็ต้องแสดงนัยยะแห่งความหมายของหลักการนี้ให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น แต่ศิลปินมีข้อเสนอแนะที่อธิบายให้ชัดเจนซึ่งมิใช่เฉพาะแต่เรื่องที่ได้เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นด้วยและศิลปินก็มีความรู้สึกที่เป็นอิสระตามธรรมดา ในการที่จะเลือกสร้างเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น จุดหมายของศิลปะ คือ ความสนุกเพลิดเพลินบันเทิงใจด้วยเหตุผล และก็ความสนุกเพลิดเพลินนี้เอง ได้วางหลักจุดมุ่งหมายด้านเหตุผลขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ แม้แต่ความหมายตามทฤษฏี ธรรมชาติ ที่อริสโตเติลยืนยันนั่นเอง
          มิใช่เป็นการอ้างเอาจินตนาการเช่นนั้น ดังที่เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก (Eros) ของเพลโต และยังไม่ยอมรับมโนภาพแห่การดลบันดาลใจแบบเพลโตอีกด้วย อีกทั้งยังละทิ้งมโนภาพของมุนษย์ผู้ได้รับการบันดาลใจ ซึ่งทำการยึดติดอยู่เพราะวงแหวนการดึงดูดนั้น
          อริสโตเติล เห็นว่ามนุษย์เป็นผู้มีความสามารถทางเหตุผลที่จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้ แม้จะไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้สร้างแตกต่างจากมิใช่ผู้สร้างอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ในผลงานเขียนเรื่อง Mecomachean Ethics เขาได้ข้อเปรียบเทียบระหว่างคนเลอเลิศกับศิลปิน เขาเองก็เหมือนกับศิลปิน สามารถมองเห็นสิ่งที่เหมาะสมได้ แม้จะเป็นเรื่องของการคาดคิดว่า ศิลปินเหมือนกับคนเลอเลิศที่สามารถรวมพลังรวบยอดต่าง ๆ ได้อย่างมีรสนิยมบรรทัดฐานสำหรับคนเลอเลิศกับศิลปินนั่นเอง
          จากที่อริสโตเติล  (Aristotle,  384-322  ก่อน  ..)  เป็นนักปรัชญาชาวกรีกที่เป็นศิษย์คนสำคัญของเพลโต  และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักลีเซียม  (Lyceum)ปรัชญาของอริสโตเติลนั้นแม้จะมีรากฐานมาจากความคิดของเพลโต  และแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลก็คล้ายกับของเพลโตในเรื่องของการเลียนแบบ  แต่หากดูในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะในเรื่องตำแหน่งที่อยู่ของความงามและคุณค่าของงานศิลปะสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลได้มาจากบทความ  (เขียนประมาณ  347-342  B.C.)  ที่หลงเหลือและรวบรวมเป็นเล่ม  (ในชื่อ  Poetics)  และมีการปรับปรุงโดยอริสโตเติลและลูกศิษย์ในเวลาต่อมา ถึงแม้เนื้อหาจะถูกเปลี่ยนแปลง  การโต้เถียงเข้มข้นและชวนสงสัย แต่ก็มีอิทธิพลในศตวรรษต่อมาเป็นเวลายาวนานแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลส่วนใหญ่จะเป็นความคิดเกี่ยวกับศิลปะหลายประเภทเช่นกวีนิพนธ์  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ดนตรี  โดยแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเขาได้มากจากเรื่อง  “กวีนิพนธ์”  (Poetics)  ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวที่หลงเหลืออยู่  โดยเชื่อกันว่าอริสโตเติลเขียนงานชิ้นนี้ในช่วงเวลา  347-342  ก่อนคริสตกาล
                    อริสโตเติลจัดประเภทของศิลปะได้ชัดเจนกว่าเพลโต  แต่ยังคงเชื่อว่าศิลปะคือการเลียนแบบ  และสิ่งที่ศิลปะเลียนแบบคือวัตถุและเหตุการณ์และเรียกผลงานศิลปะนี้ว่า “ศิลปะเลียนแบบ”  (imitative  art)  อริสโตเติลแบ่งศิลปะเลียนแบบออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ  คือ
          1.  ศิลปะเลียนแบบปรากฏการณ์ที่มองเห็น  (วัตถุ)  ด้วยสีและเส้น  เช่น  จิตรกรรม
          2.  ศิลปะเลียนแบบการกระทำ  (เหตุการณ์)  โดยคำพูด  เพลงและการเต้นรำ  ประเภทที่สองเรียกว่าศิลปะกวีนิพนธ์  (art  of  poetry)ศิลปะกวีนิพนธ์  บางครั้งใช้ในความหมายกว้าง  คือหมายถึงศิลปะโดยทั่วๆ  ไป  (ใน  Metaphysics)  
          ดังนั้น  ศิลปะกวีนิพนธ์จึงต่างจากจิตรกรรมด้วยสื่อ-ใช้คำพูด  จังหวะ  ทำนอง  ศิลปะกวีนิพนธ์ต่างจากปรัชญาและประวัติศาสตร์ตรงที่เนื้อหาที่เลียนแบบ  ศิลปะกวีนิพนธ์แบ่งออกเป็นสองประเภท  คือ  ละคร  (drama)  และมหากาพย์  (epics)ละครยังแยกออกเป็นโศกนาฏกรรม  (tregedy)  และสุขนาฏกรรม  (comedy)โศกนาฏกรรมและมหากาพย์ต่างจากสุขนาฏกรรมด้วยเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เครียดและเศร้าละครมีลักษณะของการแสดง  (damatic) ส่วนมหากาพย์ใช้การบรรยายเรื่องราว  (เขียนใน Poetics) อริสโตเติลได้ตั้งคำถามสำคัญอันหนึ่งของศิลปะกวีนิพนธ์  คำถามนั้นคือว่าธรรมชาติที่แท้จริงของศิลปะกวีนิพนธ์คืออะไรคำตอบในเรื่องนี้สัมพันธ์กับกฎของการคิดหรือสาเหตุ  4  ประการ  (four  causes)  หรือ  4  แบบของการอธิบาย  (เขียนใน  Physics)  ตัวอย่างของอริสโตเติลเกี่ยวกับประติมากรรม  (ปรากฏใน  Metaphysics)  ดังนี้
1.  สาเหตุทางวัตถุ  (material  cause)  เช่น  บรอนซ์
2.  สาเหตุทางแบบหรือรูปแบบ  (formal  cause)  -  รูปแบบของประติมากรรม
3.  สาเหตุของผล  (efficient  cause)  -  ตัวประติมากรหรือกิจกรรมของประติมากร  และ
4.  สาเหตุสุดท้าย  (final  cause)  -  เป้าหมายหรือประโยชน์ที่ทำให้เป็นประติมากรรมชิ้นนี้
          สาเหตุที่  4  นี้  คือสาเหตุของความดีของโศกนาฏกรรมหรือศิลปะกวีนิพนธ์  ซึ่งใช้เป็นสิ่งประเมินคุณค่าของศิลปะกวีนิพนธ์  มันเป็นข้อสรุปที่เราควรรู้ในการเข้าใจศิลปะกวีนิพนธ์  นอกเหนือจากการสืบสาวเชิงปรนัย  จากลักษณะข้อเท็จจริงของมัน
          ความเพลิดเพลินเฉพาะจากโศกนาฏกรรม (The  proper  pleasure  of  tragedy)
          อริสโตเติลเชื่อว่าการที่เราจะเข้าใจโศกนาฏกรรมได้ดีนั้น  เราจะต้องรู้ถึงบทบาทหน้าที่และเป้าหมาย  (หรือสาเหตุสุดท้าย)  ของโศกนาฏกรรมก่อน  และอริสโตเติลก็เชื่อว่าบทบาทหน้าที่หรือสาเหตุสุดท้ายของโศกนาฏกรรมก็คือ  การให้ความเพลิดเพลินเฉพาะชนิดหนึ่ง  (proper  pleasure)  เป็นความเพลิดเพลินชนิดที่ได้รับจากโศกนาฏกรรมโดยเฉพาะโศกนาฏกรรมในแต่ละชิ้นจะให้ความเพลิดเพลินชนิดนี้ในระดับที่ต่างกัน  ความเพลิดเพลินชนิดนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะใช้ประเมินคุณค่าของโศกนาฏกรรม  แต่ความเพลิดเพลินชนิดนี้มาจากอะไร  คุณสมบัติอะไรในโศกนาฏกรรมที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินแก่เรา อริสโตเติลบอกเราว่ามันมาจากสองสาเหตุ
          1. สาเหตุประการแรกมาจากการเลียนแบบ
          2. สาเหตุประการที่สองมาจากทำนองและจังหวะ  (melody  and  rhythm)
          สาเหตุประการแรกนั้น  อริสโตเติลคิดว่ามนุษย์ในฐานะที่เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล  ย่อมจะได้รับความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบ  เพราะการได้เห็นหรือการได้รู้จักสิ่งที่เลียนแบบคือการเรียนรู้ชนิดหนึ่ง  (เช่น  การได้เห็นภาพสุนัขตัวหนึ่ง)  และการเรียนรู้ทุกอย่างให้ความเพลิดเพลินแก่เรา  ดังนั้นผลงานจิตรกรรม  ประติมากรรม  และกวีนิพนธ์ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการเลียนแบบ  ย่อมจะให้ความเพลิดเพลินแก่เราด้วยถึงแม้ว่าสิ่งที่ถูกเลียนแบบเป็นสิ่งที่ไม่ได้ให้ความเพลิดเพลินแก่เรา  แต่ตราบเท่าที่สิ่งที่เลียนแบบกับสิ่งที่ถูกเลียนแบบมีลักษณะเหมือนกัน  การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น  และย่อมนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน  (จาก  Rhetoric)
สถานะทางความรู้ของศิลปะตามความคิดของอริสโตเติลในลักษณะเช่นนี้  ย่อมแตกต่างไปจากของเพลโต  การเรียนรู้หรือการได้เห็นสิ่งที่เลียนแบบ  คือการมองเห็นลักษณะของสิ่งสากลไม่ใช่สิ่งเฉพาะซึ่งถือเป็นการรู้ที่แท้จริง
          อริสโตเติลคิดว่าในการเห็นภาพสุนัข  เราจะเห็นมันในฐานะที่เป็นสุนัขตัวหนึ่ง  (เห็นลักษณะเหมือนกับสุนัขตัวอื่น)  ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นสุนัขตัวนั้นตัวนี้  (เห็นลักษณะของสุนัขบางตัว)  ดังนั้นความรู้ที่ได้จากศิลปะมีความหมายที่ดีกว่าที่เพลโตกล่าวไว้  ซึ่งถือว่าศิลปะห่างไกลจากความจริงและเป็นสิ่งลวงตา  และดังนั้นความเพลิดเพลินที่ได้จากศิลปะในความคิดของอริสโตเติลย่อมจะมีความหมายที่ดีกว่าด้วย  เพราะเป็นความเพลิดเพลินที่ได้จากการรู้ความจริง
          จากคำอธิบายข้างต้น  ย่อมแสดงให้เห็นว่าโศกนาฏกรรมให้ความเพลิดเพลินแก่เราเนื่องจากการเลียนแบบ  แต่ถ้าความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบในโศกนาฏกรรมเป็นความเพลิดเพลินเดียวกับความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบอย่างอื่น  ความเพลิดเพลินจากโศกนาฏกรรมย่อมไม่ใช่ความเพลิดเพลินเฉพาะชนิดหนึ่ง
          อริสโตเติลได้พยาพยามตอบเรื่องนี้ว่ามีบางสิ่งที่ทำให้ความเพลิดเพลินจากโศกนาฏกรรมแตกต่างจากความเพลิดเพลินชนิดอื่น  บางสิ่งที่ว่านี้คือเนื้อหาที่เลียนแบบ  แต่การตอบเรื่องนี้ไม่ค่อยมีความชัดเจนมากนัก  อริสโตเติลบอกเราว่า  ความเพลิดเพลินชนิดที่เราได้รับจากโศกนาฏกรรม  เพราะเกิดจากการเลียนแบบเหตุการณ์ที่น่ากลัวและน่าเวทนา  (จาก  Rhetoric)  แต่การกล่าวเช่นนี้  ย่อมหมายความว่าความเพลิดเพลินจากโศกนาฏกกรมยังมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับประเภทของเหตุการณ์  หรือเนื้อหาที่เลียนแบบอีก  ถ้าเลียนแบบเหตุการณ์อื่นย่อมให้ความเพลิดเพลินชนิดอื่น  เพียงแต่ถ้าเลียนแบบเหตุการณ์ที่น่ากลัวและน่าเวทนาจะให้ความเพลิดเพลินที่รุนแรงกว่า
          การตีความดังกล่าวอาจจะถูกต้อง  แต่อาจก่อให้เกิดปัญหาบางประการ  เนื่องจากว่าความน่ากลัวและความน่าเวทนา  เป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดเป็นทุกข์  มันจะปลุกความเพลิดเพลินแก่เราได้อย่างไร  คำตอบที่ใกล้เคียงที่สุด  เราน่าจะพบได้จากคำกล่าวของอริสโตเติลที่ว่า  บางสิ่งซึ่งในความเป็นจริงหรือในตัวมันเองเป็นความเจ็บปวด  แต่หากมีการเลียนแบบหรือทำขึ้นมาใหม่ให้เหมือน  ย่อมจะให้ความเพลิดเพลิน  เช่น  การเลียนแบบสัตว์ที่น่ากลัวหรือซากศพ  (จาก  Rhetoric)  บางทีความหมายของอริสโตเติลอาจจะเป็นว่า  เหตุการณ์ที่น่ากลัวหรือน่าเวทนาในละครอาจจะปลุกความรู้สึกที่เจ็บปวดแก่ผู้ดู  อย่างไรก็ตาม  มันไม่ได้ทำลายความเพลิดเพลินที่เราได้รับจากการเลียนแบบซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
          ยังมีการตีความอีกอย่างที่น่าเป็นไปได้ นั้นคือว่าโศกนาฏกรรมเหตุการณ์ที่น่ากลัวกับเหตุการณ์ที่น่าเวทนา เป็นคนละเหตุการณ์กันแต่ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ทั้งสองส่งผลกระทบที่แน่นอนอันหนึ่ง (ปลุกความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง) เมื่อฉากสำคัญได้ผ่านพ้นไป ความรู้สึกที่น่ากลัวหรือเลวร้ายได้คลี่คลายลง ความน่าเวทนาเข้ามาแทนที่ การดำเนินเรื่องของโศกนาฏกรรม  เปลี่ยนความน่ากลัวไปเป็นความน่าเวทนาได้ปลดเปลื้องจากความน่ากลัว (หรือความรู้สึกเจ็บปวดอย่างอื่น เช่น ความโกรธหรือความเกลียดชัง) – ตัวอย่างจากละครเรื่อง โอดิปัส เร็ก (Oedipus Rex) การตีความนี้สอดคล้องความคิดของอริสโตเติล (ใน Rhetoric)
          สำหรับสาเหตุประการที่สองที่ทำให้เรื่องโศกนาฏกรรมปลุกความเพลิดเพลินแก่คนดู คือคุณสมบัติของความกลมกลืนและจังหวะ (Melody and Rhythm) อริสโตเติลพูดถึงเรื่องนี้ไว้เพียงเล็กน้อยและไม้ชัดเจนนัก แต่ชวนให้สงสัยว่า ทำไมความกลมกลืนและจังหวะจึงปลุกความเพลิดเพลินแก่เรา คำตอบที่พอจะพบได้จากอริสโตเติลก็คือว่า เพราะความกลมกลืนและจังหวะจึงปลุกความเพลิดเพลินแก่เรา คำตอบที่พอจะพบได้จากอริสโตเติลก็คือว่า เพราะความกลมกลืนและจังหวะคือคุณสมบัติของความงาม
          อริสโตเติลบอกเราใน (nicomachean Ethics) ว่ากิจกรรมที่สมบูรณ์ย่อมให้ความเพลิดเพลินแก่เรา และเป็นความเพลิดเพลินเฉพาะตัวกิจกรรมชนิดที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความเพลิดเพลินต่างกัน การใช้ผัสสะ (เช่นการดูรูปปั้น) หรือการครุ่นคิด (เช่น การอ่านหนังสือ) เป็นกิจกรรมชนิดหนึ่ง ย่อมให้ความเพลิดเพลินแก่เรา ถ้ากิจกรมนี้สมบูรณ์หรือสัมพันธ์กับสิ่งที่ดีและมีคุณค่าหรือมี ความงามคุณสมบัติของความงามอริสโตเติล หมายถึงความกลมกลืน หรือความมีระเบียบขององค์ประกอบย่อยของสิ่งเหล่านั้น ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์หรือสัตว์เป็นสิ่งสวยงาม และปลุกความเพลิดเพลินชนิดหนึ่งแก่เรา เพราะสัดส่วนหรือองค์ประกอบย่อยต่างๆ ของมัน รวมตัวกันอย่างมีระเบียบและกลมกลืนเหมาะสม ในทำนองเดียวกับการรับรู้โศกนาฏกรรม เราจะได้รับความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง จากมัน ถ้าโศกนาฏกรรมนั้นมีความงาม นั้นคือเหตุการณ์หรือการกระทำในโศกนาฏกรรมนั้นมีความสมบรูณ์และสอดคล้องกัน มีจุดเริ่มต้น จุดกลาง จุดจบ
          คำตอบของอริสโตเติลที่มีต่อเพลโต้
          จากข้อสรุปเกี่ยวกับเป้าหมายหรือบทบาทหน้าที่ของโศกนาฏกรรมได้นำไปสูบรรทัดฐานเชิงวิจารณ์ โศกนาฏกรรมของอริสโตเติลนี้ว่า ลักษณะใดของโศกนาฏกรรมที่จะทำให้บรรลุผลในบทบาทหน้าที่หรือเป้าหมายของมัน คำตอบของอริสโตเติลในเรื่องนี้ ก็คือว่าโครงเรื่อง (plot) หรือชุดของเหตุการณ์ (course of even) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโศกนาฏกรรม จะต้องดำเนินหรือพัฒนาไปในทิศทางที่ส่งผลในอนาคตอย่างจำเป็น (nessesarrity) หรือน่าจะเป็น (profably) ว่าจะต้องเกิดขึ้น และเราสามารถเข้าใจความคิดในเรื่องนี้ได้จากคำอธิบายของอริสโตเติลเรื่องความเรื่องความเป็นปรัชญามากกว่าการเป็นประวัติศาสตร์ของโศกนาฏกรรม
          ประวัติศาสตร์ในความหมายของอริสโตเติล(ใช้ในความหมายแคบ) คือการบันทึกเหตุการณ์เฉพาะอันหนึ่ง ซึ่งไม่ได้พยายามอธิบายถึงหรือเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์อื่นอย่างไร แต่ในกวีนิพนธ์ กวีจะต้องบอกเรา ว่าการกระทำอันหนึ่งเกิดจากแรงกระตุ้นของมันได้อย่างไร และแรง กระตุ้นนั้นเกิดจากสถานการณ์หรือเหตุการณ์หนึ่งได้อย่างไร และการจะบอกอย่างนี้ได้ กวีจะต้องพูดในลักษณะที่เป็นสากล หรือ เป็น กฎทางจิตวิทยา(การที่จะบอกได้ว่าภายใต้สถานการณ์หนึ่ง คนจะต้องมีพฤติกรรมอย่างนั้นอย่างนี้อย่างน่าจะเป็นหรืออย่างจำเป็น) กวีนิพนธ์บอกเราถึง “เหตุการณ์สากล” (ลักษณะของปรัชญา) แต่ประวัติศาสตร์บอกเราถึง “เหตุการณ์เฉพาะ
          อันที่จริงอริสโตเติลไม่ได้ต้องการจะเน้นว่ากวีนิพนธ์มีความเป็นปรัชญามากกว่าประวัติศาสตร์ แต่ต้องการจะบอกเราว่า กวีนิพนธ์เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทางจิตวิทยา” (Psycological knowledge) ขณะที่ประวัติศาสตร์ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่ความคิดนี้กลายเป็นต้นกำเนิดสำคัญของทางทฤษฏีทางสุนทรียศาสตร์มากมายในเวลาต่อมา ที่มีรากฐานความเชื่อที่ว่ากวีนิพนธ์หรือศิลปะ คือการเลียนแบบสิ่งสากลหรือแก่น (art as imitation of universals or essences)
          การที่อริสโตเติลอธิบายว่า กวีนิพนเกี่ยวข้องกับความรู้ทางจิตวิทยา เพราะจะต้องการจะบอกว่ากวีนิพนธ์มีเนื้อหาที่แสดงสติปัญญามันมีนัยแฝงแห่งการโต้ตอบเพลโต้ ที่บอกเราว่ากวีคือผู้หลอกลวง กวีไม่ได้มีความรู้ที่แท้จริง (กวีพูดถึงเรื่อแต่ไม่ได้พูดถึงความรู้เรื่องเรือ) ความคิดนี้ไม่ถูกต้อง แท้ที่จริงแล้ว กวีเป็นผู้ที่มีความรู้ในธรรมชาติของมนุษย์ (ความรู้ทางจิตวิทยา) ถ้ากวีไม่มีความรู้ชนิดนี้ ย่อมไม่สามารถเขียนกวีนิพนธ์ที่ดีและมีโครงเรื่องที่กลมกลืนกันได้ หรือมีการเลียนแบบการกระทำของมนุษย์ได้สำเร็จ จากการอ้างเรื่องการรู้กฎทางจิตวิทยาของกวีนิพนธ์ (แสดงว่าเป็นเรื่องจริง เพราะไม่เช่นนั้นเหตุการณในเรื่องย่องหลีกเลี่ยงได้และจะทำให้การดำเนินเรื่องขาดความกลมกลืน) ของอริสโตเติล แสดงว่าเขามีลักษณะของนักวิจารณ์โครงสร้าง (structure critic) นักวิจารณ์ที่มีหน้าที่วิเคราะห์โครงสร้างหรือโครงเรื่อง ว่าได้แสดงอะไรที่ปลุกความเพลิดเพลินของโศกนาฏกรรมแก่เรานอกจากนี้อริสโตเติลยังมีลักษณะของนักวิจารณ์ทางภาษา (textual critic) ด้วย – นักวิจารณ์ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ของระดับภาษาในบทประพันธ์ (ลักษณะนี้พบได้ในงานเขียน Rhetoric และ Poetics) ลักษณะทั้งสองทั้งการวิจารณ์โครงสร้างและการวิจารณ์ภาษา ได้ส่งอิทธิพลให้กับนักพูดและนักวิจารณ์ของยุคฟื้นฟูและสมัยใหม่ตอนต้นเป็นจำนวนมาก
          ยังมีเรื่องน่าพิจารณาอีกเรื่องหนึ่งของอริสโตเติล เรื่องนี้อริสโตเติลพูดไว้น้อยมากและแปลความหมายยาก เรื่องการใช้คำๆ หนึ่งในโศกนาฏกรรม คำนั้นคือคำว่า การชำระให้บริสุทธิ์” (catharsis) อริสโตเติลเขียนไว้ในบรรทัดสั้นๆ (ใน Poetics) แต่มีการนำคำนี้มาตีความหมายอย่างหลากหลาย และมีการวิจารณ์จนเกิดทฤษฏีที่หน้าสนใจมากมายในหลายทศวรรษต่อมา มีการแปลคำนี้ไว้สองความหมาย
          ความหมายแรกเป็นความหมายที่นิยมใช้ต่อกันมา แปลโดย บัตเช่อร์ (S.H. Butcher) ซึ่งแปลประโยคที่แสดงความคิดนี้ของอริสโตเติลจากภาษากรีกเป็นภาษาอังกฤษว่า (through pity and fear effecting the proper purgation of these emotion – ผลจากการปลุกอารมณ์น่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรมแก่ผู้ชม จิตใจของผู้ชมถูกชำระให้บริสุทธิ์) ทฤษฏีโดยทั่วไปที่อ้างถึงอริสโตเติลตีความว่าจากการปลุกอารมณ์อันน่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรม ได้ส่งผลต่อจิตใจของผู้ชม ให้เกิดความเพลิดเพลินจากการได้ปลดเปลื้องความทุกข์จิตใจสงบ กิเลสถูกชำระจนหมดสิ้น ความหมายนี้ยังมีการตีความแยกย่อยไปอีก เช่น การเปรียบเทียบการชำระความเจ็บปวดให้หมดสิ้นจากร่างกายในความหมายของยารักษาโรค (medical interpretion) ความหมายนี้สอดคล้องเกี่ยวกับงานเขียน (poetics) ของอริสโตเติลเอง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแปลความหมายในลักษณะนี้ก็คือว่าอารมณ์ที่ปลดเปลื้องจิตใจผู้ชมให้บริสุทธิ์นั้นเป็นเพียงอารมณ์น่ากลัวและน่าเวทนาเท่านั้น หรือรวมหมายถึงอารมณ์ที่ไมพึงปรารถนาทั้งหมด
          ความหมายที่สองแปลโดย เอลส์ (Gerald F. Else) ซึ่งท้าทายความหมายที่บัตเช่อร์แปล เอลส์แปลไว้ดังนี้ จากการนำไปสู่เป้าหมายด้วยชุดของเหตุผลอันน่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรม ความเจ็บปวดและเคราะห์กรรมจากการกระทำอันน่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรม ถูกชำระไปจนหมดสิ้น (carrying to completion through a course of events involing pity and fear, the purification of those painful or fatal act which have that quality) การชำระให้บริสุทธ์ในความหมายนี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงผลในใจผู้ชม (เรื่องของจิตวิทยา) ทั้งหมดแต่บางอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตังโศกนาฏกรรมเอง (เรื่องโครงสร้าง) เป็นผลมาจากเหตุการณ์ที่ดำเนินไปอย่างแน่นอนของโครงเรื่อง ความเจ็บปวดจากการกระทำอันหน้าเศร้าของตัวละครถูกชำระไปจนหมดสิ้น เมื่อเรื่องราวดำเนินไปให้ตังละครเกิดความสำนึกผิด และการกระทำผิดของตังละครได้รับการอภัยจาอผู้ชม
          ความหมายที่บัตเช่อร์แปลได้รับการยกย่องมากกว่าเอลส์แปลเนื่องจากสอดคล้องกับข้อความที่อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับเรื่องดนตรีในระบบการศึกษา (ในเล่มแปดของ politics) ซึ่งสะท้อนและพัฒนาจากความคิดของเพลโต้ (ใน laws) อริสโตเติลพูดว่า ดนตรีให้ประโยชน์ในการปลดเปลื้องอารมณ์แก่เรา ในการฟังทำนองเพลงทางศาสนา อริสโตเติลคิดว่าจิตใจของเราจะถูกทำให้สงบเหมือนถูกเยียวยาและถูกทำให้บริสุทธ์ ผลเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับดนตรีที่แสดงอารมณ์น่ากลัวและน่าเวทนาหรืออารมณ์ชนิดอื่นๆ เป็นความตั้งในของอริสโตเติลที่จะนำทฤษฏีการชำระให้บริสุทธิ์ของดนตรี(ใน politics) มาสร้างทฤษฏีที่ใช้กับโศกนาฏกรรม (ใน politics) ในขณะที่ความหมายของเอลส์ไม่สอดคล้องกับแบบแผนของโศกนาฏกรรมนี้ของอริสโตเติล
          สิ่งที่ทำให้ความหมายที่บัตเช่อร์แปลน่าเชื่อถือมากที่สุดน่าจะมาจากความหมายนี้มีนัยแฝงการโต้แย้งความคิดของเพลโต้ที่ว่ากวีนิพนธ์ทำได้เพียงการหล่อเลี้ยงกิเลส และสุดท้ายจะนำไปสู่การทำลายความกลมกลืนของจิตวิญญาณ และความมีเหตุผลของคนในสังคมอริสโตเติลคิดว่าไม่มีเรื่องเช่นนี้ ถ้ามองตามที่เห็นโดยตรงอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าดูผลตามจิตวิทยาแล้ว (มีการปลดเปลื้องอารมณ์) จิตใจจะถูกชำระให้บริสุทธิ์และได้พบแสงสว่างราวกับผู้มีศรัทธาทางศาสนา ผู้มีประสบการณ์กับโศกนาฏกรรมที่ยาวนาน จิตใจจะสงบและฉลาด เพราะเขาถูกกำจัดอารมณ์อันไร้เหตุผล ซึ่งเป็นพิษทางอารมณ์และจิตใจออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า อันที่จริงแล้ว ถึงแม้อริสโตเติลไม่พูดถึงทฤษฎี “การชำระให้บริสุทธิ์” เขายังตอบปัญหาในเรื่องนี้ให้กับเพลโตได้อย่างน้อยความงามของโศกนาฏกรรมที่อริสโตเติลเคยพูดไว้ เป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินที่ไม่มีพิษและมีภัยและมีคุณค่าอยู่แล้ว (เพลโตก็เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ใน Philebus) หรืออย่างน้อยเราก็สามารถพูดได้ว่าความไร้ศีลธรรมในโศกนาฏกรรมไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว บางทีจุดประสงค์ของอริสโตเติลอาจจะอยู่ที่ว่า บรรทัดฐานของโศกนาฏกรรมไม่น่าจะเป็นศีลธรรม แต่น่าจะเป็นเรื่องของสุนทรียะเองมากกว่า
          สรุปได้ว่าสำหรับอริสโตเติลแล้ว ศิลปะไม่ว่าจะเป็นแบบชนิดใดก็ตามก็เป็นเรื่องของความรู้เป็นเรื่องของการเปิดเผยทำความจริงให้ปรากฏ  และเป็นการช่วยให้เราเข้าถึงความจริงศิลปะจึงเป็นสิ่งที่มีสถานะทางความรู้ที่ได้รับความสำคัญและได้รับการยกย่อง ในมุมมองของอริสโตเติล   ศิลปะเป็นสิ่งที่ดีและมีคุณค่า ศิลปะเป็นสิ่งที่ให้ทั้งความรู้ ความสุข ความเพลิดเพลิน   อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มีผลดีทางจิตวิทยาในการช่วยปลดเปลื้องอารมณ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย   และยังช่วยชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ทำให้จิตใจสงบได้  สำหรับอริสโตเติล   ศิลปะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง การตัดสินศิลปะจึงต้องไม่ใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของศิลปะ  เช่น  ศีลธรรม ศาสนา การเมือง แต่ต้องตัดสินด้วยมาตรการทางความงามเอง ซึ่งเป็นแนวคิดแบบที่เรียกว่าศิลปะเพิ่อศิลปะนั้นเอง

3. เนื้อหาทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ สารัตถะสำคัญของบทประพันธ์

สารัตถะสำคัญของบทประพันธ์
          ในปัจจุบัน เราพยายามพิสูจน์คำประพันธ์ทั้งสองคือ Poetry กับ Verse ว่าเป็นสิ่งเหมือนกันโดยเหตุผลของเราก็คือว่า บทประพันธ์บทหนึ่งเป็นผลงานเขียนที่ได้บรรจงจัดให้อยู่ในบรรทัดที่มีแบบแผนเป็นจังหวะที่จำกัดตายตัวไว้ พร้อมกับแสดงออกซึ่งความรู้สึกและความประทับใจต่าง ๆ ของบุคคลด้วย เราแยกคำประพันธ์ออกจากงานร้อยแก้ว คือ ภาษาของการพูดการเขียนโดยทั่ว ๆ ไป
          แต่คำประพันธ์นั้นก็มีความหมายกว้างมากกว่า ที่มีการใช้ในปัจจุบัน คำศัพท์นี้ก็ได้มาจากคำของกรีกที่มีความหมายว่า การสร้าง (to make) นั่นเอง ตามธรรมดาโดยทั่วๆ ไปแล้วคำประพันธ์(Poetry) ได้หมายถึง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ มันก็รับเอาความหมายแห่งการสร้างสรรค์ตามตัวอักษรไป กล่าวให้ชัดเจนโดยสรุป ก็คือว่า จินตกวี นั้นโดยที่เราเห็นว่าแตกต่างไปจากปฏิมากร จิตรกร และศิลปินอื่น ๆ แสดงผลงานต่าง ด้วยถ้อยคำในการเขียน
          อริสโตเติล กล่าวไว้ในตำราเรื่องคำประพันธ์ที่มีชื่อมากว่า คำประพันธ์ คือ การลอกเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ได้แสดงออกทางภาษา ด้วยอาศัยการประสานกลมกลืนและมีจังหวะแต่คำว่า การลอกเลียนแบบตามทรรศนะของอริสโตเติลนั้น มิได้หมายเอาการถ่ายแบบเหตุการณ์ต่าง ตามปกติ ดังเช่น เทปบันทึกเสียง หรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่สามารถทำให้ได้เขาหมายถึงลักษณะที่แสดงเป็นตัวแทนรูปการต่าง ๆ ที่เป็นสากลในประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งมองเห็นได้อย่างสุขุมด้วยจิตของจินตกวี แล้วแสดงออกมาให้ปรากฏในลักษณะนิสัยต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมพร้อมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ และบทสนทนาที่เขาแต่งขึ้นด้วย
          ตามทรรศนะนี้ เราก็จะเห็นจุดประสงค์ได้ว่า คำประพันธ์นั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องเขียนคำร้อยกรองในเรื่องนี้เราอาจนึกภาพออกของเรื่องที่แสดงความกล้าหาญหลาย ๆเรือง คือ มหากาพย์ของกวีโฮเมอร์(Homer-900 or 1200 BC.) ก็อาจเขียนภาษาร้อยแก้วได้ และแม้แต่ผลงานประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก็เขียนเป็นภาษาร้อยกรองหรือเป็นคำประพันธ์ก็ได้ ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญก็อยู่ระหว่างเรื่องคิดแต่งขึ้นและเรื่องที่มีปรากฏเป็นไปอยู่นั่นเอง แต่สำหรับอริสโตเติลแล้ว จินตกวีนั้นโดยที่จริงก็คือ นักเล่าเรื่อง นักสร้างเรื่องลึกลับ และนักเขียนนิยายนั่นเอง
          อริสโตเติลใช้เวลาไปในคำประพันธ์ประเภทลีริค (lyric-โคลงแสดงความร่าเริง) เล็กน้อยมาก ซึ่งเป็นคำประพันธ์ชนิดที่ผูกขาดความสนใจของเราที่สำคัญจริง ๆ นั้น เขาเกี่ยวข้องอยู่กับคำประพันธ์ที่คับแคบทั้งเรื่องมหากาพย์ตามรูปแบบ เช่น อีเลียด (Iliad) และโอดีสซี่(Odyssey) ของกวีโฮเมอร์นั่นแหละ หรือประเภทบทละคร เช่น อีดิบุศ(Oedipus Rex) และ Antigone ของโซโฟคลีส (Sophocles-496-406BC.) ตามทรรศนะของอริสโตเติล แบบแผนของเสียงและจังหวะก็ดี ท่วงทำนองและฉันทลักษณ์ตามรูปแบบก็ดี  ต่างก็มีความสำคัญอันดับรอง สิ่งที่สำคัญหลัก ๆ ตามทรรศนะของเขาก็คือ สิ่งที่บทประพันธ์มุ่งหมายถึง นั่นคือ ลำดับเหตุการณ์แห่งพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีปฏิบัติต่อกันและกันมา
          สถาบันฝึกฝนนักวิจารณ์อื่น ๆ จากสมัยที่แรกเริ่มที่สุด ก็ได้ย้ำถึงลักษณะต่าง ๆ ของคำประพันธ์โดยทางไวยากรณ์และทางวาทศิลป์ Horace นักเขียนโรมัน ผู้ได้เขียนผลงานเป็นคำประพันธ์ไว้ด้วย ก็รวมเอาไว้ในองค์ประกอบต่าง ๆของเสียง รูปทรงและการเตรียมการด้านคำพูดส่วนนักวิจารณ์หน้าใหม่ ๆ ได้โดดเด่นขึ้นมาในอาณาจักรวิชานี้สมัยปัจจุบัน ก็สังกัดอยู่ในสถาบันแห่งการวิจารณ์สมัยโบราณนี้ด้วย พวกเขาเป็นผู้มีชื่อเสียงในการวิจารณ์ที่ใกล้ชิดเช่นเดียวกับภาษาในบทประพันธ์ร้อยกรอง คือ ตามแบบลีริคนั่นเอง
          หากเราจะให้ความสนใจเฉพาะในเรื่องสารัตถะของคำประพันธ์ ตามที่อริสโตเติลแนะนำเราก็ผูกพันอยู่กับการจำแนกชั้นนวนิยาย และบทละครประเภทร้อยแก้วว่าเป็นคำประพันธ์แล้วเราก็จะไม่ประหลาดใจอะไรที่จะได้ยินเซอแวนตีส (Cervantes 574-16616 AD.) ฟิลดิง (Fielding) ของสกอตเรียกมันว่าเป็นบทประพันธ์ และเราก็จะไม่ผิดเลยที่จะเรียก เฮมิงเวย์(Hemingway) ฟอล์คเนอร์ อาเธอร์ มิลเลอร์และเทนเนสซี่ วิลเลียมศ์ว่าเป็นจินตกวี ด้วย
          พวกนักวิจารณ์เห็นแตกต่างกันมาตลอดยุค เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าเราจะยึดคำประพันธ์จริง ๆ จัง ๆ ได้อย่างไร บางคนเห็นภาระหน้าที่พื้น ๆ ของคำประพันธ์ว่า เป็นการเอื้ออำนวยความพึงพอใจการพักผ่อนหย่อนใจ และความชื่นชมยินดีให้ นี่ก็เป็นทรรศนะของโฮเรส (Horace) นักคิดคนอื่นๆ ก็ยังยืนยันว่า คำประพันธ์นั้นมีหน้าที่ด้านศีลธรรมและด้านการเผยแพร่ ที่อำนวยให้เราด้วยคำแนะนำพอๆ กับความชื่นชมยินดี โมโมนิเดส นักปรัชญาชาวยิว แม้จะพิจารณาคำประพันธ์แบบโลก ๆ อันไม่ใช่เรื่องจริงจังที่มิใช่แบบอย่างที่ดี ก็พบอินทรีย์ภาพทางความคิดเป็นสารัตถะสำคัญในการประกาศคำสอนทางศาสนา วีโก(Vico)นักปรัชญาชาวอิตาเลียนก็คิดว่าคำประพันธ์นั้นเป็นแบบต้นกำเนินเดิมของการแสดงออกทางศาสนา
          อย่างไรก็ดี เพลโตมีความรู้สึกรุนแรงมากเกี่ยวกับแนวทางที่ว่า จินตกวีมีความเกี่ยวเนื่องกันกับความจริงพื้นฐานทางศีลธรรมและศาสนา ซึ่งเขาได้ขจัดออกไปจากชุมชนในอุดมคติ แต่ตามปกติ อริสโตเติล ก็ถือเอาความคิดสายกลาง นั่นคือว่า เขาเห็นว่าคำประพันธ์นั่นได้อำนวยความสนุกเพลิดเพลิน และการผ่อนคลายทางอารมณ์ที่น่าปรารถนามาให้ อนึ่ง เขาถือว่าคำประพันธ์นั้นอำนวยการสิ่งแต่งแทนในลักษณะต่าง ๆ แห่งสิ่งสากลของชีวิต แต่สำหรับอริสโตเติลแล้ว การจินตนาการทางด้านคำประพันธ์ เกี่ยวข้องกับความจริงที่เป็นสารัตถะสำคัญและจำต้องยึดถือเอาอย่างจริงจังมากด้วย
4. การประยุกต์ใช้ทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ที่สอดคล้องกับกลอนลำ

ผู้ศึกษาได้นำหัวข้อเรื่องที่จะวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานในกลอนลำของหมอลำราตรี ศรีวิไล มาประยุกต์ใช้กับทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ ของอริสโตเติล ในประเด็นของสารัตถะสำคัญของบทประพันธ์ โดยผู้ศึกษาได้นำเสนอในรูปแบบของการ อภิปรายผล โดยการจำลองการวิเคราะห์กลอนลำในด้านการปฏิบัติทางศาสนา เกี่ยวกับ การตาย ในบทกลอนลำของ หมอลำราตรี ศรีวิไล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
วัฒนธรรมที่จัดตามแนวสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ซึ่ง Clack Wissler ได้จัดไว้ในหนังสือ Man and Culture มีถึง 9 ประเภทด้วยกัน (บุญลือ  วันทายนต์,  2539) คือ
          1. คำพูด (Speech) อันหมายถึง ระบบภาษาและระบบการเขียน ฯลฯ
          2. สิ่งที่เกี่ยวกับวัตถุ (Material Traits) อาจแยกออกเป็นประเภท ต่าง ๆ ดังนี้
                   2.1 อาหารและการรับประทาน อันหมายถึงอาหารที่แต่ละสังคม รวมถึงรูปแบบหรือวิธีการรับประทาน ฯลฯ
                   2.2 ที่อยู่อาศัย หมายรวมถึง รูปทรงของอาคาร สภาพของอาคารโล่งหรือทึบ มีหลังคาแหลม (roof) หรือ เรียบ (flat) ฯลฯ
2.3 การคมคมและการขนส่ง ซึ่งได้แก่ วิธีการจัดการ การดำเนินการฯลฯ
2.4 เครื่องแต่งกาย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแต่ละสังคม ฯลฯ
2.5 เครื่องมือ เครื่องใช้ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องใช้ประจำวัน ฯลฯ
2.6 อาวุธ ยุทธภัณฑ์ อันได้แก่ เครื่องมือป้องกันตนเองและสังคมฯลฯ
2.7 อาชีพและอุตสาหกรรมอันหมายถึง การหาเลี้ยงชีพตามความสามารถของตน ฯลฯ
          3. ศิลปะ(Art) แยกเป็น
                   3.1 การแกะสลัก วัสดุที่ใช้และวิธีการกระทำ
3.2 การะบายสี วิธีการกระทำ การผสมสี แหล่งที่มาของสี
3.3 การวาดเขียน วาดลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น บนผ้า กระดาษ ห้องน้ำ ฯลฯ
3.4 ดนตรี วัสดุที่นำมาใช้ทำดนตรี จังหวะของดนตรี
          4. นิยายปรัมปรา หรือเทพนิยาย และความรู้ทางวิทยาการต่าง ๆ (Mythology and scientific Knowledge) อันหมายถึง วิธีการถ่ายทอดความรู้สึกให้กับสมาชิกสังคมอย่างหนึ่ง
          5. การปฏิบัติทางศาสนา (Religious practice) แยกออกเป็น
5.1 แบบพิธีกรรม
5.2 การปฏิบัติต่อคนเจ็บ
5.3 การปฏิบัติต่อคนตาย
          6. ครอบครัวและระบบทางสังคม (Family and social system) แยกออกเป็น
          6.1 แบบการแต่งงาน
6.2 วิธีนับวงศ์ญาติหรือเครือญาติ
6.3 การรับมรดก
6.4 เครื่องควบคุมทางสังคม เช่นระเบียบข้อบังคับ
6.5 กีฬาและการเล่นต่าง ๆ
7. ทรัพย์สมบัติ (Property) แยกออกเป็น  
7.1 สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้
7.2 มาตรฐานการตีราคาและแลกเปลี่ยน
7.3 การค้า
8. รัฐบาลและการปกครอง (Government) แยกออกเป็น
8.1 รูปลักษณะทางการเมือง
8.2 กระบวนการเกี่ยวกับศาล และกฎหมาย
9. การสงคราม (War)
 ผู้เรียบเรียงได้ศึกษากลอนลำของแม่ครูราตรี ศรีวิไลในเบื้องต้นแล้วนั้น ปรากฏว่าเนื้อหาของกลอนลำมี ที่สอดคล้องกับการจัดตามแนวสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ของ Clack Wissler ที่ได้จัดไว้ในหนังสือ Man and Culture มีอยู่  5  ประเภท คือ
          1. คำพูด คือ ระบบภาษา และระบบการเขียน
                    2. นิยายปรัมปรา  คือ ตำนาน วรรณกรรมพื้นบ้าน
                    3. การปฏิบัติทางศาสนา คือ การเป็น การตาย
                    4. ครอบครัวและระบบทางสังคม (Family and social system) แยกออกเป็น 1) แบบการแต่งงาน 2) เครือญาติ  3) การควบคุมทางสังคม เช่น ระเบียบข้อบังคับ 4) กีฬาและการเล่นต่าง ๆ
          5. รัฐบาลและการปกครอง (Government) แยกออกเป็น 1 รูปลักษณะทางการเมือง 2 กระบวนการเกี่ยวกับศาล และกฎหมาย
จากประเภทของสังคมและวัฒนธรรมที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนจึงได้กรอบแนวคิดเพื่อใช้ในการอภิปรายผลดังนี้

กรอบแนวคิดในการวิจัย



ตัวอย่างกลอนลำที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาพสะท้อน ด้านวัฒนธรรม: การปฏิบัติทางศาสนา (การตาย)

กลอน ฮ่ำฮอนนำสังขาร
ประพันธ์โดย แม่ครู ราตรี  ศรีวิไล
(ทำนอง ลำทางล่อง)

(กลอนขึ้น)
          โอ่ย..โอ่ยละนอ..
          ยากเอ้ยยากยุ่งลุงลัง  เป็นตาหน่าย          คิดยากนำความเจ็บ คิดยากนำความตาย
          มันสิมาเเล่นจ้อ  แม่นขอไว้กะบ่อฟัง..                  อนิจจาวตสังขารา..ละน้า

บทที่ 1  (เนื้อในกลอน)   
                             อันนี้  เพิ่นว่าสังขารข่อน            อย่ามัวนอนหลับใหล ชีวิตใกล้สิหมิ่นหม่อ
                    เวลาบ่คอยรอ                                 สายนทีบ่อยู่ถ้า จวนจ้อ หม่อแก่กาล
บทที่ 2                    หมั่นมองเบิ่งรอบด้าน               การเกิดแก่เจ็บดับ        
ฮอดเวลาพญาโยมสิมาฮับ                    แม่นหลีกหนี  กะนำค้น
                   ไปบ่กลับหลับ บ่ฟื้นฝืน บ่มีหนีบ่พ้น          สังขารคน มันจริงแหน่
พวกพ่อแม่พี่น้อง                              คิดคือข่อย แน่บ่น๊อ
บทที่ 3                    ฉันสังมาคิดพ้อ                       ความยากสินำทัน                  
บ่อนสิทำลายขัน                              แก่ชรามาใกล้ 
                   เกิดมีเจ็บมีไข้                                  ภัยวิบัติทั้งสี่                         
ความเกิดแก่เจ็บตาย แม่นจั่งใด              ก็ต้องพ้ออีหลี สิมีเงินหมื่นล้านมาซื้อกะบ่อฟัง 
บทที่ 4                     คราวเฮายังหนุ่มแน่น                กำลังตึงกำลังเต็ม           
ไผมาเห็นกะว่าสวยว่างาม                     อยากจูบดมชมแก้ม
จักหน่อยนี้คอยถ้าแนมหนังเนื้อ              สิแปรปรวนเป็นแนวใหม่ 
เนื้อกะสิเหี่ยว  ตากะสิฟาง          หลังกะสิขดโก่งโก้ม ลุกกะโอย นั่งกะโอ้ย ผมซ้ำสิหงอกนำ 
บทที่ 5                     คางกะสิบ้ำเป็นค้ำม้ำ                ปากกะสิแข่วหล่นฟันหลุด 
มีแต่แนวสิซำรุด                               แก่ชราลงแล้ว   
                   เป็นนำสั่งขารแหล่ว                           เพพังยั้งบ่ออยู่            
อะนิจังวัตตะสังขาลา                         พระยังบอกให้ฮู้  คือบ่วงมัดแอว   
บทที่ 6                     บอกว่ามีเกิดแล้ว                    ผัดมีแก่ตามมา
มีแก่แล้วเจ็บผัดแล่นมาหา                    สู่มื้อนี้โรคบางโตบ่มียา  รักษาให้หายได้
โรคตายไวเป็นฮ้าย                            แม่นโรคหัวใจวาย  ฮอดบ่ได้ไข้ป่วย 
หม่องนี้ละหม่องสิอ่วย                        เข้าไปในป่าช้า มันเป็นน่าคิดนำ..เด้นอคน..ละน้า
บทที่ 7                     จั่งได้ว่า สังขารของคนนั้น           มันผันแปรได้ทุกแห่ง 
                   ผลสุดท้ายถิ่มความฮักความแพง             ไปนอนอยู่ป่าช้าหันหน้าอ่วยหนี             
บทที่ 8                     ทุกคนในโลกนี้                       ต้องพลัดพรากจากคนฮัก 
เป็นข้าวของเงินทอง ๆ                       บ่อฮ่อนเอาไปได้                    
พร้อมทังเฮือนซานสร้าง                      หลังงาม ๆ ปลุกใหม่ๆ    
คันผัวตาย เมียกะเอาผัวใหม่                 คันเมียตายผัวกะเอาเมียใหม่ 
เฮือนซานปลูก สร้างไว้                       เขากะได้อยู่แทน                   
บทที่ 9                     คิดต่อญาติพี่น้อง                    ผัวเคยฮักเมียเคยหอม     
ซอมเบิ่งเด้อ  บัดยามตาย                    บ่มีไผอยากไปนำ  ฮอดกลัวเกรงซ้ำ
มีแต่บุญกรรมสร้าง                           สิ่งสิพานำทาง พอได้ไปเป็นหมู่
คิดต่อญาติพี่น้องเพิ่นกะไปนำอยู่            ส่งฮอดแค่ป่าซ้าสาแล้วกะเล่าคืน 
บทที่ 10                    ผัวเคยฮักเมียเคยแพง               เขากะติสะอื้นให้นำอยู่พอมันคือ 
สองสามเดือน  พอปานแกวเมืองเลย ๆ      บ่คิดนำพอดี้ 
หนีไปคอยคองซู้                               ไปหาซูซู้เอาผู้ใหม่                  
ส่วนผู้ตาย เขาเอาไผจูดจ้อ                   บ่เหลือไว้ท่อใย 
บทที่ 11                    ย้านแต่มันบ่อไหม้                   ฟืนด้นใหญ่ปานหยัง      
ทั้งโซล่าน้ำมัน                                 ยางรถตำเข้าไปพร้อม 
ชอมให้ดีเด้อท่าน ชีวิตคนบ่มีหยังเป็นแก่สาร อย่ามัวค้องข่องแต่บ่วง 
นี้ละหม่องฉันราตรีเป็นห่วง                   สังขารคนบ่เที่ยงมั่นจริงแท้แน่นอน
บทที่ 12                    เพราะฉะนั้นให้รีบร้อน              เอาใจใส่ทำบุญ..เดอพี่น้อง 
รักษาศีลกินทาน                              อย่านัดวันประกันพรุ่ง 
อย่าผลัด ไปปีหน้า                            ปีสิมาปีใหม่     
ความเกิดแก่เจ็บตาย  มันบ่รออยู่ใด๋         ตกหว่างคราวฮอดมื้อ ขอไว้กะบ่ฟัง
บทที่ 13                    องค์พระธรรมคำสอน               เตือนให้สังวรไว้ ในเรื่องสังขาร     
สังขะราสังฆะรัง                               อณิจังทุกขังเที่ยงจังอย่านอนนิ่ง
เอกะนามะจิง                                 คือความตายมันเที่ยง 
ของจริงตั้งเที่ยง  ให้หลีกเลี่ยงความชั่วช้า  อย่ามัวข้องบ่วงกาม
บทที่ 14                    คำพระสอนกล่าวย้ำ                 ว่าคนทุกข์ย้อนตัณหา              
อวิชามาบัง                                    ครอบงำนำจ้อ   
จั่งได้ว่าตัณหาฮักลูก นั้นคือเซือกผูกคอ      ตัณหาฮักผัวฮักเมีย  นั้นคือปอผูกศอก 
ตัณหาฮักข้าวของเงินทอง                     นั้นคือปลอกสุบตีน
บทที่ 15                    พี่น้องเอ้ยอย่าสิมัวดั่นดิ้น           ให้ปีนสู่ทางนิพพาน                
วัตวนสงสาร                                  จ่องให้คนวนบ้า
ฟ้าวแล่นหา                                   บุญกุศลผลทานไว้                            โกรธโลภหลงโปลงไป                              ถิ่มออกไว้ให้มัน..ห่าง
ชีวิตคน เปรียบเสมือนเฮาอย่าง               อยู่เทิงบนเส้นด้ายจักมื้อใด๋สิโยกย้าย    
หงายตุ้มแม่นหล่นลง..หงายตุ้มแม่นหล่นลง.. ละน้า..

