การวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพื่อหาความสัมพันธ์เรื่องโศกนาฏกรรมเหตุการณ์ของนิทานลาวไทย พบว่า วรรณกรรมท้องถิ่นประจำหลวงพระบางของลาว เรื่องภูท้าว ภูนาง (พุทธเสน กับนางกางฮี) มีโครงเรื่องโศกนาฏกรรมคล้ายกันกับนิทานเรื่องพระรถ เมรีของไทย มีอนุภาคที่เหมือนกัน คือ เหตุการณ์ยักษ์เขียนสาสน์ส่งข่าวลูกสาว (เมรีหรือนางกางฮี) เหตุการณ์พระฤษีแปลงสาสน์และเหตุการณ์โศกนาฏกรรม นอกจากนี้อนุภาคและเหตุการณ์โศกนาฏกรรมยังคล้ายกับนิทานของไทยเรื่องพระอภัยมณีของไทย ตอนเหตุการณ์พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรอีกด้วย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ไทยและลาวมีความสัมพันธ์ตั้งแต่อดีตดังปรากฏจากหลักฐานจากจิตรกรรมฝาผนังที่จารึกความเก่าแก่ของภาษาลาว และประวัติศาสตร์การเกิดวัฒนธรรมล้านช้างจึงทำให้สังคม ศิลปะและวัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงและใช้ร่วมกัน
คำสำคัญ: วรรณกรรมท้องถิ่น, หลวงพระบาง, โศกนาฏกรรม, ภูท้าวภูนาง ,พระรถเมรี,พระอภัยมณี
The Analysis of Luang Phrabang regional literature about
Phu Tao Phu Nang for finding the Relationship between Laos and Thai folk tale
tragedy found that the storyline of Luang Phrabang regional literature about
Phu Tao Phu Nang was similar to Thai folk tale (Phra Rod Meree). There was the
same motif, the giant wrote letter to daughter (Meree or Nang Kang Hee) and
Hermit changed the letter. In addition, the Laos tragedy was similar to Thai
tale (Phra Apai Manee escape the giant). It might be because Thai and Laos have
been related since the past as appears from the wall painting that showed the
old Laos language and history of Lan Chang. So both Thai and Laos have the same
of social, art and culture.
Keywords: Regional
Literature, Luang Prabang, tragedy, Phu Tao Phu Nang, Phra Rod Meree, Phra Apai
Manee
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น