16 มีนาคม 2562

บายศรีสู่ขวัญ 2 ชั้น

บายศรีสู่ขวัญ 2 ชั้น 
บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
      ผู้เขียนได้ไปศึกษาเรื่อง บายศรีสุ่ขวัญบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการศึกษาการทำบายศรีสู่ขวัญขั้นพื้นบ้าน ในกิจกรรมบุญข้าวจี่สินไซ บ้านสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2562 ผู้ให้ข้อมูลคือ คุณยายเพ็ญศรี นามา อายุ 80 ปี มีรายละเอียดดังนี้


1. เครื่องบูชาประกอบบายศรี



    ข้าวต้ม ไข่ กล้วย ใบคูณ ใบยอ หมากพลู 5 คำ






 บุหรี่ 5 มวนห่อด้วยใบตอง แก่นคูณ และสีเสียด

2. ตัวบายศรี
    บายศรี 2 ชั้น

1. ชั้นที่ 1  (ล่าง) ตัวบายศรี 8 ตัว จำนวน 12 นิ้ว
2. ชั้นที่ 2  (บน)  ตัวบายศรี 5 ตัว จำนวน 9 นิ้ว
3. ชั้นที่ 3  (ยอด) กาบยอด 32 กีบ (อาการ 32 คน)

3.พิธีกรรม
   ใช้ประกอบในงานแต่งงาน และงานบวช

4. ข้อกำหนด
   ผู้ที่ทำบายศรีสู่ขวัญจะต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยหย่าร้าง

14 มีนาคม 2562

อักษรโบราณอีสานถ้ำนางแอ่น หลวงพระบาง

อักษรโบราณอีสานถ้ำนางแอ่น หลวงพระบาง 

 โดยบุญจันทร์ เพชรเมืองเลย



        อักษรไทยน้อย เป็นอักษรที่ใช้บันทึกเรื่องราวทางโลก เช่น เกี่ยวกับคดีโลกโดยเฉพาะกฎหมาย พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ หรือวรรณกรรมนิทานพื้นบ้าน ไม่นิยมเขียนเรื่องเกี่ยวกับคดีธรรม โดยเฉพาะเรื่องที่เขียนด้วยภาษาบาลี เพราะมีตัวอักษรน้อยไม่พอต่อการเขียน แต่นิยมเขียนภาษาถิ่น (ภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสาน)
         จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่กล่าวไว้ว่า“…เมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ เมืองชะวาหรือหลวงพระบางเป็นส่วนหนึ่งของของอาณาจักรสุโขทัยและเมืองบริวารอย่างล้านช้าง ซึ่งครอบคลุมถึงภาคอีสานของไทย ก็น่าจะใช้อักษรเหมือนหรือพัฒนาการมาจากอักษรเมืองแม่ นั่นคือ เมืองสุโขทัย และยิ่งในรัชสมัยพระยาลิไทพระองค์ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์ นักศาสนา…” (ในหนังสือของ อดุลย์ ตะพัง, 2543)
         ซึ่งจากข้อความข้างต้น อาจารย์ ดร.สุเนตร โพธิสาร ในเอกสารการสอนวันที่ 23 มกราคม 2559 เรื่องประวัติศาสตร์ภาษาลาว-อักษรลาว มีความเห็นต่างว่า “…บริเวณลุ่มน้ำโขงในอดีตยังใช้อักษรขอมและมอนมาบันทึกเรื่องลาวของตนเองอยู่และไทยสยามยังใช้อักษรเขมรอยู่เมื่อสมัย พ.ศ.1700 รวมถึงในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็ยังใช้อักษรเขมรด้วยเช่นกันเพราะในช่วงนั้นยังไม่มีอักษรไทยสยาม และจากการศึกษาของนักอักขระวิทยาพบว่า อักษรลาวได้พัฒนามาก่อนอักษรไทยสยามพระยาลิไทแห่งสุโขทัย (พ.ศ.1899-1919) ดังเห็นได้จากจารึกที่เขียนด้วยสีที่ฝาถ้ำนางอัน เมืองหลวงพระบาง หรือศิลาจารึกพระธาตุฮาง เมืองท่าแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปี 1350 พ.ศ.1893 ก่อนอาณาจักรล้านช้าง ที่มีรูปแบบตัวอักษรและอัครวิธีในยุคของพระยาลังธิราช ปี ค.ศ.1271…”

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวเรียกบรรจุครูทั่วไทย อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/widget.html

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน