Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์บทลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ด้านฉันทลักษณ์ศิลปะการเลือกใช้ภาษา 2) วิเคราะห์บทลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ด้านสังคมวิทยาและคติชนวิทยา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแปลความ การตีความ ใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย คือ หมอลำอร่าม มุงคำภา โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านฉันทลักษณ์ใช้ฉันทลักษณ์โคลงสารส่งสัมผัสแบบร่ายมักประพันธ์ด้วยบทโทเป็นบทนำก่อน แล้วจึงตามด้วยบทเอก 2) ด้านศิลปะการเลือกใช้ภาษา มีการเลือกใช้ภาษาในการสร้างภาพพจน์แบบวิธีอุปมา วิธีอุปลักษณ์ และวิธีอติพจน์ ส่วนการใช้รสทางภาษานิยมใช้ สัลลาปังคพิไสย และ 3) ด้านคติชนวิทยาที่เกี่ยวกับคนอีสานนั้น ส่วนใหญ่มีค่านิยมเคร่งครัดในการครองเรือนโดยผู้หญิงต้องครองเรือนตามเฮือนสามนํ้าสี่ ส่วนด้านความเชื่อของคนอีสานมักเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาเรื่องบุญ กรรม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาประเพณีที่ปฏิบัติ คือ ฮีตสิบสอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น