จากตัวอย่างกลอนลำฮำฮอนนำสังขาร ที่ผู้ศึกษานำมาวิเคราะห์ดังกล่าว ผู้ประพันธ์กลอนลำได้สะท้อนให้เห็นถึง สังขารในขันธ์ 5 คือ 1) กายสังขาร การปรุงแต่งกาย คือ ลมหายใจ หมายเอาการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในอิริยาบถต่าง    2) วจีสังขาร การปรุงแต่งวาจา คือ วิตก การตรึก วิจาร การตรอง หมายถึง การคิดปรุงแต่งต่าง ๆ และ 3) จิตสังขาร การปรุงแต่งจิต คือ เจตสิก ได้แก่ อารมณ์ต่าง ที่ปรุงแต่งจิตให้มีอาการเป็นไปต่าง ซึ่งก็อยู่ในวังวนของ อนิจจาวตสังขารา ที่หมายถึงร่างกายสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงด้วยกันทั้งสิ้น ดังตังอย่างคำกลอนที่ว่า คราวเฮายังหนุ่มแน่นกำลังตึงกำลังเต็ม ไผมาเห็นกะว่าสวยว่างามอยากจูบดมชมแก้ม จักหน่อยนี้คอยถ้าแนมหนังเนื้อ  สิแปรปรวนเป็นแนวใหม่  เนื้อกะสิเหี่ยวตากะสิฟาง หลังกะสิขดโก่งโก้ม ลุกกะโอย นั่งกะโอ้ย ผมซ้ำสิหงอกนำ จะเห็นได้ว่าสังขารคนมีอันต้องอิดโรยไปตามกาลเวลา ในขณะสังขารยังสมบูรณ์คำชมว่าสวยงามยังมีอยู่มากมายในโลกนี้ ทำให้จิตคนมีอารมณ์ปรุงแต่งต่อสังขารนั้นขึ้นมาจนทำให้เกิดกิเลส แต่สุดท้ายร่างกายก็ต้องดับสลายตามกาลของชีวิต
          และในกลอนลำยังสะท้อนให้ผู้ฟังหาทางดับทุกข์ คือ อริยสัจ 4 ได้แก่ 1) ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ล้วนเป็นทุกข์ 2) สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง 3) นิโรธ  คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน และ 4) มรรค  คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ ด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้ ดังตัวอย่างคำกลอน ว่า ทุกคนในโลกนี้ต้องพลัดพรากจากคนฮัก  เป็นข้าวของเงินทอง ๆ บ่อฮ่อนเอาไปได้  พร้อมทังเฮือนซานสร้าง  หลังงาม ๆ ปลุกใหม่ คันผัวตาย เมียกะเอาผัวใหม่คันเมียตายผัวกะเอาเมียใหม่  เฮือนซานปลูก สร้างไว้เขากะได้อยู่แทน  คิดต่อญาติพี่น้องผัวเคยฮักเมียเคยหอม ซอมเบิ่งเด้อ  บัดยามตาย บ่มีไผอยากไปนำฮอดกลัวเกรงซ้ำ  มีแต่บุญกรรมสร้างสิ่งสิพานำทาง พอได้ไปเป็นหมู่ คิดต่อญาติพี่น้องเพิ่นกะไปนำอยู่  ส่งฮอดแค่ป่าซ้าสาแล้วกะเล่าคืน
          จะเห็นได้ว่าผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์กลอนลำที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่ปฏิบัติต่อศาสนา คือการตาย ของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติใกล้ตัวของผู้ประพันธ์เองและผู้คนทั่วไป ในคำกลอนสอนให้คนตระหนักไม่ประมาณต่อการดำรงชีวิต เพราะร่างกายของเราต้องมีดับสิ้นไป ควรหมั่นทำบุญสร้างความดีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ลุ่มหลงตัณหา ละโมบโลภมาก หมั่นสร้างคุณงามความดีไว้ในโลก และสุดท้ายสอนให้ปล่อยวางอย่ายึดติดกับทางโลก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ ของอริสโตเติล (อ้างอิงใน พ่วง มีนอก, 2536) ได้ให้ทรรศนะไว้ว่าแบบแผนของเสียงและจังหวะก็ดี ท่วงทำนองและฉันทลักษณ์ตามรูปแบบก็ดี  ต่างก็มีความสำคัญเป็นอันดับรอง แต่สิ่งที่สำคัญหลัก ๆ ตามทรรศนะของอริสโตเติล ก็คือ สิ่งที่บทประพันธ์มุ่งหมายถึงนั่นคือ ลำดับเหตุการณ์แห่งพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีปฏิบัติต่อกันและกันมา ดังที่ปรากฏในเรื่องโศกนาฏกรรมนั้นได้มีต้นกำเนินจากคำประพันธ์ประเภทเพลงสวดแบบเศร้า ๆ มักแสดงถึงภาพชีวิตจริงโดยธรรมชาตินั่นเอง บทเพลงสวดเศร้านั้นมีมาก่อนเรื่องโศกนาฏกรรมแต่ว่าในทางพฤติกรรมแห่งบทเพลงสวดเศร้านั้น เรื่องโศกนาฏกรรมมีมาก่อนบทเพลงโดยทางมโนภาพ อนึ่ง ประเภทของบทเพลงสวดที่น่าเศร้า โดยที่จริงแล้วเป็นสิ่งแสดงให้เห็นสภาพเป็นจริงของชีวิตโดยธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ในฐานะเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งพยายามหลีกเว้น เพราะความไม่เข้าใจธรรมชาติชีวิตจริง เรื่องโศกนาฏกรรมนี้ อริสโตเติล แสดงปรัชญาศิลปะบนพื้นฐานแห่งธรรมชาติของชีวิตจริง คำว่า ธรรมชาติ นี้เอง ถูกใช้บ่อยครั้งในผลงานเรื่อง The Poetics และเราก็ต้องแสดงนัยยะแห่งความหมายของหลักการนี้ให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น แต่ศิลปินมีข้อเสนอแนะที่อธิบายให้ชัดเจนซึ่งมิใช่เฉพาะแต่เรื่องที่ได้เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นด้วยและศิลปินก็มีความรู้สึกที่เป็นอิสระตามธรรมดา ในการที่จะเลือกสร้างเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น จุดหมายของศิลปะ คือ ความสนุกเพลิดเพลินบันเทิงใจด้วยเหตุผล และก็ความสนุกเพลิดเพลินนี้เอง ได้วางหลักจุดมุ่งหมายด้านเหตุผลขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ แม้แต่ความหมายตามทฤษฏี ธรรมชาติ ที่อริสโตเติลยืนยันนั่นเอง

บรรณานุกรม

เครือจิต ศรีบุนนาค. (2542).  สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น,.
จรูญ โกมุทรัตนานนท์. (2547).  สุนทรียศาสตร์กรีก-ยุคฟื้นฟู. กรุงเทพมหานคร
          :สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________, (2539).  สุนทรียศาสตร์. นนทบุรี :เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
_________, (2539).  สุนทรียศาสตร์ ปัญหาเบื้องต้นในปรัชญาศิลปะและความงาม.
          ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
          กรุงเทพมหานคร : เอส อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
ทิพพ์ภาภรณ์. (2531). อัดสาเนา. สุนทรียศาสตร์ในพระสุตตันตปิฎก,วิทยานิพนธ์ปริญญา
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พ่วง มีนอก.  (2536).  สุนทรียศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญเยี่ยม แย้มเมือง. (2537).  สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บุณย์ นิลเกษ. (2523).  สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญลือ  วันทายนต์.  (2539).  สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2542). สุนทรียทางทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2551). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.




บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน