05 กันยายน 2562

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ในการเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล: บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย


        

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียน
ภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยมีรายละเอียดในการดำเนินตามลำดับการวิจัยดังนี้
          1.  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
                1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                1.3 การสร้างเครื่องมือ
                1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย
                1.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
          2.   การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
                2.1  กลุ่มเป้าหมาย
                 2.2  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
                 2.3  การสร้างเครื่องมือ
                 2.4  การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย
                 2.5  การวิเคราะห์ข้อมูล

1.   การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
         
          เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
         1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
               1.1  ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล จำนวน 160 คน จำแนกเป็น ครอบครัวแม่ครูราตรี ศรีวิไล จำนวน 3 คน คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์การเรียน ฯ จำนวน 7 คน ลูกศิษย์ จำนวน 67 คน ครู-อาจารย์ จำนวน
13 คน และบุคคลอื่น ๆ จำนวน 70 คน
                     1.2  กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนรวม 113 คน กำหนดจำนวนตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
(ทิพยา กิจวิจารณ์,  2552)  ได้แก่
         1. ครอบครัวแม่ครูราตรี ศรีวิไล จำนวน 3 คน
         2. คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์การเรียน ฯ จำนวน
7 คน
         3. ลูกศิษย์ จำนวน 67 คน
         4. ครู-อาจารย์ จำนวน 10 คน
         5. บุคคลอื่น ๆ จำนวน 26 คน

2.  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษาแนวคิดทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยยึดวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการศึกษาเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ
          ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบคำถามแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
          ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล ใช้คำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) 5 ระดับ คือ
          5 หมายถึง มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
          4 หมายถึง มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
          3 หมายถึง มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
          2 หมายถึง มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
          1 หมายถึง มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด
          โดยสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล  แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านองค์กรและการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน และด้านผลกระทบต่อสังคม


          3.  การสร้างแบบสอบถาม
          การสร้างแบบสอบถามได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
               3.1  ศึกษาตำรา เอกสาร หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการดำเนินการตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล จากวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               3.2  ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างแบบสอบถามจากตำรา เอกสารเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา
               3.3  ร่างแบบสอบถามแล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ
(ดร.โกศล ศรีสังข์) เพื่อขอคำปรึกษาแนะนำ และตรวจสอบความเหมาะสม ความครอบคลุมข้อคำถามแล้วปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
               3.4  นำแบบสอบถามที่แก้ไขปรับปรุงแล้ว เสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน คือ
รศ.ดร.ประจิตร มหาหิง  รศ.วิโรจน์ มุทุกันต์  และดร.
สังวาล เพียยุระ เพื่อพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ
               3.5  นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้ง
               3.6  สร้างแบบสอบถามฉบับสมบรูณ์ เพื่อนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

4.  การเก็บรวบรวมข้อมูล
               4.1  ขอหนังสือจากบัณทิตวิยาลัย  มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ไปยังศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
               4.2  นำหนังสือขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  จากศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
               4.3 นำแบบสอบถามไปแจกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว
แม่ครูราตรี ศรีวิไล คณะกรรมการศูนย์ ฯ ลูกศิษย์ ครู-อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลอื่น ๆ เพื่อตอบแบบสอบถาม และนัดเก็บแบบสอบถามภายใน 2 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 1 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 80 ฉบับ คิดเป็น 70.80% ของแบบสอบถามทั้งหมด และในสัปดาห์ที่ 2 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 33 ฉบับ คิดเป็น 29.20 % ของแบบสอบถามทั้งหมด ซึ่งมีความสมบูรณ์สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ทุกฉบับ  


          5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
               5.1 การวิเคราะห์ข้อมูล
                     5.1.ข้อมูลจากแบบสอบถามตอนที่ 1 ซึ่งเป็นคำถามแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ได้นำมาวิเคราะห์ โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage)
                     5.1.ข้อมูลจากแบบสอบถามตอนที่ 2 ซึ่งเป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  ได้นำมาวิเคราะห์ โดยหาค่าเฉลี่ย(Mean  : ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation : S.D.)
เกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ย ( ) (ทิพยา กิจวิจารณ์,  2552)
          ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00     หมายถึง          มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
          ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50     หมายถึง          มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
          ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50     หมายถึง          มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
          ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50     หมายถึง          มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
          ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50     หมายถึง          มีการดำเนินการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด
          สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย  (Mean : )
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

2.  การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

          ในการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานแม่ครูราตรี ศรีวิไล  ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาวิเคราะห์แบบเจาะลึกถึงชีวิตของแม่ครูราตรี ศรีวิไล (ผู้ให้ข้อมูลหลัก) และผู้ที่เกี่ยวข้องกับแม่ครูราตรี ศรีวิไล โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์เอกสาร รายงานที่เกี่ยวข้องแล้วทำบทสรุปการดำเนินการมีรายละเอียด ดังนี้

          1.  กลุ่มเป้าหมาย
          กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลชีวประวัติและผลงานของ
แม่ครูราตรี ศรีวิไล  การบริหารจัดการในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล และแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยถิ่นอีสาน (หมอลำ) รวมจำนวน 15 คน ประกอบด้วย  
                      1.1  ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 1 คน ได้แก่
                        1.1.1  แม่ครูราตรี ศรีวิไล

                      1.2   ครอบครัวแม่ครูราตรี ศรีวิไล จำนวน 2 คน ได้แก่
                        1.2.1  คุณพ่อวิชิต  บงสิทธิพร
                        1.2.2  หมอแคนโยพิกา ศรีวิไล
                      1.3  คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ฯ จำนวน 5 คน ได้แก่
                        1.3.1  พ่อครูเคน  ดาเหลา (ศิลปินแห่งชาติ)
                        1.3.2  รองศาตราจารย์ ดร. เจริญชัย  ชนไพโรจน์
                        1.3.3  ผู้ช่วยศาตราจารย์ทรงวิทย์  พิมพะกรรณ์
                        1.3.4  นายวัลลภ ศรีธรราษฎร์
                        1.3.5  นายประมวล  พิมพ์เสน
                      1.4  ลูกศิษย์ จำนวน 5 คน ได้แก่
                        1.4.1  หมอลำเดชา  ทรงศิลป์ 
                        1.4.2  หมอลำประวิทย์  เพชรลำชี  
                        1.4.3  หมอลำมานพ  เพชรคลองลาน
                        1.4.4  หมอลำพวงเพชร  กาละพันธ์
                        1.4.5  หมอลำนันทนา แก้วเสด็จ
                      1.5 บุคคลอื่น ๆ จำนวน 2 คน ได้แก่
                        1.5.1  อาจารย์สุรพล เนสุสินธุ์ (เป็นนิสิตปริญญาเอก สาขาดุริยางคศิลป์ (ดนตรีวิทยา)วิทยาลัยดุริยาคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คอยบริการทางด้านเครื่องเสียง และดนตรี)
                        1.5.2  นายจักกฤช รักษาจันทร์ (นักศึกษาฝึกงานเรียนหมอลำ ประจำภาคฤดูร้อน เดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

          2.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือจากแนวทางของ ทิพยา กิจวิจารณ์ (2552)เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง กล้องถ่ายรูป สมุดจดบันทึก เครื่องบันทึกเสียง และกล้องถ่ายวีดีโอ

          3.  การสร้างแบบสัมภาษณ์
          การสร้างแบบสัมภาษณ์ มีขั้นตอนดังนี้
 
               3.1  ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดในการวิจัยเกี่ยวกับการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสัมภาษณ์
               
3.2  นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 3.1 มาเป็นประเด็นคำถามแบบสัมภาษณ์ แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ
                3.3  ปรับปรุงแบบสัมภาษณ์ตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
               
3.4  นำแบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน คือ
รศ.ดร.ประจิตร มหาหิง รศ.วิโรจน์ มุทุกันต์ และดร.สังวาล เพียยุระ พิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้องตามเนื้อหา ภาษา และความสอดคล้องเกี่ยวกับประเด็นคำถาม
                3.5  เพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้วได้นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนนำไปเก็บข้อมูล
 
        
          4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  
            4.1  นำหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงผู้อำนวยการศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ในการสัมภาษณ์
              4.2  สร้างความสัมพันธ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก และกลุ่มเป้าหมาย พบปะพูดคุยเพื่อสร้างความคุ้นเคย  แจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
 
             4.3  กำหนดนัดหมายวันเวลาที่จะดำเนินการสัมภาษณ์ที่แน่นอน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เตรียมตัว และเตรียมเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมข้อมูล
              4.4  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก
(แม่ครูราตรี ศรีวิไล) ลูกศิษย์  คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ ครอบครัวแม่ครูราตรี ศรีวิไล และบุคคลอื่น ๆ โดยใช้วิธีการบันทึกเทป จดบันทึก และการสนทนา กับกลุ่มเป้าหมาย

          5.  การวิเคราะห์ข้อมูล  
          ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้ การแปลความ การตีความ และใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า (Methodological  Triangulation)  และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เพื่ออธิบายชีวประวัติและผลงานของแม่ครูราตรี ศรีวิไล และหาแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยถิ่นอีสาน (หมอลำ) ใน 5 ประเด็นดังนี้
               5.1  ชีวประวัติและผลงานของแม่ครูราตรี ศรีวิไล
               5.การจ้างงานและกิจกรรมการแสดงของหมอลำกลอนย้อนยุค และหมอลำกลอนประยุกต์ (หมอลำซิ่ง)
               5.3  ความเหมาะสมและประโยชน์ที่ได้จากศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล
               5.4  ทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไลในอนาคต
               5.5   ผลกระทบของศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไลในแต่ละด้าน



บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน